ไขข้อสงสัย ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ‘โควิด-19’ พื้นที่สาธารณะ ควรทำหรือไม่?
กรมอนามัยเตือนฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ในที่สาธารณะอาจจะเพิ่มการฟุ้งกระจายของเชื้อ แต่มีวิธีฆ่าเชื้อง่ายๆ คือการใช้น้ำยาเช็ด และเลือกน้ำยาทำความสะอาดให้เหมาะกับพื้นผิว
ข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 ยังคงมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงพุ่งสูง ในเวลานี้ไม่ใช่แค่หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชน แต่ประชาชนด้วยกันเองก็ออกมาช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนกันถ้วนหน้า
ประเด็นเรื่องการพ่นฆ่าเชื้อในพื้นที่สาธารณะ ก็มีหลายหน่วยงาน และภาคประชาชนรวมตัวกันทำในหลายพื้นที่ เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 แต่รู้ไหมว่า การพ่นฆ่าเชื้อก็ต้องมีขั้นตอนการทำที่ถูกวิธี เพราะหากทำไม่ถูกวิธีจากการลดเชื้อ อาจจะกลายเป็นการเพิ่มการฟุ้งกระจายเชื้อได้เช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ปทุมธานี ยกระดับมาตรการคุม 'โควิด-19' สั่งงดออกจากบ้าน 3ทุ่ม ถึง ตี 4
- รู้เท่าทัน 'โรคอ้วน' กับการเสียชีวิตโควิดระลอกใหม่
- 'ติดหรือยัง ?' วิธีเอาตัวรอดจากโควิด-19
- สายด่วน สปสช. 1330 ร่วมหาเตียง ‘ผู้ติดเชื้อโควิด-19’
- 'ฟ้าทะลายโจร' สรรพคุณทางยา รักษาอะไรได้บ้าง นอกจาก 'โควิด-19'
(ภาพจากเพจ สมุทรปราการก้าวหน้า)
- กรมอนามัย เตือนฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิดในที่สาธารณะเสี่ยงกว่าเดิม
จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เคยออกมาเตือนเรื่องพ่นฆ่าเชื้อในที่สาธารณะ (ข้อมูลปี2563) โดยมีเนื้อหาคือ จากกรณีที่มีการฉีดพ่นละอองฝอยในสถานที่สาธารณะและสถานประกอบการ นั้น กรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่าการฉีดพ่นละอองฝอยหรือสารเคมีแอลกอฮอล์ ดังกล่าว จะทำให้ละอองฝอยฟุ้งกระจาย หากฉีดพ่นในประชาชนที่เข้าข่ายป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายและอาจเพิ่มความเสี่ยงไปยังประชาชนทั่วไปได้
- หากต้องการลดเชื้อ ควรทำอย่างไร
กรมควบคุมโรค แนะนำต่อว่าหากต้องการทำความสะอาด หรือฆ่าเชื้อ สามารถทำได้โดยให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพื้นผิว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) แบ่งเป็น
1.แอลกอฮอล์ 70% เหมาะสำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ
2.ผงซักฟอกผสมน้ำร้อน 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับวัสดุที่เป็นผ้า
3.น้ำยาฟอกขาว (6% สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochloride) 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน เหมาะสำหรับพื้นที่ผิวที่มีละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
4.ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (3% H2O2) 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แต่ควรระมัดระวังการกัดกร่อนพื้นผิวและการสัมผัสของร่างกาย
- ต้องการฆ่าเชื้อในบริเวณที่มีผู้ติดเชื้อ มีวิธีการคือ
สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 แล้วต้องการฆ่าเชื้อนั้น สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลว่าให้โทรไปติดต่อที่กรมควบคุมโรค แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการทำความสะอาด โดยมีการจัดการคร่าวๆ ดังนี้
- เชื้อโควิดอยู่ได้นานแค่ไหน?
ทั้งนี้ “กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค” เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงอยู่ “เชื้อไวรัส” ที่มีโอกาสดำรงชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก นพ.พิเชษฐ บัญญัติ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า
- เชื้อไวรัสที่อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย และน้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
- เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน
- เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่บนวัสดุ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้นาน 7-8 ชั่วโมง
- เชื้อไวรัสอยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง
- เชื้อไวรัสอยู่บนวัสดุพื้นเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง
- ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสอาจอยู่ได้นานถึง 1 เดือน
ทั้งนี้ประเมินจากลักษณะเชื้อไวรัสอื่นๆ ด้วย เช่น เชื้อไวรัสโรค SARS และโรค MERS ไม่ใช่เฉพาะไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เท่านั้น
----------------------------------
ที่มา :