ร้องผู้ติด“ไวรัสตับอักเสบซี”เข้าไม่ถึงรักษา เพียบ! เสี่ยงเป็นมะเร็งตับ
ร้องผู้ติด“ไวรัสตับอักเสบซี”เข้าไม่ถึงรักษาตกค้างอยู่รพ.ชุมชน เพียบ! เสี่ยงเป็นมะเร็งตับ ติดกับดักหลักเกณฑ์รักษา-แนวทางใช้ยา ย้ำได้รับรักษากินยาครบคอร์ส 30 วันหายขาด ยืน 5 ข้อเสนอ ถึง “อนุทิน”แก้ไข ช่วยคนเข้าถึงรักษา
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2565 ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อยื่นข้อเสนอเพื่อให้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงการรักษาทีได้มาตรฐานและทันท่วงที ต้องดำเนินการทุกด้านไปพร้อมกัน ดังนี้
1. การปรับแนวทางกำกับการใช้ยาสูตรรวมเม็ด( Sofosbuvir+Velpatasvir) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยปรับยานี้ ออกจากรายการบัญชียา จ.(2)ไปอยู่ในรายการบัญชียาที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้คล่องตัวมากขึ้น ,ปรับข้อบ่งใช้ยาให้แพทย์ทั่วไปที่ผ่านการอบรมสามารถทำการรักษาได้ โดยให้มีระบบการปรึกษาอายุรแพทย์ทั่วไป หรืออายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร,ตัดกณฑ์การรักษาที่กำหนดให้ ต้องตรวจพบ ปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในเลือดตั้งแต่ 5,000 IU/mL ออก ปรับให้เป็น เมื่อตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในเลือด ก็เข้าเกณฑ์รักษาได้ ,ตัดเกณฑ์ภาวะพังผืดในตับออก ไม่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเข้ารับการรักษา แต่ยังคงการตรวจภาวะพังผืดในตับเพื่อวางแผนการรักษา โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยตับแข็ง
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอยไอวีร่วมด้วย ปรับเป็นกรณีที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ตัดเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา CD4 มากกว่าหรือเท่ากับ 200และ HIV viral load น้อยกว่า 50 ออก ปรับให้เป็น ไม่มีโรคฉวยโอกาส ก็รับการรักษาได้ กรณีไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องมี CD4 มากกว่าหรือเท่ากับ 500 คงใช้ตามเกณฑ์เดิมรวมถึง ขยายอายุผู้ที่มีสิทธิได้รับการรักษา จากเดิม 18-70 ปี ปรับเป็น 18 ปีขึ้นไป ไม่มีกำหนดอายุสูงสุด และตัดคุณสมบัติที่ต้องไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและใช้ยาเสพติด ออกจากข้อห้ามในการรักษา และตัดกณฑ์การรักษาที่ต้องหยุดดื่มแอลกอยอล์ทุกชนิดและต้องงดใช้สารเสพติดทุกชนิดไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
2. พัฒนาระบบบริการให้โรงพยาบาลชุมชนรักษาไวรัสตับอักเสบซีได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาใกล้บ้าน ใกล้ใจ ไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อไปรับการตรวจรักษา ,พัฒนาบุคลากร แพทย์ พยาบาล ภสัชกร และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจและให้การดูแลรักษาไวรัสตับอักเสบซีตามสิทธิประโยชน์ได้ ,จัดทำแนวทางการส่งต่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ขัดเจน ระหว่างโรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลแม่ข่าย และโรงพยาบาลศูนย์ ,จัดระบบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดการส่งตัวผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ,สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การตรวจ, เพิ่มหน่วยตรวจให้มีมากขึ้น และต่อรองราคาค่ตรวจให้มีราคาลดลง ,สนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ และผู้ป่วย เพื่อสร้างความเข้าใจในด้านผู้รับบริการและ การติดตามดูแลต่อเนื่อง
3. จัดหายารักษาที่มีประสิทธิภาพ เท่าทันกับมาตรฐานการรักษาที่ก้าวหน้ามากขึ้น ส่งเสริมให้บริษัทยาชื่อสามัญ ใหมาขึ้นทะเบียนยาในประเทศมากขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคา
และลดการผูกขาดจากบริษัทชื่อสามัญต่างชาติเพียงบริษัทเดียว ต่อรองให้ได้ราคายาที่สมเหตุผลที่สุด 4. กำหนดมาตรฐานการรักษา และการเบิกชดเชยของหน่วยบริการ ทุกกองทุน ทั้งบัตรทอง ประกันสังคมสิทธิข้าราชการ และอื่นๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดปัญหาหน่วยบริการเรียกเก็บเงินเพิ่มจาก และ5.รณรงค์ ประชาสัมพัธ์ ให้ประชาชนเข้าใจ" ไวรัสตับอักเสบชี รักษาได้ หายขาด" และให้รู้สิทธิเพื่อให้เข้าสู่การคัดกรองและรักษาที่เร็วขึ้นผู้รับบริการ
ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เดิมการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้น ยามีราคาแพงหลักแสนบาทต่อคอร์สการรักษา จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์การรักษาไว้ค่อนข้างสูง เช่น ต้องมีการนับจำนวนปริมาณไวรัสตับอักเสบซี หากต่ำกว่า 5,000 ไม่ต้องรักษา แต่ถ้ามากกว่า 5,000 จึงจะได้เข้ารับการรักษา อีกทั้ง กรณีที่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ใช้ยาเสพติด หากโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)จะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปตรวจหาปริมาณไวรัสจะไม่สามารถเบิกค่าตรวจได้ ทำให้รพช.ไม่ส่งตรวจ และการวินิจฉัยและให้ยารักษาจะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ ซึ่งบางจังหวัดมี 1 คน หรือบางจังหวัดไม่มี ก็ต้องส่งต่อข้ามเขตสุขภาพ เป็นต้น
“ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอีกเสบซี เข้าไม่ถึงการรักษา กองอยู่ที่รพช.จำนวนมาก บางแห่ง 10-30 คน แต่หากมีการปรับเกณฑ์ตามข้อเสนอ จะสามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษามากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการปรับยาเป็นแบบเม็ดแล้ว และรับประทานเพียงวันละ 1 เม็ด ต่อเนื่อง 3 เดือนก็จะหายขาด โดยมีราคาต่ำลงมาก ของอภ.เหลือราคา 9,000 บาทต่อคอร์ส สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น จากเดิมที่กว่าจะได้รับการรักษาบางคนก็กลายเป็นมะเร็งตับแล้ว โดยหลังติดเชื้อจะใช้เวลาราว 10ปีจะกลายเป็นมะเร็งหากไม่ได้รับการรักษา ส่วนคนที่ติดไวรัสตับอักเสบซี ร่วมกับไวรัสเอชไอวี โอกาสตับถูกทำลายและเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไป 9 เท่า”นายนิมิตร์กล่าว
พญ.ปฐมพร ศิระประภาศิริ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า จะรับข้อเสนอเพื่อนำเรียนรองนายกฯและรมว.สธ.ต่อไป ซึ่งเท่าที่มีข้อมูลมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทั่วประเทศราว 4 แสนราย ทั้งนี้ ในส่วนของยาสูตรรวมเม็ด ( Sofosbuvir+Velpatasvir) ขณะนี้องค์การเภสัชกรรม(อภ.)สามารถผลิตได้เองแล้ว อยู่ระหว่างการยื่นขึ้นทะเบียนยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และจะเสนอให้กรมการแพทย์ในฐานะกรมวิชาการพิจารณาปรับแนวทางการรักษาเสนอไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ต่อไป