ใครที่เหมาะใช้ "แอนติบอดี ค็อกเทล" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

ใครที่เหมาะใช้ "แอนติบอดี ค็อกเทล" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

"แอนติบอดี ค็อกเทล" (Antibody Cocktail) หรือ “ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์” เป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย

ปัจจุบันการรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงไปทั่วโลก ได้มีการผลิตคิดค้นพัฒนายาและวัคซีนเพื่อนำมาใช้ในการดูแล รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง "ยาแอนติบอดี ค็อกเทล" (Antibody Cocktail) หรือ “ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์” ในการรักษาดูแลผู้ป่วยโควิด

  • ยาแอนติบอดี ค็อกเทลในไทย

สำหรับประเทศไทย “ยาแอนติบอดี ค็อกเทล” ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)ให้ใช้เพื่อการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2564  โดยยาแอนติบอดี ค็อกเทลเข้าไทยมาตั้งแต่วันที่ 30ก.ค.2564 เริ่มใช้ที่สถาบันบำราศนราดูรแห่งแรก ต่อมาทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดหายาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) มาใช้เพื่อรักษาดูแลผู้ป่วยโควิด-19 

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

วันนี้ (19 ต.ค.2564) โรงพยาบาลพระราม9 ได้เปิดตัว “ยาAntibody Cocktail(แอนติบอดี ค็อกเทล)” นวัตกรรมยาที่คิดค้นเพื่อรักษาโรคโควิด 19 โดยเฉพาะ

นพ.น๊อต เตชะวัฒนวรรณา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตและผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระราม9  กล่าวว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือแอนติบอดีแบบผสม เป็นยาที่เกิดจากการผลิตผสมรวมกันของแอนติบอดี 2 ชนิดคือ คาซิริวิแมบ (Casirivimab) และ อิมเดวิแมบ (Imdevimab) จนเกิดโปรตีนที่เรียกว่า โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ Neutralizing Monoclonal Antibodies (NmAbs)

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

 

 

  • ใช้กับผู้ป่วยโควิดอาการน้อย-ปานกลาง

โดย "ยาแอนติบอดี ค็อกเทล"  เป็นยาที่สังเคราะห์เลียนแบบมาจากภูมิต้านทานหรือ แอนติบอดี จากร่างกายของคนป่วยโควิด-19 ที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส เป็นยาที่ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ จะทำให้ปริมาณไวรัสลดลง ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปอดอักเสบซึ่งจะนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวนำไปสู่การเสียชีวิต เป็นยาที่นำมาใช้ตั้งแต่อาการคนไข้ยังไม่หนัก เพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเพิ่มมากขึ้น

นพ.น็อต กล่าวต่อว่า แอนติบอดี ค็อกเทล จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ Neutralizing Monoclonal Antibodies(NmAbs) โดยหลักการทำงานจะตรงเข้าจับกับโปรตีนตรงส่วนหนาม ทำให้ไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายลดปริมาณลง ซึ่งจะสามารถส่งผลในการยับยั้งการติดเชื้อได้ทันที และสามารถต่อสู้กับโควิด-19ได้ทุกสายพันธุ์   ยาแอนติบอดี ค็อกเทล จะให้ยาทางหลอดเลือดดำและห้ามฉีดเข้าทางชั้นกล้ามเนื้อ หรือโดยการฉีดเข้าทางชั้นใต้ และให้เพียงครั้งเดียวโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

“โรงพยาบาลพระราม 9 ได้ใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทลมาประมาณเดือนกว่าๆ โดยใช้กับคนไข้โควิด-19 ประมาณ 20 กว่าราย ซึ่งจะใช้ในกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางหรือคนไข้กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงในอนาคต เช่น ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ หรือคนที่ได้รับยากดภูมิต้านทานหรือโรคมะเร็ง คนไข้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน กลุ่มนี้จากประสบการณ์ในการรักษาคนไข้ที่ผ่านมา จะรู้ว่าถ้าอาการรุนแรงก็จะตามมาด้วยภาวะการหายใจล้มเหลวจากนั้นก็จะตามมาด้วยการเสียชีวิต ถ้าเรารู้ว่าคนไข้เป็นกลุ่มเสี่ยงแล้วให้ยาแอนติบอดี ค็อกเทลก็จะช่วยลดอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นได้นพ.น็อต กล่าว

