เช็คด่วน! 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ต้องทำอย่างไร? ให้ถูกกฎหมาย

เช็คด่วน! 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ต้องทำอย่างไร? ให้ถูกกฎหมาย

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสธ. เกณฑ์ 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ทำอย่างไร? ให้ถูกกฎหมาย มีข้อห้ามอะไรบ้าง?

ตามที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและการคุ้มครองผู้บริโภค

  • 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ที่สามารถทำได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (21) แห่งพระราชบัญญัติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในการประชุมครั้งที่ 3/2564  เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 จึงออกประกาศ กําหนดไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2564”

162996085722 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้โฆษณาได้ ดังต่อไปนี้

(1) การโฆษณาด้วยข้อความตามที่ได้รับอนุญาตในการขึ้นทะเบียนตํารับ รับแจ้งรายละเอียด หรือรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร

(2) การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับราคา

(3) การโฆษณาเครื่องหมายหรือการรับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร

(4) การโฆษณาข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร

(5) การโฆษณาอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกําหนด

  • ห้าม'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร'ระวังผิดกม.

ข้อ 4  ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรืออาจก่อให้เกิด ผลเสียต่อสังคมอันเป็นส่วนรวม ดังต่อไปนี้

(1) โฆษณาที่รวมอยู่กับการถวายพระพร หรือการกระทําอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

(2) โฆษณาที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน

(3) โฆษณาที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทําผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรม หรือนําไปสู่ความเสื่อมเสียในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาติ

(4) โฆษณาที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบที่จะนํามาซึ่งอันตรายหรือความรุนแรง

(5) โฆษณาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญของผลิตภัณฑ์สมุนไพร

162996087795

(6) โฆษณาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในราคาของผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงโฆษณาราคาเกินกว่าที่ปรากฏในฉลาก

(7) โฆษณาโดยไม่สุภาพ หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย

(8) โฆษณาโดยนําเสนอเนื้อหาว่าได้จัดให้มีการแถมพก หรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(9) โฆษณาข้อมูลงานวิจัยด้านสรรพคุณ หรือข้อความกล่าวอ้างทางสุขภาพของส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ไม่สอดคล้องกับสรรพคุณ หรือข้อความกล่าวอ้างทางสุขภาพ ที่ได้รับอนุญาตในการขึ้นทะเบียนตํารับ รับแจ้งรายละเอียด หรือรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือไม่น่าเชื่อถือ

(10) โฆษณาชักชวนให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างพร่ำเพรื่อ เกินความจําเป็น

  • 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ต้องทำอย่างไรบ้าง

สำหรับข้อห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีเพิ่มดังนี้ 

(11) โฆษณาสรรพคุณที่ทําให้แท้งลูกหรือช่วยขับระดูอย่างแรง

(12) โฆษณาสรรพคุณที่ช่วยบํารุงกาม หรือ คุมกําเนิด

(13) โฆษณาคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรว่าสามารถป้องกัน บําบัด บรรเทา รักษา มะเร็ง เบาหวาน โรคเรื้อน วัณโรค เอดส์ โรค หรือ อาการของโรคทางสมอง หัวใจและหลอดเลือด ปอด ม้าม ตับ ไต ตา และโรคอื่น ๆ ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกําหนด

(14) โฆษณาที่เป็นการทับถมหรือเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่น ยกเว้นการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของผู้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับ ผู้รับใบรับจดแจ้ง หรือผู้รับใบรับแจ้งรายละเอียด รายเดียวกัน

(15) โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เฉพาะสถานพยาบาล

ความใน (11) (12) (13) (14) และ (15) ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณาซึ่งกระทําโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ การโฆษณาซึ่งกระทํา โดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 70

ความใน (11) (12) และ (13) ไม่ใช้บังคับแก่การแสดงข้อความที่อยู่บนฉลากและเอกสาร กํากับผลิตภัณฑ์สมุนไพร

162996089819

ข้อ 5 การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ ดังนี้

(1) แสดงชื่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ถูกต้องอย่างน้อย ๑ ครั้ง หรือ ๑ แห่ง ที่ตรงตามใบสําคัญ การขึ้นทะเบียนตํารับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ใบรับแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือใบรับจดแจ้ง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือชื่อของวัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร

(2) แสดงเลขที่ใบอนุญาตโฆษณาในสื่อโฆษณาทุกชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ชัดเจน โดยอาจให้ แสดงรหัส สัญลักษณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมด้วยก็ได้

(3) แสดงข้อความ ดังต่อไปนี้ “ผู้บริโภคสามารถแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่สายด่วน อย. 1556”

(4) กรณีมีการแสดงคําเตือนที่ฉลาก หรือ เอกสารกํากับผลิตภัณฑ์ให้แสดงข้อความ ดังต่อไปนี้ “อ่านคําเตือนในฉลากและเอกสารกํากับผลิตภัณฑ์ก่อนใช้”

การแสดงข้อความตาม (1) (2) (3) และ (4) ด้วยตัวอักษรต้องสามารถอ่านได้ชัดเจน หรือการแสดงข้อความตาม (1) (2) (3) และ (4) ด้วยเสียงต้องสามารถรับฟังได้อย่างชัดเจน ความเร็วและความดังของเสียงต้องสม่ำเสมอ  

 ทั้งนี้ การโฆษณาผ่านทางสิ่งของสําหรับแจกหรือของชําร่วย ให้ยกเว้นการแสดงข้อความ ตาม (2) (3) และ (4) และการโฆษณาทางสื่อเสียงที่มีระยะเวลาโฆษณาน้อยกว่า10 วินาที ให้ยกเว้นการแสดงข้อความตาม (3) และ (4)

  • เปิดเงื่อนไข 'โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร'

ข้อ6 เงื่อนไขในการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีดังต่อไปนี้

(1) โฆษณาตามที่ได้รับอนุญาต

(2) การโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต สื่อสังคม (Social Media) หรือสื่ออื่นใดของผู้ได้รับอนุญาตโฆษณา หากมีบุคคลได้แสดงความคิดเห็นต่อสื่อโฆษณา โดยใช้ข้อความในลักษณะซึ่งขัดต่อกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณามีหน้าที่ควบคุม และเฝ้าระวังการแสดง ความคิดเห็นเหล่านั้นมิให้เผยแพร่ต่อไป

(3) หากใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ใบรับแจ้งรายละเอียด หรือใบรับจดแจ้ง ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นถูกยกเลิกหรือเพิกถอน หรือมีคําสั่งจากผู้อนุญาตให้เพิกถอนใบอนุญาตโฆษณา ให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณางดเว้น หรือยุติการเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวผ่านสื่อโฆษณาทั้งหมด

(4) การโฆษณาเครื่องหมายหรือการรับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้รับการรับรองจริง โดยหลักฐานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา