พิษณุโลก เตรียมรับมือการระบาดไวรัส covid-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์
ผู้ว่าฯ พิษณุโลก เตรียมรณรงค์ ผู้สูงอายุรับการฉีดวัคซีน เข็ม 3 ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ ทีมอาจารย์ ม.นเรศวร ได้ตรวจเศษซากเชื้อในน้ำเสียชุมชน เพื่อเตือนภัยล่วงหน้า การระบาดของ covid 19 คาดว่าการระบาดจะลดลง เนื่องจากผลการเก็บตัวอย่างหาซากโควิดในท่อน้ำเสียลดลง
เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ที่ห้องประชุมดิ อัยรารินทร์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในการแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำเดือนมีนาคม ถึงสถานการณ์และมาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ว่า โดยภาพรวมของจังหวัดพิษณุโลกไม่มีปัญหาผู้ติดเชื้อไม่มีเตียง ไม่มีโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษา ขณะที่ประชาชนที่ป่วยโควิด 19 มีความเข้าใจรับผิดชอบสังคมเมื่อป่วยมีการแจ้ง และผู้ไม่รุนแรงมีกักตัวรักษาอยู่ภายในบ้านอย่างเคร่งครัด ทำให้พื้นที่จังหวัดพิษณุโลกการระบาดสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ทำให้พื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกกำลังจะมีการเปลี่ยนเป็นสีส้มในวันที่ 1 เมษายนนี้แล้ว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้มีมาตรการในการควบคุมป้องกัน ผลกระทบในร้านค้าที่มีการจำหน่ายและดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้มีการควบคุมเวลาปิดในเวลา 23.00 น. และห้ามดื่มแอลกอฮอร์ร้าน ส่วนพื้นที่ที่จะมีการรวมกลุ่มจุดงาน ประชุมสัมมนา ก็มีการจำกัดจำนวนคนจาก 1,000 คน ลดเหลือเพียง 500 คน การให้บริการต่างๆในห้างสรรพสินค้า มีการควบคุมดูแลอย่างดี
นอกจากนี้ได้มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในช่วงดังกล่าวบรรดาลูกหลานจะเดินทางกลับมารดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ในภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุได้นั้น ซึ่งในเรื่องนี้ทางจังหวัดพิษณุโลก ได้มีการเน้นย้ำไปยังสาธารณสุขและโรงพยาบาลชุมชน (รพ.สต.)ตลอดจน อสม. ให้มีการตรวจเช็คดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ พร้อมกันนี้จะมีการรณรงค์เชิญผู้สูงอายุมาฉีดวัคซีนให้ได้ 3 เข็ม โดยจะรณรงค์ในวันที่ 6 เมษายนนี้
ด้าน ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่างในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าซากเชื้อ ในน้ำเสียของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบเชื้อลดลงแล้ว ในหลายพื้นที่ ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า สำหรับการตรวจซากเชื้อจากน้ำเสียตามจุดต่างๆของเมือง ทำให้เราสามารถประเมินล่วงหน้า เพื่อเตรียมรองรับ การแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่จะระบาดจนมีผู้ป่วยได้ล่วงหน้า อย่างน้อย 10 วัน สำหรับเชื้อโอมิคอน ซึ่งจากการรู้ผลล่วงหน้าจะทำให้สามารถควบคุมการระบาดของผู้ป่วยได้ลดลงอย่างมาก ซึ่งการควบคุมดังกล่าวทำให้เป็นผลดี ต่อภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก