ส่อง "อัตราป่วยตาย" จากโควิด-19 ของไทย หลังผู้ป่วยพุ่ง !
ศบค. รายงาน "สถานการณ์โควิด-19" ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,762,851 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 9,569 ราย ขณะที่ไทยติดเชื้อรายใหม่กว่า 24,932 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 41 ราย ทำให้ขณะนี้ อัตราป่วยไทยอยู่ที่ 40,225 รายต่อล้านประชากร
วันนี้ (25 ก.พ. 65) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงาน สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,762,851 ราย ยอดผู้ติดเชื้อรวม 431,968,632 ราย อาการรุนแรง 78,619 ราย รักษาหายแล้ว 360,903,517 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 9,569 ราย เสียชีวิต 5,947,686 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 80,446,512 ราย
2. อินเดีย จำนวน 42,893,585 ราย
3. บราซิล จำนวน 28,580,995 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 22,534,971 ราย
5. สหราชอาณาจักร จำนวน 18,773,164 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 32 จำนวน 2,819,282 ราย
ไทยติดเชื้อ 24,932 ราย
สำหรับ "สถานการณ์โควิด-19" ในประเทศ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 24,932 ราย แบ่งเป็น ติดเชื้อจากในประเทศ 24,564 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 167 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,819,283 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 41 ราย เสียชีวิตสะสม 22,809 ราย รักษาตัวอยู่ 190,110 ราย อาการหนัก 931 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 254 ราย รักษาตัวหายเพิ่ม 15,774 ราย หายป่วยสะสม 2,606,363 ราย
เด็ก 3 เดือน เสียชีวิต 1 ราย
สำหรับผู้ป่วยโรค โควิด-19 เสียชีวิต ของประเทศไทย รายใหม่ 41 ราย เป็นชาย 20 ราย หญิง 21 ราย ทั้งหมดเป็นชาวไทย ค่ามัธยฐานของอายุ 75 ปี (3 เดือน - 104 ปี) โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 30 ราย คิดเป็น 73% และโรคเรื้อรัง 10 ราย คิดเป็น 24% รวมทั้งสองกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนกว่า 97% นอกจากนี้ ยังพบเด็กอายุ 3 เดือนเสียชีวิต 1 ราย ไม่ระบุโรคประจำตัว
อัตราป่วยไทย 40,225 รายต่อล้านประชากร
สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในทวีปเอเชีย พบว่า ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 22 ขณะเดียวกัน หากดู "อัตราป่วย" ต่อประชากร 1 ล้านคน พบว่า มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร มีอัตราป่วยอยู่ที่ 274,167 ต่อล้านประชากร รองลงมา คือ สหรัฐ 240,714 ต่อล้านประชากร ขณะที่ไทย อยู่ที่ 40,225 ต่อล้านประชากร
สำหรับ "อัตราตาย" พบว่า สหรัฐ มีอัตราตายกว่า 2,901 ต่อล้านประชากร รองลงมา สหราชอาณาจัก 2,353 ต่อล้านประชากร ขณะที่ ประเทศไทย อัตราตายอยู่ที่ 325 ต่อล้านประชากร
ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 122 ล้านราย
สรุปผลการฉีด "วัคซีนโควิด-19" จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 24 ก.พ. 2565) รวม 122,779,134 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,357,481 ราย
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,622,858 ราย
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 19,798,795 ราย
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 305,763 โดส
- เข็มที่ 1 : 74,894 ราย
- เข็มที่ 2 : 39,874 ราย
- เข็มที่ 3 : 190,995 ราย
สูงวัยฉีดวัคซีนเข็ม 3 ครอบคลุม 29.1%
ผลการให้บริการ วัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก เดือน กุมภาพันธ์ ได้แก่
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย
- เข็ม 1 ครอบคลุม 82.8%
- เข็ม 2 ครอบคลุม 78.3%
- เข็ม 3 ครอบคลุม 29.1%
กลุ่มเด็ก 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย
- เข็ม 1 ครอบคลุม 10.6%
- เข็ม 2 ครอบคลุม 0.3%
เข้าประเทศ ก.พ. ติดเชื้อ 4,013 ราย
จำนวนเดินทางมาจากต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1-24 ก.พ. 65 สะสม 165,753 ราย ติดเชื้อ 4,013 ราย จำแนกตามประเทศ ได้แก่
ระบบ Test & Go เดินทางเข้า 105,803 ราย ติดเชื้อ 1,233 ราย (1.17%)
ระบบแซนด์บ็อกซ์ เดินทางเข้า 51,788 ราย ติดเชื้อ 2,629 ราย (5,08%)
ระบบกักตัว เดินทางเข้า 8,162 ราย ติดเชื้อ 241 ราย (2.95%)