จากมหาวิทยาลัยสู่ 'รพ.สนาม'ทั่วไทย1.2 หมื่นเตียง
“เอนก” ลุยเปิด รพ. สนาม อว. ช่วงสงกรานต์เพิ่มอีก 6,490 เตียง รวมเป็น 12,822 เตียง กระจาย 37 แห่งทั่วประเทศ
วันนี้( 14 เม.ย.2564)ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า "มหาวิทยาลัย"และ"โรงเรียนแพทย์"ในสังกัด อว. ยังคงเดินหน้าเตรียม "โรงพยาบาลสนาม"เพิ่มขึ้นอีก รองรับผู้ป่วย "โควิด-19"ด้วยต่างสำนึกว่า ต้องสนับสนุนรัฐบาลเพื่อร่วมต่อสู้กับวิกฤติในครั้งนี้ ให้พี่น้องประชาชนได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด
- เช็ค"รพ.สนาม"ช่วงสงกรานต์ 37 จังหวัดทั่วไทย
"ได้ให้ทุกหน่วยงานของ อว. เตรียมเปิดพื้นที่เพื่อสร้างรพ.สนามเพิ่มอีก และกระจายไปทุกจุดทั่วประเทศ ทุกชีวิตของประชาชนมีค่า เราจะดูแลและทำให้ดีที่สุด" รมว.อว.กล่าว
ด้าน ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล แถลงว่าในวันนี้น่ายินดียิ่งขึ้นไปอีกที่มหาวิทยาลัย "โรงเรียนแพทย์" และสถาบันวิจัยต่างๆ ของ อว. ได้เพิ่ม"รพ.สนาม"ขึ้นอีก 14 แห่ง และ"รพ.สนาม"เดิมได้เพิ่มเตียง 1 แห่ง รวมมีจำนวนเพิ่ม 6,490 เตียง ทำให้ขณะนี้ มี"รพ.สนาม"ในสังกัด อว. อยู่ทั่วประเทศ รวมเป็น 37 แห่ง จำนวนถึง 12,822 เตียง
ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามที่ได้จัดเตรียมความพร้อมเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน จ.นนทบุรี จำนวน 40 เตียง
2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เทคโนธานี จ.ปทุมธานี จำนวน 70 เตียง
3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เทคโนธานี จ.ปทุมธานี จำนวน 20 เตียง
4. โรงยิมเนเซี่ยมศูนย์ฝึกอบรม เทคโนธานี จ.ปทุมธานี จำนวน 60 เตียง
- "รพ.สนาม"ในส่วนแต่ละภูมิภาค
ในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีมหาวิทยาลัย และ "โรงเรียนแพทย์"ปรับเป็น "รพ.สนาม"ดังนี้
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯจำนวน 300 เตียง
ภาคเหนือ
6. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ที่ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก จำนวน 1,000 เตียง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
7. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้ จำนวน 300 เตียง
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ที่หอประชุม และอาคารมหิธราบรรณาลัย จำนวน 60 เตียง
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี ที่
- หอพักนักศึกษาในเมือง เตรียมไว้เป็นสถานที่กักตัว จำนวน 3,000 เตียง
- หอพักนักศึกษา วิทยาเขตสามพร้าว จำนวน 500 เตียง
- หอพักนักศึกษา วิทยาเขตบึงกาฬ จำนวน 186 เตียง
- อาคารอเนกประสงค์ วิทยาเขตบึงกาฬ จำนวน 50 เตียง
- ชาวใต้เช็ค รพ.สนาม จังหวัดใกล้บ้าน
ภาคใต้
10. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 100 เตียง
11. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จ.ปัตตานี จำนวน 70 เตียง
12. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส ที่
- โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ จำนวน 30 เตียง
- โรงยิมเนเซี่ยมของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 50 เตียง
13. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา ที่
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 60 เตียง
- อาคารกิจกรรมนักศึกษา จำนวน 200 เตียง
14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 144 เตียง
ภาคตะวันออก
15. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่
- หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์บางคล้า 200 เตียง
- อาคาร 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์บางคล้า 50 เตียง
- สัมมนาคาร บางปะกงปาร์ค บางคล้า สำหรับเป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง จำนวน 30 ห้อง
ทั้งนี้ มี "มหาวิทยาลัย" ที่เพิ่มและลดจำนวนเตียง ตลอดจนเตรียมพร้อมเพียงสถานที่ "รพ.สนาม" ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี ลดจากจำนวน 470 เตียง เหลือ 452 เตียง
2. มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ที่โรงพยาบาลพยาบาลพุทธชินราช บึงแก่นใหญ่ เพิ่มจากจำนวน 40 เตียง เป็น100 เตียง
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จ.ลำปาง ที่หอประชุม จำนวน 800 เตียง เตรียมพร้อมเพียงสถานที่
4. มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา ที่สำนักส่งเสริมบริการวิชาการและภูมิปัญญาพนางตุง ลดจากจำนวน 500 เตียงเหลือ 350 เตียง