เช็คลิสต์ ประเทศไหนเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” บ้างแล้ว

เช็คลิสต์ ประเทศไหนเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” บ้างแล้ว

สำรวจภาวะสังคมสูงวัยในอาเซียน และทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society)

องค์การสหประชาชาติกำหนดว่า ประเทศใดได้เข้าสู่ "สังคมสูงวัย” (Aged Society) แล้วนั้น สามารถพิจารณาได้จากสัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีมากกว่าร้อยละ 7 หากประเทศนั้นมีจำนวนประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 เรียกได้ว่าเข้าสู่ "สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) และหากประเทศใดมีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 แสดงว่าประเทศนั้นได้เข้าสู่ "สังคมสูงวัยระดับ สุดยอด” (Super Aged Society)

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีประมาณ 11.8 ล้านคน จากประชากรกว่า 66 ล้านคน หรือร้อยละ 17.9 ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) หรือมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นแตะ 14% ของประชากรทั้งหมดในปี 2565 เป็นอย่างเร็ว

  • สังคมสูงวัยในอาเซียน 

ประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมดจะเข้าสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2030 ซึ่งประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว คือ

สิงคโปร์  : ข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุในสิงคโปร์ ณ เดือนกันยายน 2564 โดยหน่วยงานภาครัฐสิงคโปร์ Singapore Department of Statistics ระบุว่า ในปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุในสิงคโปร์ (ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) มีจำนวน ประมาณ 639,000 คน เพิ่มขึ้น 4%  กลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดในอาเซียน

เวียดนาม : มีประชากรอยู่ราว 96.2 ล้านคน โดยกลุ่มประชากรสูงอายุมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 11.7%

ส่วนประเทศบรูไน กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์ ยังถือว่าเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยจำนวนน้อยในปัจจุบัน ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย เมียนมาร์ และมาเลเซีย จัดเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยในปัจจุบัน

 

เช็คลิสต์ ประเทศไหนเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” บ้างแล้ว

 

  • สังคมสูงวัยทั่วโลก 

ก่อนหน้านี้ หลายๆ ประเทศก็เข้าสู่สังคมสูงวัยมาก่อนแล้วคือ (สถิติจากปี 2020)

  • อันดับ 1 ญี่ปุ่น
  • อันดับ 2 เยอรมนี
  • อันดับ 3 อิตาลี
  • อันดับ 4 ฟินแลนด์
  • อันดับ 5 กรีซ
  • อันดับ 6 โปรตุเกส
  • อันดับ 7 โครเอเชีย
  • อันดับ 8 มอลตา
  • อันดับ 9 สโลวาเนีย
  • อันดับ 10 เนเธอร์แลนด์

หากมองผิวเผินอาจดูเหมือนว่าเรื่องนี้ไม่ส่งผลกระทบอะไรกับประเทศมากนัก แต่ถ้ามองเจาะลึกในภาคสังคมแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบในหลายมิติ ตั้งแต่การขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ เรื่องที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ สังคมผู้สูงวัยจะเต็มไปด้วยประชากรที่มีปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต เนื่องด้วยพฤติกรรมสังคมเดี่ยวและระบบทุนนิยมที่ผลักดันให้ลูกหลานต้องจากบ้านเข้าเมืองใหญ่เพื่อทำงานหารายได้ และปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพัง (ยังไม่นับถึงกลุ่มผู้สูงอายุบางคนที่ไม่มีทายาท) 

 

-----------------------

อ้างอิง : dailymailtci-thaijo.orgditp.go.thaseanthai