เปิดเกณฑ์ 'ตรวจโควิดฟรี' ต้องมีอาการแค่ไหน? เช็คที่นี่!
เช็คเงื่อนไขอีกที! ใครสามารถไป "ตรวจโควิดฟรี" ได้บ้าง? และต้องผ่านเกณฑ์อย่างไร? ต้องมีอาการป่วยระดับไหน? ถึงจะได้ตรวจ "โควิด-19" ฟรี ชวนหาคำตอบไปพร้อมกัน
จากกรณี "โควิด-19" กลับมาระบาดระลอกใหม่อีกครั้ง โดยมีศูนย์กลางการแพร่ระบาดเชื่อมโยงสถานบันเทิงทองหล่อ-เอกมัย หลายแห่ง ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเฉพาะในกรุงเทพฯ พุ่งสูงถึง 216 ราย (ณ วันที่ 7 เม.ย.64) ทำเอาหลายคนหวั่นใจเพราะเพิ่งไปในพื้นที่เสี่ยงมา แบบนี้จะไป "ตรวจโควิดฟรี" ที่ไหนได้บ้างนะ?
เรื่องนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์จะพาไปหาคำตอบด้วยกัน เพราะการจะ "ตรวจโควิดฟรี" นั้น ต้องพิจารณาจากเกณฑ์หลายๆ อย่างประกอบกัน ส่วนจะมีอะไรบ้าง? มาเช็คลิสต์กันเลย
1. เช็ค 4 เกณฑ์ก่อนไป "ตรวจโควิดฟรี"
เมื่อช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมมาตรการสนับสนุนต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด ซึ่งคนไทยทุกคนจะได้รับตรวจการคัดกรองโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ตรวจฟรี!!) แต่ต้องเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.1) มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด (สถานบันเทิงทองหล่อ เอกมัย รัชดา จตุจักร)
1.2) มีประวัติเคยติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
1.3) เคยติดต่อสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
1.4) มีอาการไม่สบายที่เข้าข่าย คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
2. นอกจากอาการป่วย ต้องมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ด้วย
โดยเกณฑ์การตรวจคัดกรองโควิด-19 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI (Patient Under Investigation) ของกรมควบคุมโรค คือ ผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ประวัติมีไข้ 37.5 องศาฯ ขึ้นไป ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
- เดินทางไปยัง มาจาก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงที่มี่รายงาน
- สัมผัสกับผู้ป่วยต้องสงสัยหรือยืนยันโรคโควิด-19
- ไปตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ขนส่งสาธารณะ ที่มีผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันโรคโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
- เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค หรือทำงานสัมผัสผู้ติดเชื้อ
หากมีอาการเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์นี้ รวมถึงกรณีที่ท่านสงสัยหรือไม่แน่ใจ สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้ที่โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ไม่เสียค่าใช้จ่าย
3. สปสช. จะดูแลเรื่องค่าตรวจโควิด
โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโควิด-19 แก่คนไทยทุกคน ดังนั้น หากมีกลุ่มเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็สามารถแจ้งให้ไปรับการตรวจคัดกรองได้ฟรีเช่นกัน และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
4. ไปตรวจที่ โรงพยาบาลรัฐ ได้ที่ไหนบ้าง? (กรุงเทพฯ-ปริมณฑล)
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (แล็บอ้างอิง)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (แล็บอ้างอิง)
- คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โรงพยาบาลราชวิถี
- สถาบันบําราศนราดูร
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
- คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา) แผนกเรโทรไวโรโลยี
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- โรงพยาบาลสมุทรปราการ
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ห้องปฏิบัติการหน่วยคุ้มครองสุขภาพโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
- โรงพยาบาลตํารวจ
- โรงพยาบาลปทุมธานี
- โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
- โรงพยาบาลสมุทรสาคร
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- ห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลตากสิน
- ห้องปฏิบัติการกลางและธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลบางกรวย
- กลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
- ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- โรงพยาบาลกลาง
- สถาบันโรคทรวงอก
5. ไปตรวจที่ โรงพยาบาลเอกชน ได้ที่ไหนบ้าง?
- โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์
- บริษัทไบโอโมเลกุลาร์ แลบอราทอรี่ส์
- คลินิกเทคนิคการแพทย์ รามคําแหง
- หวนจียีนเทคโนโลยี คลินิกเทคนิคการแพทย์
- บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่ แมเนจเมนท์ จํากัด
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร
- โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
- โรงพยาบาลเวชธานี
- บริษัท พีซีที่ ลาบอราทอรีส์ เซอร์วิส จํากัด
- โรงพยาบาลพระรามเก้า
- โรงพยาบาลนครธน
- World Medical Hospital
- บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์แห่งเอเชีย จํากัด (โรงพยาบาลลาดพร้าว)
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
- โรงพยาบาลนนทเวช
- โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
- โรงพยาบาลสินแพทย์
- โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน
- โรงพยาบาลมหาชัย
- โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
- คลินิกเทคนิคการแพทย์แบงคอกจีโนมิกส์
- บริษัท แอท-ยีนส์ จํากัด
- ห้องปฏิบัติการ นิวเจน ลาบอราทอรี่ คลินิกเทคนิคการแพทย์
- โรงพยาบาลสุขุมวิท
- โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
- โรงพยาบาลเสรีรักษ์
- คลินิกเทคนิคการแพทย์ โปรแล็บ วิภาวดี
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคําแหง
- โรงพยาบาลเจ้าพระยา
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
- โรงพยาบาลวิภาวดี
- โรงพยาบาลรามคําแหง
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค
- โรงพยาบาลบางนา 5
- บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จํากัด
- บริษัทเอ็มบริโอ แพลนแนท จํากัด (สยามเฟอร์ทิลิตี้ คลินิก)
- โรงพยาบาลซีจีเอช โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
- บริษัท เมดิคอลไลน์แล็บ จํากัด
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์
- โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (สมุทรสาคร)
- บริษัท กรุงเทพ อาร์ไอเอ แล็บ จํากัด
- โรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี
- โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
- โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ
- โรงพยาบาลศิครินทร์
- โรงพยาบาลเอกชัย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สาขากรุงเทพมหานคร (International Organization for Migration, IOM)
- โรงพยาบาลวิภาราม
- โรงพยาบาลเมดพาร์ค
- MIC Lab (บริษัทเมดิคอล อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด)
- โรงพยาบาลปิยะเวท
- โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
- บริษัทเนชั่นแนล เฮลท์แคร์ซิสเท็มส์ จํากัด
- สาขาโรงพยาบาลพญาไท 2