คนตกงานต่อเนื่อง "หนี้ครัวเรือน" สูง สำรวจภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64

คนตกงานต่อเนื่อง "หนี้ครัวเรือน" สูง สำรวจภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64

เจาะความเคลื่อนไหวที่สำคัญของสังคมไทยในไตรมาส 3 ปี 2564 จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง? โดยเฉพาะ "หนี้ครัวเรือน" ที่พบว่าพุ่งสูงต่อเนื่อง

เข้าสู่ช่วงสิ้นปี 2564 อย่างเป็นทางการ และเทศกาลแห่งความสุขของปีใหม่ 2565 ใกล้เข้ามาแล้ว แต่สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ก็ได้สร้างความกังวลให้กับคนทั้งโลกอีกครั้ง และทำให้พวกเรายังหนีไม่พ้นภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจและสังคม

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปเจาะความเคลื่อนไหวที่สำคัญของสังคมไทยในไตรมาส 3 ปี 2564 จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่าในช่วงที่ผ่านมา เมืองไทยมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

คนตกงานต่อเนื่อง \"หนี้ครัวเรือน\" สูง สำรวจภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64

 

  • อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น 2.25%

ภาพรวมการจ้างงานผู้มีงานทำมีจานวนทั้งสิ้น 37.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ ซึ่งมีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว

ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1.3 โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 7.3 และสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ลดลงถึงร้อยละ 9.3 

การว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 2.25 นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงาน สูงสุดร้อยละ 3.63 รองลงมาเป็น ปวส. ร้อยละ 3.16 ซึ่งผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจ การตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัด และคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกันจึงหางานได้ยากขึ้น 

  

 

  • "หนี้ครัวเรือน" เพิ่มขึ้น 5.0%

ด้านหนี้สินครัวเรือนของคนไทย พบว่ามีมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 90.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา

สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้านคุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิต ที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น แม้ว่าสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 ทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

แต่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อบัตรเครดิตต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็น ไตรมาสที่สองติดต่อกันจากร้อยละ 3.04 ในไตรมาสก่อน มาเป็นร้อยละ 3.51 รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต 1 ใน 3 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก 1) ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ ในระดับปกติ แม้ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว สะท้อนว่ารายได้ ครัวเรือนยังคงไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของ ครัวเรือน และ 2) ผลกระทบของอุทกภัยทาให้ครัวเรือนต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซ่อมแซมบ้านเรือนและเครื่องใช้ ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค

 

  • ผู้ป่วยลดลง 41.1%

การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลงร้อยละ 46.1 เป็นการลดลงในเกือบทุกโรค ยกเว้นโรคปอดอักเสบที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูฝนและ การติดเชื้อ COVID-19 ขณะที่ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหัด ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลงร้อยละ 93.0 89.2 88.0 และ 73.5 ตามลำดับ

นอกจากนี้ต้องเฝ้าระวังผลจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน ซึ่งอาจทำให้การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อ COVID-19 หรือ “LONG COVID” ของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อ COVID-19

 

  • บริโภคแอลกอฮอล์และบุหรี่ ลดลง 2.0%

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลงร้อยละ 2.0 โดยการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 2.1 และการบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาบุหรี่ปรับตัวสูงขึ้น และทำให้ประชาชนหันไปบริโภคสินค้าทดแทน อาทิ ยาเส้น บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงอาจส่งผลต่อการลักลอบนาเข้าบุหรี่ผิดกฎหมาย ซึ่งการปรับโครงสร้างภาษีฯ อาจไม่ช่วยลดการสูบบุหรี่เท่าที่ควร ดังนั้น ต้องมีการควบคุมสินค้าที่มาทดแทนควบคู่ไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีและลดอัตราการเป็นโรคจากการสูบบุหรี่ได้อย่างแท้จริง

 

  • คดีอาญาเพิ่มขึ้น 10.3%

คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 โดยคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยพบการกระทำผิดในคดีลักทรัพย์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.4 ของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ทั้งหมด และในส่วนของคดียาเสพติด มีการจับกุมในคดีเสพยาเสพติดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของคดียาเสพติด ขณะที่คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ได้รับแจ้ง 3,085 คดี ลดลงร้อยละ 14.7

 

  • อุบัติเหตุจราจรลดลง 24.6%

สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก และผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 24.6 และ 31.3 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมาจากการขับรถตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 19.3 รองลงมาเป็นขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ 18.1 จากรายงานของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ช่วง 9 เดือนของปี 2564 พบว่า

1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เป็นเด็กและเยาวชนรวม 10,959 ราย บาดเจ็บรวม 687,254 ราย นับเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ

จึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อลดการสูญเสีย จากการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็ก รวมทั้งการปลูกฝังวินัยจราจร พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การแก้ปัญหา สร้างจิตสำนึกในการใช้ถนนที่ปลอดภัยตั้งแต่วัยเด็กเล็ก เพื่อให้เกิดการตระหนักและนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

------------------------------------------

อ้างอิงสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