3 ข้อแนะ 'ผู้ป่วยไมเกรน' เมื่อต้อง 'ฉีดวัดซีนโควิด -19'
สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ออกประกาศ 3 แนวทางแนะนำ 'ผู้ป่วยไมเกรน' หรือการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน เมื่อ 'ฉีดวัคซีนโควิด -19'
'สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย' ได้ออกประกาศเรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะ 'ไมเกรน' หรือ 'ผู้ป่วยไมเกรน' เมื่อวันที่7 มิ.ย.2564 เนื้อความตอนหนึ่งว่า
เนื่องจากประเทศไทยได้มีการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้หยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญในระดับประเทศ ที่คนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนโควิด-19 รวมถึง 'ผู้ป่วยไมเกรน'
อย่างไรก็ตาม มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ทำให้ 'ผู้ปวยไมเกรน' เกิดความกังวลใจ ทาง 'สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย' มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการ 'ฉีดวัคซีนเโควิด -19'และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะ 'ไมเกรน'ดังนี้
- 3ข้อที่'ผู้ป่วยไมเกรน'ต้องรู้เมื่อ'ฉีดวัคซีนโควิด-19'
เนื่องจากมีรายงานผลของการ 'ฉีดวัคซีนโควิด -19' ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่าง ๆ ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติจากการตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) อย่างชัดเจน อาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัดซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
2. จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนำเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวคศีรษะ 'ไมเกรน'ว่าไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะ 'ไมเกรน' เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่นTopiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline , Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ
3. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกัน 'ไมเกรน' ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการ'ฉีดวัคซีนโควิด -19'และแนะนำอาการของโรคปวดศีรษะ 'ไมเกรน'ที่อาจจะเกิดขึ้น