 

  • ลดโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ70%

การให้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล สามารถให้ยาแล้วรอดูอาการ กลับบ้านได้เลย โดยระยะเวลาการให้ยาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้ยามาแล้ว ควรจะสังเกตอาการอยู่ที่โรงพยาบาลแพ้ ถ้าเกิดไม่มีอาการข้างเคียงอะไร ก็ให้กลับไปทำ Home Isolation หรือกักตัวที่  Hospital ซึ่ง โรงพยาบาลพระราม9 มีการวางแผนให้บริการ Virtual  Hospital  คุณหมอจะ  Video Call สอบถามอาการคนไข้ทุกวัน อย่างน้อยก็วันเว้นวัน เพื่อติดตามอาการ

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

ผู้ป่วยที่สามารถให้ยาแอนติบอดี ค็อกเทลได้นั้น จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อโควิด 19 (ไม่เกิน 10 วัน) มีอาการจากโรคนี้ ตั้งแต่เล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้เมื่อติดเชื้อ โดยภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายประมาณ 1 เดือน จะได้ผลในเชิงการป้องกันสำหรับผู้ที่ติดแล้วมีอาการน้อยหรือปานกลาง

จากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสำหรับคนที่ติดที่ไม่รุนแรง ทำให้ลดอาการรุนแรง ลดเสียชีวิตได้ 70% และสูงกว่ายารักษาโควิดอีกชนิดอย่างโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่มีตัวเลขการป้องกันอยู่ที่ประมาณ 50% เท่านั้น หากได้ยา antibody cocktail จะช่วยลดเวลาการนอนพักรักษาตัวที่ รพ.ได้ประมาณ 4 วัน ในกลุ่มทำการทดลอง

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

ส่วนอาการข้างเคียงนั้น ในต่างประเทศพบว่าผู้ที่มีอาการแพ้แบบรุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย หรือมีอาการทางระบบหายใจ แต่ว่าจากการใช้กับผู้ป่วยโควิดที่โรงพยาบาลพระราม 9 ยังไม่มีเคสไหนที่แพ้ มีแต่บางรายอาจจะมีอาการมึนศีรษะต้องนอนพัก อาจจะมีอาการความดันตกลงเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีอาการแพ้อื่นๆ อาการแพ้รุนแรงเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะฉะนั้นยาแอนติบอดี ค็อกเทลเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย

  • แนวทางการใช้แอนติบอดี ค็อกเทล

อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน (BMI มากกว่า 30)  โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง  โรคปอดเรื้อรัง รวมถึงโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต  โรคตับเรื้อรัง  มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันถูกกด จากผลการประเมินโดยแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา ควรจะได้รับยาทันทีที่เป็น เพราะยามีประสิทธิภาพแต่ต้องให้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรที่จะรอให้อาการเป็นหนัก  และหากผู้ป่วยอยากให้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล ขอให้แจ้งแพทย์โดยตรงว่า หรือสามารถสอบถามแพทย์ได้

ใครที่เหมาะใช้ \"แอนติบอดี ค็อกเทล\" ยาต้านโควิด ลดเสียชีวิตได้ถึง 70%

นพ.น็อต กล่าวต่อไปว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล มีประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่งในต่างประเทศพบว่า ยาตัวนี้สามารถป้องกันให้คนไข้ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะลดอาการหนักหรือว่าเสียชีวิตได้ 70 %  

ดังนั้น แนวทางการรักษาในอนาคต ควรใช้ในกลุ่มเสี่ยงจริงๆ  อย่าง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวมากๆ  ควรใช้แอนติบอดี ค็อกเทล เป็นแนวทางแรกของผู้ป่วย โดยเฉพาะกรณีผู้ติดเชื้อมาใหม่ๆ  ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแล้วในอนาคตคิดว่าน่าจะมียาอื่นและมีการใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล มากขึ้น ทั้งนี้อยู่ที่การศึกษาพัฒนาให้มากขึ้นร่วมด้วย ว่าควรจะต้องใช้ยาอะไรบ้าง เพื่อลดความรุนแรง เสียชีวิต ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ มากขึ้นว่า เราต้องให้ยาอะไรบ้างที่จะช่วยลดอัตราความรุนแรงและการเสียชีวิตของผู้ป่วย