เช็คเงื่อนไข เยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับสูงสุด 10,000 บาท

เช็คเงื่อนไข เยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับสูงสุด 10,000 บาท

รีบเช็ค! โครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่มีอายุเกิน 65 ปี เตรียมรับเงินสูงสุด 10,000 บาท มีเงื่อนไข และวิธีลงทะเบียนดังนี้

เคาะแล้วสำหรับโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยจะได้รับ "เงินเยียวยา" สูงสุดจำนวนมากถึง 10,000 บาท ภายใต้กรอบวงเงิน 166.94 ล้านบาท  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปเงื่อนไข และวิธีรับเงินเยียวยา มาให้ทราบกันดังนี้

 

  • เงื่อนไขผู้ที่ได้รับสิทธิรับเงินเยียวยา

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี

ซึ่งที่อยู่ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด แบ่งเป็น

  • ผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) 12,918 คน
  • ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ 3,776 คน

รวม 16,694 คน

 

  • สรุปยอด "เงินเยียวยา" รัฐช่วยเท่าไร?

โครงการฯ นี้รัฐจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ คนละ 5,000 บาทต่อเดือน ภายใต้กรอบวงเงิน 166.94 ล้านบาท

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นระยะเวลา 2 เดือน วม 10,000 บาท

  • กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นราธิวาส
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • สงขลา
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • พระนครศรีอยุธยา

 

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัดเพิ่มเติม สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพระยะเวลา 1 เดือน รวม 5,000 บาท

  • กาญจนบุรี
  • สมุทรสงคราม 
  • สุพรรณบุรี
  • เพชรบุรี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ราชบุรี 
  • อ่างทอง
  • นครนายก
  • ปราจีนบุรี 
  • ลพบุรี 
  • ระยอง
  • สิงห์บุรี 
  • สระบุรี
  • นครราชสีมา 
  • เพชรบูรณ์
  • ตาก

 

  • วิธีการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยา

กรมการขนส่งทางบก จะเปิดให้มีการลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ และดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุเกิน 65 ปี

จากฐานข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (รถแท็กซี่) และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

สำหรับกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่เช่า ที่ไม่สามารถตรวจสอบพื้นที่ให้บริการได้ จะต้องทำการตรวจสอบยืนยันตัวตนก่อน เช่น ให้นิติบุคคลรถเช่า/สหกรณ์แท็กซี่ เป็นผู้รับรอง เป็นต้น

 

  • ได้เงินวันไหน เงินเข้าเมื่อไร?

กรมการขนส่งทางบกจะจ่ายเงินด้วยวิธีการโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Promptpay) เฉพาะการผูกบัญชีกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือตามวิธีการอื่นที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

คาดว่าจะจ่ายเงินรอบแรกระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤศจิกายน 2564 และจ่ายเงินรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤศจิกายน 2564