ศบค. เผย "เสียชีวิตจากโควิด" 82 ราย กว่า 46 ราย "ไม่ได้ฉีดวัคซีน"

ศบค. เผย "เสียชีวิตจากโควิด" 82 ราย กว่า 46 ราย "ไม่ได้ฉีดวัคซีน"

ศบค. รายงาน "สถานการณ์โควิด-19" พบผู้ป่วยรายใหม่ 27,024 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 82 ราย ในจำนวนนี้กว่า 46 รายไม่ได้ฉีดวัคซีน อีก 16 ราย ฉีดครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น และอีก 6 ราย เพิ่งได้รับเข็มกระตุ้นเข็ม 3

วันนี้ (24 มี.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงาน “สถานการณ์โควิด-19” ในประเทศไทย ติดเชื้อรายใหม่ 27,024 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อในประเทศ 26,924 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 46 ราย ติดเชื้อจากเรือนจำ 54 ราย ติดเชื้อสะสม 3,450,980 ราย รักษาตัวอยู่ 240,349 ราย อาการหนัก 1,553 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 583 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 82 ราย เสียชีวิตสะสม 24,579 ราย หายป่วยเพิ่ม 23,721 ราย

 

"สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือ ผู้ที่มีอาการหนัก และเสียชีวิต ต้องเทียบเคียงกับระบบสาธารณสุขที่จะรองรับดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้"

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

 

ศบค. ห่วงคลัสเตอร์ บุคลากรทางการแพทย์

 

สำหรับรายงาน จังหวัดติดเชื้อ โควิด-19 สูงสุด อันดับ 1 ยังได้แก่ กทม. 3,722 ราย รองลงมา คือ นครศรีธรรมราช ชลบุรี สมุทรปราการ สงขลา สมุทรสาคร ร้อยเอ็ด ระยอง ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ตามลำดับ

 

ทั้งนี้ คลัสเตอร์ ที่ทาง ศบค. มีความกังวล คือ บุคลากรสาธารณสุข มีรายงานใน กทม. ได้แก่ รพ.ศิริราช , รพ.กรุงเทพคริสเตียน , รพ.พระราม 9 ขณะที่ คลัสเตอร์โรงเรียน สถานศึกษา สถานประกอบการ โรงงาน น้อยลงชัดเจน ขณะที่ คลัสเตอร์ที่ยังพบต่อเนื่อง คือ พิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นมหาสารคาม งานบวช งานบุญแจกข้าว อ.นาดูน , งานแต่งงาน อุดรธานี

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

สงขลา "ครองเตียง" น่าห่วง

 

สำหรับอัตราครองเตียง หากดูจังหวัดติดเชื้อ 1-10 พบว่า ทั้งประเทศ ที่มีอัตราครองเตียงระดับ 2-3 ในเกณฑ์ที่พอรองรับได้ ทั้งประเทศ มีผู้ป่วยครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 26.4% ถือว่ามีเตียงที่สามารถเพิ่มศักยภาพรองรับผู้ป่วยระดับ 2-3 ได้ราว 70% 

 

จังหวัดที่อัตราครองเตียงน่าห่วง คือ “สงขลา” ตอนนี้มีการครองเตียงที่ 58.4% ถือว่าใช้ไปเกินครึ่ง ขณะที่ กทม. ระดับครองเตียง อยู่ที่ 32.3% ขณะที่ นครศรีธรรมราช และบุรีรัมย์ ถือว่าอัตราครองเตียงค่อนข้างต่ำ แม้จะมีการรายงานผู้ติดเชื้อไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อแข็งแรง อายุน้อย อาการไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้าน รพ.สนาม หรือ Community isolation ได้

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

 

เสียชีวิต 46 ราย ไม่ได้รับวัคซีน

 

รายละเอียดผู้เสียชีวิต 82 ราย กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสกลายเป็นผู้ติดเชื้ออาการรุนแรง เสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปี มีโรคประจำตัว และเน้นย้ำการได้รับวัคซีน โดยผู้เสียชีวิต 82 ราย มีกว่า 46 ราย ไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มที่ 1 และ 6 รายเพิ่งได้รับวัคซีนเข็ม 1 ไม่นาน ทำให้มีการติดเชื้อและเสียชีวิต และ 16 ราย ที่รับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น

 

ขณะที่ อีก 6 รายที่เพิ่งได้รับเข็มกระตุ้นเข็ม 3 แต่อาจจะไม่นานพอที่จะทำให้มีภูมิต่อสู้กับโรค ที่สำคัญ คือ กลุ่มเสี่ยง 6 รายที่ได้รับเข็มกระตุ้นเข็ม 3 มีโรคประจำตัวทุกราย สิ่งสำคัญ ช่วงนี้กลุ่มเสี่ยงสูงอายุ โรคประจำตัว ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ให้พากลุ่มเหล่านี้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

ไทยฉีดวัคซีน เข็ม 3 สะสม 32.6%

 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 22 มี.ค. 2565) รวม 127,658,569 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 54,972,110 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,143,878 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 22,542,581 ราย

 

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 22 มีนาคม 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 169,542 โดส

  • เข็มที่ 1 : 59,350 ราย
  • เข็มที่ 2 : 16,865 ราย
  • เข็มที่ 3 : 93,327 ราย

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

 

เขต 8 และ 12 ฉีดเข็ม 3 ยังน้อย

 

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อไปว่า การฉีดวัคซีนเข็ม 3 ของไทย เรียกว่ายังไม่ขยับเท่าที่ควรอยู่ที่ 32.6% หากแยกตามเขตสุขภาพ พบว่า เขตที่ได้รับเข็ม 3 ค่อนข้างน้อย ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ และ ในเขตสุขภาพที่ 12 ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขณะที่ กทม. เขตสุขภาพที่ 13 มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นค่อนข้างสูงเป็นไปตามแผน

