รู้จัก ‘PTSD’ จิตเภทจากเหตุรุนแรง-สะเทือนใจ กรณี ‘มีล่า Kamikaze’

รู้จัก ‘PTSD’ จิตเภทจากเหตุรุนแรง-สะเทือนใจ กรณี ‘มีล่า Kamikaze’

มีคำตอบ "โรค PTSD" โรคจิตเภทที่ทุกคนควรระวัง เหตุการณ์เล็ก ใหญ่ รุนแรง สะเทือนใจไม่เท่ากัน

จากกรณีอดีตนักร้องสาวชื่อดัง มีล่า Kamikaze หรือ จามิล่า พันธ์พินิจ เจ้าของเพลงปากดีขี้เหงาเอาแต่ใจ ที่ล่าสุดออกมาโพสต์เล่าถึงครั้งที่ตนเองต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาล ว่าที่จริงแล้วไม่ได้เกิดอุบัติเหตุอย่างที่เป็นข่าว แต่เพราะถูกน้องชายแท้ๆทำร้ายร่างกายจนตอนนั้นตาซ้ายมองไม่เห็น หูข้างขวาไม่ได้ยิน มีบาดแผลลึกหลายแห่งทั่วตัว

หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ที่ประสบเหตุด้วย โดยหนึ่งในโรคที่สำคัญ คือ "โรค PTSD" (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือที่เรียกว่า โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย เหตุการณ์ความรุนแรง สะเทือนใจ  

วันนี้ ลองมาทำความรู้จักกับที่โรคดังกล่าวคืออะไร? ผู้ที่ป่วยจะมีอาการอย่างไร? สังเกตอย่างไรว่าเราเข้าข่ายโรคดังกล่าว และมีวิธีการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไร?

  • ทำความรู้จัก "โรค PTSD" คืออะไร?

ข้อมูลจาก ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลเพชรเวท อธิบายว่า "โรค PTSD" หรือ Post-Traumatic Stress Disorder เป็น"โรคจิตเภท"ชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การก่อการร้าย สงคราม การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม

ทั้งนี้ อาการของ "โรค PTSD"อาการเริ่มแรกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ คือ จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำ ราวกับเครื่องเล่นวิดีโอที่ฉายแต่ภาพเดิม ซ้ำ ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ฝันร้าย และเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง ต่อมาเกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออก 

หลังจากนั้น จะมองโลกในแง่ลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ชีวิตหม่นหมอง มีอาการไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบทำ รู้สึกแปลกแยก และอาจร้ายแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย กลัวและพยายามหลีกเลี่ยง ไม่กล้าเผชิญเหตุการณ์ที่เคยประสบเหตุ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น

   

  • เช็คภาวะแทรกซ้อนจาก"โรค PTSD"

เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อ"จิตใจ"ของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่ โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้นพฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้นอาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น 

ขณะที่การรักษาภาวะ "โรคPTSD" นั้น มีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้

- เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น

- ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติดและเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม

- การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น

- การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน

      

  • ทำอย่างไร? เมื่ออาจต้องเผชิญภาวะ "โรคPTSD"

หากจะกล่าวถึงการป้องกันภาวะดังกล่าวคงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น เมื่อผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้

หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียดป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ "โรค PTSD" น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม "ความรุนแรง" ความสะเทือนใจที่เกิดจากคนในครอบครัว ดูจะทำร้ายคนใดคนหนึ่งได้ไปตลอดชีวิต แม้เพียงเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ใน"วันครอบครัว"นี้ ขอให้ทุกครอบครัวรักกัน สื่อสาร ทำความเข้าใจกัน และมีช่วงเวลาดีๆร่วมกัน