ทำไมต้อง ‘ยื่นภาษี’ ตอบคำถามสำหรับ ‘มนุษย์ออฟฟิศ’ หรือ ‘FirstJobber’
สรุปเรื่องต้องรู้ "ยื่นภาษี" และ "เสียภาษี" สำหรับมือใหม่ "มนุษย์ออฟฟิศ" "FirstJobber"
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยแห่งการทำงาน หลีกเลี่ยงไม่ได้กับคำว่า “ภาษี” โดยเฉพาะ “First Jobber” เด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าทำงานได้ไม่นานที่มักจะมีคำถามว่า การยื่นภาษีสำคัญอย่างไร? ต้องยื่นภาษีไหม? ต้องเสียภาษีเท่าไร? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ “การยื่นภาษี” และ “การเสียภาษี” เพื่อคลายข้อสงสัยเราจะยื่นและเสียภาษีไปเพื่ออะไรกัน
- ทำไมต้องยื่นภาษี
หลากเหตุผลที่คนทำงานต้องยื่นภาษี โดยประการแรก การยื่นภาษี เป็นข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากร ว่าด้วยประชาชนคนไทยจำเป็นมีการยื่นภาษีแสดงรายได้
นอกจากนี้เหตุผลสำคัญอื่นๆ ก็คือการเป็นหลักฐานการยื่นทำธุรกรรมในอนาคตได้ และเพื่อแสดงถึงรายได้ของบุคคลนั้นๆ เช่นการขอกู้เงิน กู้สินเชื่อต่างๆ รวมถึงถ้าใครอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้วนั้น ภาษีเหล่านั้นจะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
- ไม่ยื่นภาษีจะโดนอะไรบ้าง
สำหรับใครที่ยื่นภาษีไม่ทันตามกำหนดยื่นของทุกปี อาจจะต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้
ในกรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35
- ทำงานนานแค่ไหนถึงต้องยื่นภาษี
นับตั้งแต่มีรายได้เป็นของตัวเอง จะต้องยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้กับกรมสรรพากรอย่างตรงไปตรงมา สำหรับคนเริ่มต้นทำงานปีแรกเช่น ปี 2564 จะต้องรวบรวมรายได้ตั้งแต่เดือน มกราคม 2564 ถึง ธันวาคม 2564 มายื่นแสดงข้อมูลให้กับสรรพากรของปีถัดไป หรือปี 2565
- มีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องยื่นภาษี ?
"หากมีเงินเดือนหรือมีรายได้จากหลายทางเกิน 10,000 บาท/เดือน (120,000 บาท/ปี) ต้องยื่นภาษีทุกคน"
คนที่มีรายได้ 10,000 บาท/เดือน ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการหากมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เกิน 120,000 บาท
สาเหตุที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ เพราะเมื่อผู้ที่มีเงินได้ 120,000 บาทต่อปี ยื่นภาษี แล้วใช้สิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ร่วมกับสิทธิหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินเดือน หรือ 60,000 บาท เท่ากับว่
หลายคนเข้าใจผิดว่ายื่นภาษี และเสียภาษี เป็นเรื่องเดียวกัน หากจะอธิบายง่ายๆ
การยื่นภาษี คือ การที่บุคคลที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ปีละ 1 ครั้ง
การเสียภาษี คือ ขั้นตอนหลังจากผู้ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว จะเสียภาษีก็ต่อเมื่อ มีเงินได้หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น ส่วนจะต้องเสียภาษีหรือไม่นั้นไปดูที่ข้อต่อไปได้เลย
ก่อนที่จะรู้ว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ต้องรู้ก่อนว่าเรามีรายได้สุทธิเท่าไหร่ โดยการคำนวณรายได้สุทธิ คือ
"รายรับทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน" = รายได้สุทธิ
เมื่อรู้ว่าตัวเองมีรายได้สุทธิเท่าไหร่เรียบร้อยแล้ว จึงนำมาเทียบว่า รายได้สุทธิของเราอยู่ในระดับใด และอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ย่อมแตกต่างกันออกไปตามรายได้สุทธิที่ได้รับ ยิ่งรายได้สุทธิมากเท่าไหร่ ยิ่งเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย โดยเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้ยื่นภาษี มีสิทธิที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่าย” และ “ค่าลดหย่อน” ที่เข้ามาช่วยให้หักลบกับรายได้สุทธิ
หมายความว่า ทุกคนที่ “ยื่นภาษี” ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง “เสียภาษี” ทุกคน ขึ้นอยู่กับการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของแต่ละคน ดังนั้น จะมีทั้งคนที่ไม่ได้เสียภาษีใดๆ เลย มีทั้งคนที่ต้องเสียภาษี และได้ภาษีคืน
- ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน
- ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
- ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีมีอะไรบ้าง
- เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข้อมูลที่ต้องใช้ยื่นภาษีเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด หากคุณรับรายได้จากบริษัททางเดียว สามารถใช้ใบทวิ 50 แต่หากมีรายได้หลายช่องทาง ก็ต้องเตรียมเอกสารแสดงการหักภาษีของหน่วยงานที่จ้างคุณไว้ด้วย
- 2. ยื่นภาษีที่ไหนได้บ้าง
ปัจจุบันกรมสรรพากรเปิดโอกาสให้ยื่นภาษีได้ 3 ช่องทางหลัก
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
- ไปรษณีย์ แบบลงทะเบียน เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ
- ง่ายที่สุดคือช่องทางออนไลน์ สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th ได้เลย
สำหรับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สามารถดูรายละเอียด และทำตามขั้นตอนต่างๆ ได้ที่ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์จากกรมสรรพากร
- ขั้นตอนยื่นภาษีผ่านออนไลน์ด้วยตนเองนั้น มี 10 ขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th
2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนต้องลงทะเบียนยื่นภาษีก่อน)
3. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่หน้า แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563 หากข้อมูลถูกต้องให้กดทำรายการต่อไป
4. เลือกสถานะจัดการชีวิต
5. เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี
- หากเป็นมนุษย์เงินเดือนให้เลือกมาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง
- ส่วนเงินที่ได้รับยกเว้นหรือค่าลดหย่อน มีให้เลือกทั้งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF หรืออุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วกดทำรายการต่อไป
6. กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่างๆ โดยเอามาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ กรอกในช่อง “บันทึกจำนวนเงินที่สะสมตลอดปี” ที่สำคัญต้องไม่ลืมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ส่วนคนที่เปลี่ยนงานหรือออกจากงานระหว่างปีให้ติดตามขอเอกสารของที่ทำงานเก่าและที่ทำงานใหม่เพื่อนำมายื่นรวมกันด้วย
7. บันทึกรายการค่าลดหย่อนที่เรามี กรอกใส่ทั้งหมด
8. ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ
9. หากข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการยืนยันเพื่อยื่นแบบภาษี
10. กดยืนยันการจ่ายเงินหรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด
ที่ม: กรมสรรพากร