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

 

สูงวัยฉีดเข็ม 3 ครอบคลุม 33.6%

 

ผลการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก เดือนมีนาคม 2565 ดังนี้

กลุ่มสูงวัย 60 ปี ขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย

  • เข็มที่ 1 ครอบคลุม 83.4%
  • เข็มที่ 2 ครอบคลุม 79.0%
  • เข็มที่ 3 ครอบคลุม 33.6%

 

กลุ่มอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย

  • เข็มที่ 1 ครอบคลุม 36.1%
  • เข็มที่ 2 ครอบคลุม 0.6%

 

ศบค. เผย \"เสียชีวิตจากโควิด\" 82 ราย กว่า 46 ราย \"ไม่ได้ฉีดวัคซีน\"

 

“ทั้งนี้ กลุ่ม 608 ทั้งประเทศมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่ถึง 30% ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน ไขมัน ปอด และหญิงตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์”

 

“สำหรับเด็กในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายโรงเรียนมีการจัดการเด็กติดเชื้อที่เหมาะสมมากขึ้น ไม่ค่อยพบเห็นคลัสเตอร์โรงเรียน ที่ต้องปิดโรงเรียนมาสักระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ฉีดวัคซีนให้บุคลากร ครู กำหนดการคัดกรองเด็ก เมื่อมีเด็ก ครู ผู้ปกครองติดเชื้อ ต้องขอชื่นชมแต่ละโรงเรียนที่มีแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสม ไม่ค่อยเห็นข่าวการปิดโรงเรียนมากนัก”

 

ห้องสอบพิเศษ สำหรับเด็กติดโควิด

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ ที่ประชุม ศบค. ชุดเล็ก ทางกระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอโครงการห้องเรียนพิเศษ มีการให้ความช่วยเหลือเด็กติดเชื้อเพื่อไม่ให้เสียสิทธิการสอบ และพัฒนาการ ที่ผ่านมามีการสอบทั่วประเทศทั้งระดับ ม.1 และ ม.4 รวมแล้วกว่า 317 โรงเรียน ผู้สมัครระดับ ม.1 และ ม.4 ทั้งสิ้น 124,478 ราย ในจำนวนนี้ มีเด็กติดเชื้อ 1,205 ราย และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจจะกลายเป็นผู้ติดเชื้อ 1,180 ราย หากตัดสิทธิไม่ให้เข้าสอบ ถือว่าเสียโอกาส โดยโรงเรียนมีการจัดการสอบเฉพาะและมีแพทย์ดูแลเด็กๆ ด้วย

ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ในช่วง 12 – 15 มีนาคม ที่ผ่านมา มีการจัดสนามสอบทั่วประเทศ สำหรับเด็กที่ต้องเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย รวมแล้วมี 32 สนามสอบ เด็กเข้าสอบ 389,674 ราย เด็กติดเชื้อ 3,232 ราย คิดเป็น 0.8% โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสนามสอบที่ใหญ่ที่สุด มีเด็กติดเชื้อที่เข้าร่วมสอบ 525 ราย รวมทั้งผู้ที่ประวัติเสี่ยงสูง 70 ราย

 

สงกรานต์ปลอดภัย

 

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงปิดเทอม ศบค. ชุดเล็กมีความเป็นห่วง เทศกาลสงกรานต์ หลายครอบครัววางแผนพาเด็กเดินทางท่องเที่ยว พบญาติผู้ใหญ่ พบปะ สังสรรค์ ผู้ใหญ่ที่มีความเคารพ ที่ประชุม ศบค. หารือหลักการอยู่ร่วมกับโควิด สงกรานต์ปีนี้ จัดได้ แต่หากจะเดินทางข้ามพื้นที่พบปะสังสรรค์ ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดำรงวัฒนธรรมประเพณีได้ อยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุข

 

"ในบางประเทศที่ยกเว้นมาตรการต่างๆ รวมถึงยกเลิกการสวมหน้ากากอนามัย เขาทำโดยยอมรับความเสี่ยง หากเราจะทำโดยช่วยกันประคับประคองความเสี่ยง รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามไว้ด้วย ต้องศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจเดินทาง"

 

สิ่งที่กระทรวงวัฒนธรรมขอความร่วมมือ คือ ห้ามการละเล่นที่ใกล้ชิด งดการสาดน้ำ ปะแป้ง งดจัดปาร์ตี้โฟม ไม่ให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณพื้นที่จัดงาน ท้องถนน งดจำหน่ายแอลกอฮอล์

 

“หากพี่น้องประชาชนตั้งใจเดินทาง ขอให้เช็กเอกสาร ไม่ว่าจะสนามบิน รถบัส อาจจะขอตรวจเอกสารการฉีดวัคซีน หรือ แสดงผลการตรวจ ATK ต้องเตรียมการให้พร้อม ระหว่างเดินทางขอให้ระมัดระวังเพื่อนร่วมทางด้วย เลี่ยงรับประทานอาหารร่วมกันในพื้นที่ปิดเป็นเวลานาน ขอให้รักษามาตรการสาธารณสุข และเน้นย้ำเป็นพิเศษ คือ ผู้สูงอายุ ภายในบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ผู้มีโรคประจำตัว ไปเยี่ยมท่านได้แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ท้ายนี้ เพื่อป้องกันให้ผู้สูงอายุปลอดภัย ก่อนถึงเทศกาล พาท่านไปฉีดวัคซีน รวมทั้ง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ ก่อนถึงวันสงกรานต์ขอให้รณรงค์ให้คนเหล่านี้ไปฉีดวัคซีน” ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าว