มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

มบส.เดินหน้าปั้นนักศึกษาออกเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานเขียนข่าว ทำคลิป เผยแพร่ภาพลักษณ์ให้มหาวิทยาลัย พร้อมจับมือสื่อมวลชนติดอาวุธให้นักศึกษา

ผศ.ดร.พิษณุ  บางเขียว  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวถึงโครงการพัฒนาระบบการสื่อสารสู่การเป็น Smart University ประจำปีงบประมาณ  2565 ครั้งที่ 1 หรือ “กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์”ให้แก่นักศึกษา เพื่อเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ มบส. ว่

ในยุคปัจจุบันนักศึกษามีเครื่องมือสื่อสารอยู่กับตัวตลอด คือ สมาร์ทโฟน  เพราะฉะนั้นถ้ามหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของทางมหาวิทยาลัย

มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

โดยผ่านเครื่องมือสื่อสารที่มีอยู่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย และการให้ความรู้เรื่องการเป็นนักสื่อสารหรือนักข่าวก็น่าจะทำได้  เพราะตอนนี้เราก็ทราบกันดีว่าทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ 

ดังนั้น การจัดอบรมให้แก่นักศึกษาก็น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษาและมหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้มีการจัดอบรมครั้งที่ 1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สื่อข่าวให้แก่นักศึกษาไปแล้ว  โดยผ่านระบบออนไลน์

นักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรมเป็นจำนวนมากพอสมควร   และหลังจากการอบรมเราก็จะต้องมีการติดตามและประเมินผลว่ามหาวิทยาลัยจะได้ประโยชน์อะไรจากการอบรมให้แก่นักศึกษาในครั้งนี้บ้าง และจะต้องมีการขยายผลต่อไป

มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.พิษณุ  กล่าวต่อไปว่า  มหาวิทยาลัยจัดอบรมให้นักศึกษา 1 วัน โดยช่วงเช้าได้เชิญวิทยากรจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า เพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับคอนเทนต์ การเขียนข่าว  การจับประเด็นข่าวที่จะนำเสนอและเทคนิคต่าง ๆ

เพราะเรื่องการประชาสัมพันธ์และการส่งข่าวนั้นถ้าเป็นข่าวปกติทั่วไปจะมีสื่อกระแสหลักที่อาจจะมีทั้งข่าวที่เป็นไปในเชิงบวกหรือลบก็ได้ แต่ในส่วนของนักศึกษาที่เป็นกระบอกเสียงที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักคงจะต้องเน้นข่าวเชิงบวกและข่าวสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย


ส่วนช่วงบ่ายเป็นวิทยากรจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่มาให้ความรู้ทางด้านเทคนิคต่าง ๆในการทำคลิป การตัดต่อ โดยเฉพาะการถ่ายคลิปในสมาร์ทโฟนเพื่อส่งข่าว ทั้งนี้ เชื่อว่านักศึกษาทุกคนมีสมาร์ทโฟนและเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอข่าวได้ด้วย

ถ้าให้ความรู้ทางด้านเทคนิค การทำคอนเทนต์ การจับประเด็น  การทำคลิป การตัดต่อภาพ  เชื่อว่านักศึกษาก็น่าจะได้ประโยชน์มาก  เพราะได้รับความรู้จากผู้สื่อข่าว ที่ได้ออกไปทำงานและมีประสบการณ์การตรงในภาคสนาม

“การเป็นนักข่าวเป็นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคนเป็นนักข่าวได้  แต่ที่สำคัญมากก่อนจะนำเสนอข่าวจะต้องมีการสังเคราะห์และกลั่นกรองให้ดี  ที่เน้นย้ำเรื่องการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย” ผศ.ดร.พิษณุ กล่าว

มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน เด็กของเราที่อยู่ต่างจังหวัดก็มีเยอะ และช่วงนี้มาเจอสถานการณ์โควิด ทำให้การเรียนการสอน เน้นออนไลน์ ถ้าเด็กอยู่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่และเห็นว่ามีอะไรที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสามารถเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องได้ ก็สามารถสื่อสารออกมาเป็นข่าว  ซึ่งก็จะช่วยมหาวิทยาลัยได้มาก  

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นอาจจะให้เด็กที่เข้าไปร่วมกิจกรรมโดยตรงกับมหาวิทยาลัย อย่างเช่น การลงพื้นที่ชุมชนของมหาวิทยาลัย จะให้เด็กเหล่านี้ได้ทำข่าวเพื่อนำมาลงเผยแพร่ในโซเซียลต่าง ๆของมหาวิทยาลัยก่อน

ถ้ามั่นใจว่าเด็กทำข่าวได้แล้วก็อาจจะให้ส่งข่าวไปตามสื่อต่างๆได้  เห็นว่าถ้าใน 1 คณะหรือสาขามีคนเขียนข่าวและส่งข่าวได้ 1-2 คนก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว และจะเกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัยอย่างมาก

น.ส.ฟ้ารุ่ง ศรีแดง หรือ มายด์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3  สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการจัดการ  มบส. กล่าวว่า   มายด์เข้าอบรมทั้งวันทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างมากในการเขียนข่าว  และน่าจะนำมาใช้ในการเรียนได้ด้วย เพราะมายด์เรียนทางด้านสื่อสารมวลชนอยู่แล้ว

ในการอบรมทำให้รู้เทคนิคการเขียนข่าว การจับประเด็น การผลิตสื่อต่าง ๆว่าจะทำอย่างไรให้น่าสนใจ ตรงกลุ่มเป้าหมาย  และที่ประทับใจวิทยากรมีอุดมคติที่ดีมากที่ว่าการนำเสนอข่าวจะต้องทำให้สังคมดีขึ้นด้วย และต้องมีการกลั่นกรองข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปั่นป่วนในสังคม  

มบส.ปั้นนักสื่อสารสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มหาวิทยาลัย

ด้านนายภูรินทร์ อัศวธีระเกียรติ์  หรือ ปลาย นักศึกษาชั้นปีที่  3 สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการจัดการ  มบส. กล่าวว่า โครงการนี้ดีมากทำให้ปลายและเพื่อน ๆ ได้รับความรู้จากพี่นักข่าวที่มีประสบการณ์ตรงในการทำข่าว หรือลงทำข่าวภาคสนาม

สามารถนำความรู้จากการอบรมมาใช้ประโยชน์ในการเรียน และในอนาคตได้ด้วย  เช่น การเขียนข่าว การจับประเด็น  เทคนิคที่น่าสนใจ การตัดต่อ การทำคลิปให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