พบผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่า 1 พันคนต่อวัน

พบผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่า 1 พันคนต่อวัน

"โครงการ Young Health Programme" เดินหน้าป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเด็กและเยาวชน ระบุอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่า1พันคนต่อวัน ขณะที่ 70% เสียชีวิตก่อนวันอันควรจากโรคดังกล่าว ย้ำการป้องกันโรคเป็นกุญแจสำคัญชนะโรคร้าย

 

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 กับ โครงการ Young Health Programme ภายใต้ความร่วมมือระหว่างแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งดำเนินงานเพื่อรณรงค์ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Non-communicable diseasesหรือNCDs)อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็กและเยาวชน

โดยรายงานการติดตามสถานการณ์ในปี2563ขององค์การอนามัยโลกบ่งชี้ว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของคนไทย โดยคิดเป็น74%ของการเสียชีวิตทั้งหมดและพบว่า14%เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือในช่วงอายุ30-70ปี 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงสุดคือโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตคิดเป็น23%และ18%ของการเสียชีวิตทั้งหมด  และมีการประมาณการว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงกว่า1พันคนต่อวัน

โดยโครงการได้ดำเนินงานใน7พื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ เขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ วัฒนา คลองเตย อำเภอพระประแดง  และอำเภอเมืองสมุทรปราการ ภายใต้กรอบระยะเวลา5ปี โครงการคาดหวังที่จะสร้างเสริมศักยภาพการดูแลและป้องกันสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง10-24ปี จำนวน75,240คน และผู้ปกครอง ครู รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในประเทศไทย จำนวน11,385คน

 

  • โครงการ YHP ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเด็ก

โครงการYHPในประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่การดำเนินงานในปีที่3โดยได้มีส่วนส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชนไทยแล้วกว่า10,180คน ผ่านกิจกรรมของโครงการและตัวแทนเพื่อนสอนเพื่อน(Peer educators)จำนวน117คน ระดมพลังผู้นำและตัวแทนของชุมชนแล้วกว่า196คน อีกทั้งได้จัดกิจกรรมสัมมนา และการอบรมความรู้แก่ครูที่ปรึกษาจำนวน354คน ผู้ปกครองจำนวน3,258คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจำนวน57คน นอกจากนี้โครงการยังเข้าถึงผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมในสังคมแล้วกว่า1,393,619คนผ่านกิจกรรมเพื่อมวลชนและการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดโครงการพร้อมปาฐกถาพิเศษว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมสุขภาพของเด็กและเยาวชน ตามนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพที่เรายึดมั่นเป็นวาระแห่งชาติมาโดยตลอด

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้มุ่งส่งเสริมให้ความรู้ และร่วมมือกับเยาวชนทั่วประเทศในด้านสุขศึกษา ซึ่งรวมถึงองค์ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพจิต โดยกิจกรรมภายใต้โครงการYoung Health Programmeนั้นสอดคล้องและสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ20ปี ด้านสาธารณสุข ของประเทศไทย และเป็นเป้าหมายที่3คือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือSDG 3

 

  • กุญแจสำคัญเอาชนะโรคร้ายคือ การป้องกัน

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แอสตร้าเซเนก้ากำลังพยายามอย่างเต็มความสามารถ เพื่อยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราไม่เคยลดความสำคัญของการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักทั่วโลก ในขณะที่เราเดินหน้าขยายขีดความสามารถของวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาเวชภัณฑ์ยาที่จะมารักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ตระหนักดีว่าแค่เพียงการมียาที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ ได้ กุญแจสำคัญที่จะทำให้เราสามารถเอาชนะโรคร้ายเหล่านี้ได้ คือ การป้องกัน โดยเฉพาะการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ความร่วมมือต่างๆ ดังเช่น การดำเนินงานโครงการYoung Health Programmeในประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขได้ตอกย้ำความเชื่อมั่นว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง และสามารถช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นได้

โครงการYHPในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของโลกเริ่มดำเนินงานในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน2562 ซึ่งมีความคืบหน้าที่สำคัญในช่วงการดำเนินงาน2 ปีแรกจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการงานประชุมเปิดตัวโครงการในกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ การอบรมแกนนำนักเรียน-นักศึกษาสร้างเสริมสุขภาพ

การอบรมครูและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการYoung Health Programmeกิจกรรมขยายผลโดยนักเรียนแกนนำเพื่อหนุนเสริมโครงการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน การสร้างความรู้ความตระหนักในวันสำคัญทางสุขภาพ การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และการจัดทำแบบฟอร์มให้ข้อคิดเห็นต่อบริการสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นและเยาวชน การจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย และการเข้าร่วมภาคีเครือข่ายเพื่อผลักดันในเชิงนโยบาย

  • 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

นายจอห์น แม็คกาวน์ ผู้อำนวยการประเทศ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า จากสถิติซึ่งระบุว่าประมาณ70%ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีชนวนเหตุคือพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งฝังรากลึกมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น1เราพบว่าแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก คือ การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแก่เด็กและเยาวชน โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสะท้อนให้เราต้องพยายามให้ความสำคัญกับการปลูกฝังรากฐานแห่งการมีสุขภาพที่ดีแก่เด็กและเยาวชน ผ่านกิจกรรมริเริ่มใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมรณรงค์ และกิจกรรมพัฒนาเชิงนโยบาย

โครงการYHPในประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในปี2565ไปจนถึงปีสิ้นสุดโครงการ โดยจะยังคงเดินหน้าสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมยกระดับองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจที่สำคัญ อาทิกิจกรรมสร้างเสริมความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับเด็กและเยาวชน การอบรมพัฒนาแกนนำเยาวชนสร้างเสริมสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย

การทำแคมเปญและกิจกรรมประจำเดือนเพื่อสร้างความรู้ในวันสำคัญทางสุขภาพ การอบรมมาตรฐานบริการที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นและเยาวชนให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการให้ข้อคิดเห็นต่อมาตรฐานโดยเด็กและเยาวชน การจัดสัมมนาด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายด้านสุขภาพ