กรมราชทัณฑ์ เผยนักโทษติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 518 ราย
“กรมราชทัณฑ์" รายงาน สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันนั กโทษติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 518 ราย ไม่พบเรือนจำระบาดเพิ่มเป็นวันที่ 2 ขณะที่เรือนจำจังหวัดสระบุรีพ้นจากการระบาดแล้ว
เมื่อวันอังคารที่ 7 กันยายน 2564 เวลา 12.00 นาฬิกา นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน 2564 เวลา 16.00 นาฬิกา) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 518 ราย (พบในเรือนจำสีแดง 467 ราย และพบในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ 51 ราย) รักษาหายเพิ่ม 117 ราย เสียชีวิต 1 ราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 4,222 ราย (กลุ่มสีเขียว 90.7% สีเหลือง 8.7% และสีแดง 0.6%) เป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร 501 ราย ปริมณฑล 422 ราย และต่างจังหวัด 3,299 ราย
นายอายุตม์ กล่าวว่า ในวันนี้ มีเรือนจำที่พ้นจากการระบาดเพิ่ม 1 แห่ง คือ เรือนจำจังหวัดสระบุรี ขณะที่ไม่มีเรือนจำระบาดใหม่เพิ่มในวันนี้ ส่งผลให้มีเรือนจำสีแดงลดลงอยู่ที่ 39 แห่ง เรือนจำสีขาว 103 แห่ง โดยมีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม 54,324 ราย หรือ 90.2% ของผู้ติดเชื้อสะสม 60,205 ราย เสียชีวิตสะสม 129 ราย คิดเป็นอัตรา 0.2% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด
สำหรับผู้เสียชีวิต เป็นผู้ต้องขังจากเรือนจำจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง มีโรคประจำตัว แม้ว่าได้ดูแลรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานโดยทีมแพทย์ และส่งต่อการรักษายังโรงพยาบาลภายนอกแล้ว แต่อาการยังคงไม่ดีขึ้น จนกระทั่งได้เสียชีวิตลง กรมราชทัณฑ์ ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไป มา ณ โอกาสนี้ ทั้งนี้ ได้ประสานญาติเพื่อนำร่างผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามวิธีการจัดการศพผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย
นายอายุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นตัวเลขจากเรือนจำสีแดงที่อยู่ในระยะเริ่มการระบาด อาทิ เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เรือนจำกลางอุดรธานี และเรือนจำจังหวัดสระแก้ว ที่ต้องเร่งดำเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกตามแนวทางสาธารณสุข คือ การคัดกรอง
นายอายุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นตัวเลขจากเรือนจำสีแดงที่อยู่ในระยะเริ่มการระบาด อาทิ เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เรือนจำกลางอุดรธานี และเรือนจำจังหวัดสระแก้ว ที่ต้องเร่งดำเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกตามแนวทางสาธารณสุข คือ การคัดกรอง
ที่รวดเร็ว (Early Detection) การตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว (Early Diagnosis) และการรักษาอย่างรวดเร็ว (Early Treatment) เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว (Early Containment) ทั้งด้วยวิธี RT-PCR, Antigen Test Kit (ATK) รวมทั้งการเอกซเรย์ปอด และการตรวจวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจวัดความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อได้เข้าถึงยาและการรักษาได้อย่างทันท่วงที อันจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและการควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากจำนวนเรือนจำสีแดงกว่า 32 แห่งจากทั้งหมด 39 แห่ง ที่สามารถควบคุมการระบาดและเข้าสู่แผนสิ้นสุดการระบาดของโรคหรือ EXIT ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในเดือนนี้จะเริ่มทยอย EXIT ได้ไม่น้อยกว่า 17 แห่ง