"ประกันสังคม" มาตรา 40 เช็คสิทธิ เงินเยียวยา เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยและเสียชีวิต

"ประกันสังคม" มาตรา 40 เช็คสิทธิ เงินเยียวยา เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยและเสียชีวิต

ตรวจสอบอัพเดท "ประกันสังคม" มาตรา 40 เช็คสิทธิ เงินเยียวยา เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยและเสียชีวิต ปมบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แนะนำผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่าลืมส่งเงินสมทบ มิฉะนั้นอาจไม่ได้สิทธิตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิมาตรา 40 ดังนี้

 กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน 
ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย

กรณีทุพพลภาพ 
(ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ)
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน 
ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ 
 รับ 500 บาทต่อเดือน 
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน 
ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ 
 รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน 
ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ 
 รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน 
ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ
 รับ 1,000 บาทต่อเดือน

กรณีตาย  
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน 
ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต
 ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ
 วิธีชำระเงินสมทบมาตรา 40  ง่ายๆ 
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)
- แอปพลิเคชัน ShopeePay
- ตู้บุญเติม
- เซ็นเพย์ พาวเวอร์ by บุญเติม 
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- เคาน์เตอร์โลตัส
- เคาน์เตอร์บิ๊กซี

ทั้งนี้ ผู้ประกันตน สามารถชำระเงินสมทบ และเงินสมทบเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดเดือนปัจจุบัน และชำระเงินสมทบงวดเดือนล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวดเดือน รวมชำระเงินสมทบได้ไม่เกิน 13 งวด 

กรณีเงินสมทบเพิ่มเติม ชำระได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท  ไม่สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม งวดย้อนหลังได้

\"ประกันสังคม\" มาตรา 40 เช็คสิทธิ เงินเยียวยา เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยและเสียชีวิต

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40 หมายถึง ผู้มีอาชีพอิสระ ค้าขาย ฟรีแลนซ์ ไม่กระทบสิทธิบัตรทอง หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงได้รับสิทธิเหมือนเดิม แถมได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และปรับลดเงินสมทบให้แก่ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 64 - 31 ม.ค. 65


ผู้ประกันตนสามารถเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือก ดังนี้

1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน (ลดเหลือ 42 บาท/เดือน) คุ้มครอง 3 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ  25,000 บาท

 

2. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ลดเหลือ 60 บาท/ เดือน) คุ้มครอง 4 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 50 บาท/เดือน

3. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (ลดเหลือ 180 บาท/เดือน) คุ้มครอง 5 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
- รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาท ตลอดชีวิต
- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000บาท
- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 150 บาท/เดือน
- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ เดือนละ 200 บาท/คน คราวละไม่เกิน 2 คน

\"ประกันสังคม\" มาตรา 40 เช็คสิทธิ เงินเยียวยา เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยและเสียชีวิต

การจ่ายสิทธิประโยชน์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ สามารถติดต่อขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม