รู้จัก "POLAR VORTEX" ที่ถูกอ้างถึงกับปรากฏการณ์ "เย็นวูบวาบ" ของไทย

รู้จัก "POLAR VORTEX" ที่ถูกอ้างถึงกับปรากฏการณ์ "เย็นวูบวาบ" ของไทย

ทำความรู้จักปรากฎการณ์ "Polar Vortex" (โพลาร์ วอร์เท็กซ์) ที่ถูกอ้างถึงเพื่ออธิบายสภาวะ "อากาศหนาว" แบบทันทีทันใดใน "หน้าร้อน" ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย

ปรากฏการณ์ "อุณหภูมิลด" "อากาศหนาว" ในช่วง "เดือน เม.ย." ที่เรียกได้ว่าเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของไทย แม้จะช่วยคลายร้อนไปได้บ้างแต่นี่อาจไม่ใช่สัญญาณที่ดีนัก หากมันเกิดจากสัญญาณสภาวะแปรปรวนที่เรียกว่า "Polar Vortex" ที่ผู้รู้บางท่านให้ข้อมูลไว้ว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกันกับสภาพอากาศแปรปรวนในบ้านเราตอนนี้

แม้จะยังไม่มีนักวิชาการ หรือ กรมอุตุนิยมวิทยาออกมายืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ แต่ประเด็น Polar Vortex ก็ยังมีความสำคัญที่เราควรจะทำความรู้จักกันไว้

ข่าวอัปเดต : "อุณหภูมิ" ลดฮวบเดือนเมษายน กรมอุตุฯ แจง ไม่เกี่ยวกับ "Polar Vortex"

Greenpeace และ National Oceanic and Atmospheric Administration, U.S. Department of Commerce) หรือ NOAA อธิบาย Polar Vortex (โพลาร์ วอร์เท็กซ์) ไว้ว่า คือหนึ่งในปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผลกระทบที่เกิดการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น อุณภูมิของน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น จนกระทั่งนำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และกระแสลมวนที่เรียกว่าโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่ไม่สมดุล ได้พัดพาเอาอากาศที่เย็นจากน้ำแข็งที่ละลายไปยังภูมิภาคอื่นของโลกด้วย

พูดง่ายๆ คือปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่อาจทำให้กรุงเทพฯ หนาว เวียดนามหิมะตก จีนหนาวสุดขั้ว ได้เลยทีเดียว 

  •  Polar Vortex เกิดขึ้นได้อย่างไร ? 

โพลาร์ วอร์เท็กซ์ หรือลมวนขั้วโลกนั้น เป็นกระแสลมที่มีความรุนแรงหมุนทวนเข็มนาฬิกาวนรอบเหนืออาร์กติกราว 50 กิโลเมตร และมีบทบาทในการเก็บรักษาลมเย็นไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติก และไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา

กระแสลมนี้ไม่ใช่พายุแต่อย่างใด แต่เป็นเสมือนอาณาเขตกั้นระหว่างอากาศเย็นเยือกแข็งของอาร์กติกและอากาศอุ่นรอบแลติจูดกลางไม่ให้เล็ดลอดไปหากัน นั่นคือสภาพปกติของโพลาร์ วอร์เท็กซ์

แต่หากมีอะไรทำให้สมดุลของระบบกระแสลมนี้เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการลดความแข็งแกร่งของกระแสลม เปลี่ยนทิศทางลม หรือทำให้กระแสลมแตกเป็นหลายสาย จะทำให้อุณหภูมิของภูมิภาคอาร์กติกสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่อื่นของโลกได้รับอิทธิพลจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่แปรปรวน ก็คือมีอุณหภูมิต่ำลง

ช่วงหลายปีมานี้ผลกระทบจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่ไม่สมดุลเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น อาจจะตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา (Pierre-Louis, New York Times, 2019) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กระแสลมโพลาร์ วอร์เท็กซ์มีภาวะไม่สมดุล แตกเป็นหลายสาย ทำให้อุณหภูมิหนาวเย็นของอาร์กติกหลุดลอดออกมา เช่นเดียวกับที่อากาศร้อนหลุดเข้าไปที่อาร์กติก

นักวิทยาศาสตร์ จึงตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงระหว่าง "วิกฤติโลกร้อน" กับ "โพลาร์ วอร์เท็กซ์" ว่าต่อจากนี้ไป อาร์กติกที่อุ่นขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงมากขึ้น เช่น ฤดูหนาวสั้นลง พายุถี่และทวีความรุนแรงขึ้น 

สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่เพียงแค่ในอาร์กติก สาเหตุที่ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นกับอาร์กติกจะกระทบถึงโลกทั้งใบได้ นั่นก็เพราะอาร์กติกทำหน้าที่เสมือนเครื่องปรับอากาศของโลก คอยรักษาความเย็นและสมดุลของสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งใบไว้ น้ำแข็งสีขาวของอาร์กติกทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ

เมื่อสภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกและน้ำทะเลสูงขึ้น อาร์กติกที่ละลายแทนที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป แต่ยิ่งดูดซับไว้ด้วยสีเข้มของมหาสมุทร วัฏจักรวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะยิ่งยากที่จะย้อนกลับหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ลดลง และน้ำแข็งขั้วโลกเหลือน้อยลงเรื่อยๆ 

 

รู้จัก \"POLAR VORTEX\" ที่ถูกอ้างถึงกับปรากฏการณ์ \"เย็นวูบวาบ\" ของไทย

  •  Polar Vortex กำลังบอกอะไร ? 

เหตุการณ์นี้สะท้อนว่า เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่แค่ในอาร์กติกอีกต่อไป ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นกับอาร์กติกจะกระทบถึงโลกทั้งใบได้เช่นกัน เพราะอาร์กติกทำหน้าที่เสมือนเครื่องปรับอากาศของโลก คอยรักษาความเย็นและสมดุลของสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งใบไว้ ที่ผ่านมาน้ำแข็งสีขาวของอาร์กติกทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ

แต่เมื่อสภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกและน้ำทะเลสูงขึ้น อาร์กติกที่ละลายแทนที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป แต่ยิ่งดูดซับไว้ด้วยสีเข้มของมหาสมุทร วัฏจักรวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะยิ่งยากที่จะย้อนกลับหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ลดลง และน้ำแข็งขั้วโลกเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ 

เมื่อปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนไปของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ก็ทำให้คนที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตรสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่แปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ โลกอาจกำลังบอกว่ากิจกรรมของมนุษย์มีผลอย่างใหญ่หลวงต่อความสมดุลของโลก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต่กระทบต่ออาร์กติกที่เป็นเครื่องปรับอากาศของโลกนี้

ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้สะท้อนว่าผลกระทบที่เกิดจากการสะสมการใช้งานโลกในนี้ของมนุษย์เริ่มเด่นชัดขึ้น และรุนแรงขึ้นได้ไม่ยากในอนาคต (อันใกล้)

------------------------------------

อ้างอิง: greenpeaceNoaa