ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ "โควิด-19" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ "โควิด-19" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

ประเทศไทย เตรียมเปลี่ยนผ่าน "โควิด-19" สู่ Post-Pandemic หรือ ระยะหลังการระบาดใหญ่ พร้อมกับมีการผ่อนคลายทั้งการจัดซื้อ จ่ายยาโควิด-19 และวางกรอบแนวปฏิบัติ ด้านการรักษา สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ

หลังจากที่ วานนี้ (19 ส.ค. 65) ที่ประชุม ศบค. ได้มีการหารือในการจัดทำกรอบนโยบายแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post-Pandemic หรือ ระยะหลังการระบาดใหญ่ โดยมีการผ่อนคลายทั้งการจัดซื้อยา จ่ายยาโควิด-19 และหารือ กรอบแนวปฏิบัติ ด้านการรักษา เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับโควิดได้อย่างปลอดภัย 

 

ทั่วโลกติดเชื้อรายใหม่ 743,075 ราย


เมื่อดูข้อมูลการติดเชื้อในวันนี้ (20 ส.ค. 65) พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก 

  • ติดเชื้อรายใหม่ 743,075 ราย
  • ยอดผู้ติดเชื้อรวม 599,700,821 ราย
  • อาการรุนแรง 44,063 ราย
  • รักษาหายแล้ว 573,710,537 ราย
  • เสียชีวิต 6,469,464 ราย

 

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด

 

1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 95,324,830 ราย

2. อินเดีย จำนวน 44,325,136 ราย

3. ฝรั่งเศส จำนวน 34,319,922 ราย

4. บราซิล จำนวน 34,264,237 ราย

5. เยอรมนี จำนวน 31,771,884 ราย

 

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 4,632,212 ราย

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

ไทยติดเชื้อ รักษาตัวใน รพ. 1,902 ราย

 

สำหรับ สถานการณ์ในประเทศไทย วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 11.30 น. ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 พบว่า 

  • ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,902 ราย
  • ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,408,777 ราย
  • หายป่วยแล้ว 2,411,783 ราย
  • เสียชีวิตรายใหม่ 29 ราย 
  • เสียชีวิตสะสม 10,302 ราย
  • รักษาตัวอยู่ 19,935 ราย
  • อาการหนัก 873 ราย 
  • ใส่ท่อช่วยหายใจ 441 ราย 

 

โดยผู้เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 29 ราย ทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และโรคเรื้อรัง 100% อายุระหว่าง 55 - 95 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ มะเร็ง โรคไต อ้วน หลอดเลือดสมอง หัวใจ และติดเตียง

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

ฉีดวัคซีนเข็ม 3 สะสม 31 ล้านโดส 

 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 19 ส.ค. 2565) รวม 142,363,254 โดส ใน 77 จังหวัด  แบ่งเป็น 

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,212,520 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,637,001 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,513,733 ราย

 

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 19 สิงหาคม 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 38,846 โดส

  • เข็มที่ 1 : 3,982 ราย
  • เข็มที่ 2 : 9,455 ราย
  • เข็มที่ 3 : 25,409 ราย

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

ประเมินความเสี่ยงด้านการป้องกัน 

 

ขณะนี้ ทั่วโลกยังมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ระบาด เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว แต่จำนวนผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1/2 และเดลต้า

 

ผลการสำรวจภูมิต้านทานในประชาชนไทย เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 พบว่า ประชาชน มากกว่าร้อยละ 90 ตรวจพบภูมิต้านทานต่อ Spike protein (anti-S) หรือ Nucleocapsid protein (anti-N) แล้ว

ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนใช้จริงในไทย พบว่าการฉีด 3 เข็มขึ้นไปในทุกสูตร สามารถป้องกันการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตสูงมากกว่า 90% และต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำ

 

คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะมีลักษณะการเกิดโรคในประชากรจะคล้ายคลึงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่อาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา โดยการป่วยที่รุนแรงเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคร่วม (กลุ่ม608) ที่รับวัคซีนไม่ครบ

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

ผ่อนคลายการจัดซื้อ จ่ายยาโควิด

 

สำหรับ ด้านยารักษาโควิด-19 มีการผ่อนคลายการจัดซื้อ จ่ายยารักษาโควิด หน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถจัดซื้อยาได้ ร้านยาสามารถจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ได้ ดีเดย์ 1 ก.ย. 65 นี้ ทั้งนี้ ให้ สธ. จัดซื้อยาให้พอเพียง เพื่อสนับสนุนยาหน่วยบริการ โดยในส่วนของหน่วยบริการในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข สามารถจัดซื้อยาได้ในวันที่ 1 ต.ค. 65

