"โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" ไม่กลัววัคซีนเชื้อตายผสม แต่ต้องฉีดขัดตาทัพ

"โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" ไม่กลัววัคซีนเชื้อตายผสม แต่ต้องฉีดขัดตาทัพ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ เผย โอไมครอน ไม่กลัววัคซีนเชื้อตายผสม ไม่มีอะไรอยู่ในมือ และไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้ก็คงต้องฉีดไปก่อนขัดตาทัพ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศ ชี้ ไม่มีอะไรอยู่ในมือและไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้ก็คงต้องฉีดไปก่อนขัดตาทัพ

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- WHO เตือนสกัดโอไมครอนแบบเหวี่ยงแหเสี่ยงปกปิดข้อมูลกลายพันธุ์ในอนาคต

- หมอยง เชื่อ "โควิดสายพันธุ์โอไมครอน" เตรียมเข้ามาแทนที่เดลตา

- พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ เพิ่มใน 19 ประเทศ

 

วัคซีนเชื้อตาย มีส่วนประกอบไส้ในของไวรัส และหวังจะเป็นตัวร่วมที่สร้างภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ต่างๆ จนถึง "โอไมครอน" (Omicron) ซึ่งอาจไม่เป็นความจริงตามที่หวังทั้งนี้ เนื่องจาก

 

1.วัคซีนเชื้อตาย ของจีนเองในการศึกษาของประเทศต่างๆ และในประเทศผู้ผลิต ก็ข้ามสายพันธุ์จีนไปสู้เดลตาได้บ้าง แต่ไม่เก่งเท่ายี่ห้ออื่นๆ ในการลดการติด การตาย และถ้าพิจารณากับการจะไปสู้กับ "โอไมครอน" ที่มีการปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมในเกือบทุกท่อนของยีนอาจจะเป็นการยากพอสมควร 

 

2.และวัคซีนไขว้ ถ้าเริ่มด้วยซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มต้อง 2 เข็มก่อน และจึงต่อด้วยแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) หรือไฟเซอร์ (Pfizer) จึงจะสู้กับเดลตาได้เก่งขึ้นมาก แต่ถ้าใช้ 1 เข็มและไขว้จะไม่ค่อยเก่งอยู่แล้ว

 

 

3.และซิโนแวค ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า หลัง 3 เดือนสู้เบตาไม่ได้เลย และสู้เดลตาลดลงมาก

ซิโนแวค ซิโนแวค ไฟเซอร์หลัง 3 เดือนพอสู้เบตาได้บ้างแต่จำกัด แต่กับเดลตาก็ยังลดลงด้วย

ดังนั้น การพิจารณาเอาวัคซีนควบรวมจากเชื้อตายที่มีหลายส่วนประกอบกัน คู่กับวัคซีนที่มีแต่ส่วนหนาม spike RBD อาจจะได้ผลไม่เท่าที่คิดเมื่อเจอกับ ไวรัสหลากหลายอย่างโอไมครอน แต่โดยที่ไม่มีอะไรอยู่ในมือ และไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้ ก็คงต้องฉีดไปก่อน ขัดตาทัพ

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์