เจาะสถิติ "โควิด กทม." จับตา "เวฟ 5" หลังคลายล็อก
กางตัวเลขสถิติ "โควิด กทม." กับคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญในระบบการแพทย์ ประเมินทิศทาง "โควิด-19" ระบาดละรอกใหม่ หลังการคลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย.เป็นต้นไป
จากสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในพื้นที่กรุงเทพฯ ล่าสุด 7 ก.ย. มีผู้เสียชีวิตกลับมาอยู่ที่ 85 ราย ขยับจากตัวเลขผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 ก.ย.จากเดิม 24 ราย กำลังเป็น "สัญญาณเตือน" อีกครั้งต่อกราฟผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเดียวต่อการมาตรการคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา
ถึงแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อภาพใหญ่ของประเทศจะลดระดับต่ำกว่า 1.5 หมื่นคนมาแล้ว 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. แต่ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในกรุงเทพฯ ยังมากที่สุดในประเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,897 ราย โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อ 14 วันหลังสุดดังนี้
วันที่ 6 ก.ย. จำนวน 3,610 คน
วันที่ 5 ก.ย. จำนวน 3,906 คน
วันที่ 4 ก.ย. จำนวน 3,428 คน
วันที่ 3 ก.ย. จำนวน 3,835 คน
วันที่ 2 ก.ย. จำนวน 3,322 คน
วันที่ 1 ก.ย. จำนวน 3,732 คน
วันที่ 31 ส.ค. จำนวน 3,963 คน
วันที่ 30 ส.ค. จำนวน 3,771 คน
วันที่ 29 ส.ค. จำนวน 3,821 คน
วันที่ 28 ส.ค. จำนวน 4,141 คน
วันที่ 27 ส.ค. จำนวน 4,699 คน
วันที่ 26 ส.ค. จำนวน 4,178 คน
วันที่ 25 ส.ค. จำนวน 4,139 คน
วันที่ 24 ส.ค. จำนวน 4,025 คน
"กรุงเทพธุรกิจ" ได้ตรวจสอบไปที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม "สีเขียว-สีเหลือง-สีแดง" ในระบบโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนามและ Hospitel ในการดูแลของ "ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน" สำนักการแพทย์ จากข้อมูลล่าสุดประจำวันที่ 7 ก.ย.2564 มีข้อมูลดังนี้
•โรงพยาบาลสนาม 13 แห่ง มีผู้ป่วยสีเขียว 1,034 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 467 ราย และผู้ป่วยสีแดง 62 ราย รวมทั้งหมด 810 ราย
•Hospitel 5 แห่ง มีผู้ป่วยสีเขียว 968 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 97 ราย และผู้ป่วยสีแดง 0 ราย รวมทั้งหมด 1,065 ราย
•โรงพยาบาล หลัก กทม. 9 แห่ง มีผู้ป่วยสีเขียว 438 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 275 ราย และผู้ป่วยสีแดง 97 ราย รวมทั้งหมด 810 ราย
ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ จากข้อมูล ณ วันที่ 7 ก.ย.2564 เวลา 08.00 น. มียอดผู้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น 69,099 โดส และยอดผู้รับวัคซี สะสม 9,787,096 โดส แบ่งเป็นดังนี้
เข็มที่ 1 : 18,573 โดส สะสม : 7,214,303 โดส
เข็มที่ 2 : 49,790 โดส สะสม : 2,396,506 โดส
เข็มที่ 3 : 736 โดส สะสม : 176,287 โดส
แต่สำหรับตัวเลขผู้เสียชีวิต "14 วันย้อนหลัง" มีกราฟไม่คงที่ โดยเฉพาะใน กทม.เคยมีผู้เสียชีวิต "นิวไฮ" เพียงวันเดียวมากถึง 119 คน เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2564 จากนั้นในช่วงปลายเดือน ส.ค.ต่อเนื่องต้นเดือน ก.ย. มีตัวเลขผู้เสียชีวิตยังไม่นิ่ง โดยมีข้อมูลผู้เสียชีวิตย้อนหลัง 14 วันดังนี้
วันที่ 7 ก.ย. จำนวน 85 คน
วันที่ 6 ก.ย. จำนวน 24 คน
วันที่ 5 ก.ย. จำนวน 35 คน
วันที่ 4 ก.ย. จำนวน 79 คน
วันที่ 3 ก.ย. จำนวน 79 คน
วันที่ 2 ก.ย. จำนวน 80 คน
วันที่ 1 ก.ย. จำนวน 80 คน
วันที่ 31 ส.ค. จำนวน 32 คน
วันที่ 30 ส.ค. จำนวน 79 คน
วันที่ 29 ส.ค. จำนวน 111 คน
วันที่ 28 ส.ค. จำนวน 119 คน
วันที่ 27 ส.ค. จำนวน 85 คน
แต่ประเด็นสำคัญจาก "คำเตือน" จาก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินสถานการณ์ภายหลังปลดล็อค 1 ก.ย.ไปแล้ว คาดว่าจะเห็นแรงกระเพื่อมชัดเจนตั้งแต่ ต.ค.เป็นต้นไป แต่ถ้าไม่ได้ควบคุมโรคในประเทศอย่างดีพอ ปลดล็อคเร็วไป หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อติดเชื้อเข้ามาในประเทศ ก็จะมีโอกาสทวีความรุนแรงมากขึ้น และสาหัสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ยาวนานอีกหลายเดือน
โดยเฉพาะความเห็นจาก "รพ.ธรรมศาตร์" ได้โพสต์ข้อความไว้ก่อนคลายล็อก 1 ก.ย. ประเมินสถานการณ์ของ "เวฟ 5" จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย คงต้องเตรียมตัวกันให้ดีทั้งระบบโรงพยาบาล ระบบบริหารบุคลากรยาและเวชภัณฑ์ และระบบดูแลผู้ป่วย ซึ่งทุกประเทศในโลกจะมีผู้ป่วยเวฟใหม่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัวไปจนถึง 4-5 เท่าของเวฟก่อนหน้านั้น
"เรื่องของเราคงอยู่ตรงที่ว่า เวฟ 5 จะมาเมื่อไหร่? ซึ่งเราคาดเดาไม่ได้ชัดเจน อย่างเร็วคงเป็นตุลาคมและอย่างช้าก็คงเป็นปลายปี"