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

แนวทางรักษาโควิด-19


ด้านการรักษาอาการ ที่ประชุม ศบค. มีการเสนอการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post-Pandemic เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 โดยกรอบแนวปฏิบัติ ด้านการรักษา จากการประเมินอาการผู้ป่วยมีแนวโน้มไม่รุนแรง ยกเว้น ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรงกลุ่มกลุ่ม 608 ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังและหญิงตั้งครรภ์

 

การใช้ยาต้านไวรัส ควรให้เฉพาะกลุ่มที่มีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ส่วนการจัดบริการด้านการรักษาพยาบาล พิจารณาอาการผู้ป่วย ถ้าไม่มีอาการให้แยกกักที่บ้าน ถ้ามีอาการอื่นๆจากโรคประจำตัว ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง หรือกลุ่ม 608 และ/หรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94 % ให้รับไว้ในรพ. และระยะเวลาในการแยกกัก

 

"กรณีที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย" ให้แยกกักหลังตรวจพบอย่างน้อย 5 วัน จากนั้นให้ปฏิบัติตนป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดต่ออย่างน้อยอีก 5 วัน และปฏิบัติตนแบบ DMH  คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง และล้างมืออยู่เสมอ อย่างเคร่งครัด 

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

เป้าหมายอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย 

 

1. ควบคุมการระบาดให้สถานการณ์ไม่เกินระดับรุนแรงน้อย อัตราการครองเตียง อัตราการเสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการวัคซีนและยาต้านไวรัสได้ง่ายและสะดวก กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโดยสะดวก สถานพยาบาลรัฐ เอกชนจัดหายาต้านไวรัสให้บริการอย่างเพียงพอ

3. ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม การสวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจ ATK เมื่อมีอาการ

4. กลกการบริหารจัดการปกติ พร้อมดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

 

แนวทางปฏิบัติ

 

  • ปรับระบบรายงาน การสอบสวนควบคุมกรณีกลุ่มก้อนผู้ป่วย
  • เร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
  • กระจายยาต้านไวรัสให้เข้าถึงประชาชนสะดวกขึ้น
  • คกก.โรคติดต่อจังหวัด/กทม. จัดทำแผนการรองรับการระบาด
  • สื่อสารสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือน และให้ข้อแนะนำแก่ประชาชน
  • เตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการรับมือภาวะผิดปกติ

 

ใช้ชีวิตอย่างไร ? เมื่อ \"โควิด-19\" เปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic

 

ข้อปฏิบัติ ยุค Post Pandemic

 

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ค. 65 ที่ผ่านมา "นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์" อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้คำแนะนำสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตัวหลังพ้นการระบาดใหญ่ (Post Pandemic) ดังนี้

คนที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว

  • จะต้องล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 
  • เดินทางได้ปกติ
  • ทำกิจกรรมรวมกลุ่มได้
  • ติดตามคำแนะนำของ สธ. สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น  

 

กลุ่มเสี่ยง 608 /ผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ใช้ช้อนส่วนตัว เมื่อกินอาหารในที่ทำงานหรือโรงเรียน
  • สวมหน้ากากอนามัย ขณะทำกิจกรรมรวมกลุ่ม
  • ฉีดวัคซีนเข็มหลัก/เข็มกระตุ้น ตามที่สธ.กำหนด
  • สวมหน้ากากเมื่อขึ้นรถสาธารณะ เข้าไปในสถานที่เสี่ยง
  • เดินทางได้ปกติ เว้นระยะห่างเมื่อยู่ในสถานที่เสี่ยง

 

“การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 เนื่องจากในจำนวนผู้เสียชีวิตรายวัน ส่วนใหญ่ยังเป็นคนกลุ่มนี้ คนทั่วไปยังแนะนำทุก 4 เดือน ยกเว้นว่าจะมีการศึกษาและมีคำแนะนำนออกมาเพิ่มเติม ส่วนคนที่กังวลว่าวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ได้นั้น วัคซีนทุกตัวแม้ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลง แต่ประสิทธิภาพในการลดการป่วยหนัก ลดการเสียชีวิตนั้นไม่ได้ลดลง จึงขอเชิญชวนให้ไปฉีด” นพ.โอภาส กล่าว