เปิดประสิทธิผลวัคซีนโควิดเข็ม3-4 ต่อสายพันธุ์โอมิครอน
สธ.เปิดประสิทธิผลวัคซีนโควิด19ต่อสายพันธุ์โอมิครอน เข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อได้ 56 % ป้องกันเสียชีวิต 87 % ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อ ระบุยอดเสียชีวิตระลอกโอมิครอน 96 % ไม่ได้วัคซีนเข็ม 3
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด19 ประเด็น “ประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริงในการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน” นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้เสียชีวิตตรวจพบโควิด19 ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-19 มี.ค.2565 จำนวน 2,464 ราย อายมีค่ากลางอยู่ที่ 73 ปี อายุน้อยสุด 3 เดือนและมากทสุด 107 ปี มีผู้เสียชีวิตที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย
ในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวมีโรคประจำตัว 2,135 ราย ปฏิเสะโรคประจำตัว 90 รายและไม่ระบุ 239 ราย โดยโรคประจำตัวที่เจอมากสุด คือ ความดันโลหิตสูง 1,157 ราย เบาหวาน 748 ราย ไขมันในเลือดสูง158 ราย โรคไตเรื้อรัง 440 ราย โรคมะเร็ง 130 ราย โรคอ้วน 188 ราย ภาวะอุดกั้นปอดเรื้อรัง 114 และหอบหืด 54 ราย
ส่วนประวัติวัคซีนของผู้เสียชีวิต พบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีน 57 % ฉีด 2 เข็มมีประมาณ 31% ฉีด 1 เข็ม 8 % และฉีด 3 เข็ม 4 % ซึ่งการฉีดวัคซีนวงกว้าง บางคนมีโรคประจำตัว หรือมีเหตุอย่างอื่น วัคซีนก็ไม่ได้ป้องกันเสียชีวิตเต็ม 100% แต่ถือว่าป้องกันการเสียชีวิตได้มาก
นพ.เฉวตสรร กล่าวด้วยว่า การประเมินประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริง ระยะที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ คณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 และคณะทำงานวิชาการ ข้อมู, ระวันที่ 21 มี.ค.2565
ผลเบื้องต้นการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 จ.เชียงใหม่ เดือนม.ค.และก.พ.2565
ป้องกันการติดเชื้อ
2 เข็ม ม.ค.2565 ไม่ป้องกัน ก.พ.2565 ไม่ป้องกัน
3 เข็ม ม.ค.2565 ป้องกันการติดเชื้อ 68 % ก.พ.2565 ป้องกันการติดเชื้อ 45 %
4 เข็ม ก.พ.2565 ป้องกันการติดเชื้อ 82 %
ป้องกันเสียชีวิต
ฉีดด2เข็ม ม.ค.2565 ป้องกันเสียชีวิต 93 % ก.พ.2565 ป้องกันเสียชีวิต 85 %
ฉีด3 เข็ม ม.ค.2565 ป้องกันเสียชีวิต 98% ก.พ.2565 ป้องกันเสียชีวิต 98 %
ฉีด 4 เข็มยังไม่มีผู้เสียชีวิตในผู้ที่ได้วัคซีน 4เข็ม
ผลเบื้องต้นการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงระดับประเทศ ของเดือน ม.ค.2565 พบว่า
ป้องกันการติดเชื้อ
ฉีด 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 4.1%
ฉีด 3 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 56 %
ฉีด 4 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 84.7%
ป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต
ฉีด 2 เข็ม ป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต 54.8 %
ฉีด 3 เข็ม ป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต 88.1 %
ป้องกันการเสียชีวิต
ฉีด 2 เข็ม ป้องกันการเสียชีวิต 79.2 %
ฉีด 2 เข็ม ป้องกันการเสียชีวิต 87 %
"การฉีดวัคซีนเข็ม 3 จึงป้องกันการเสียชีวิตได้มาก ประชาชนอาจมีข้อสงสัยลังเล หรือไม่แน่ใจว่า ควรแนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโควิดในผู้สูงอายุหรือไม่นั้น มี 50-60% ของผู้เสียชีวิตที่พลาดโอกาสการรับวัคซีน ส่วนเรื่องความเชื่อที่ว่าผู้สูงอายุอยู่บ้าน ไม่ไปไหนคงไม่เสี่ยง แต่ความจริง การระบาดระลอกปัจจุบันประมาณ 80% ของผู้เสียชีวิต คือ ผู้สูงอายุ ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 60% ไม่ได้ฉีดวัคซีน และ 29% ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น และข้อสงสัยว่า ญาติอายุมากแล้วฉีดวัคซีนจะอันตรายหรือไม่นั้น ไทยฉีดไปแล้วมากกว่า 120 ล้านโดส ยืนยันได้ว่าปลอดภัย ซึ่งหากฉีดแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ ก็มีระบบในการดูแลเช่นกัน”นพ.เฉวตสรรกล่าว