เปิดแฟ้มประชุม "เอเปคสาธารณสุุข" ส่องทิศทางสุขภาพ-เศรษฐกิจหลังโควิด19

เปิดแฟ้มประชุม "เอเปคสาธารณสุุข" ส่องทิศทางสุขภาพ-เศรษฐกิจหลังโควิด19

22-26 ส.ค.2565 ไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก ประชุมเอเปคด้านสาธารณสุข (APEC Health Week) มีหารือ 5 วงใหญ่ มุ่งทิศทางสมดุลสุขภาพและเศรษฐกิจ หลังผ่านโควิด19 ระบาด

    ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปคภายใต้หัวข้อ “Open to partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy. หรือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ”

       ซึ่งเป็นการจัดประชุมด้านสาธารณสุขครั้งแรกของประเทศไทย (APEC Health Week) ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขจากเขตเศรษฐกิจเอเปค และผู้นำระดับสูงของหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ เลขาธิการอาเซียน,  ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขาธิการ

สำหรับการจัดประชุม APEC สาธารณสุข หรือ APEC Health Week กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพ 3 การประชุม  ได้แก่

22 สิงหาคม 2565 การประชุม Policy Dialogue

23–24 สิงหาคม 2565 การประชุมคณะทำงานด้านสาธารณสุขเอเปค ครั้งที่ 2/2565 (APEC Health Working Group (HWG)2/2022)

25 - 26 สิงหาคม 2565 การประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 (12th APEC High Level Meeting on Health and the Economy: HLMHE12)

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเขตเศรษฐกิจ 21 เศรษฐกิจ และผู้แทนระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศและภาคการศึกษาและภาคเอกชน ได้แก่ องค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ASEAN, ธนาคารพัฒนาเอเชีย, และสถาบันการศึกษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 • ภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในด้านสาธารณสุข

• แถลงการณ์ร่วมของการประชุม 12th APEC High Level Meeting on Health and the Economy

 • ประเด็นด้านสาธารณสุขสำหรับการจัดทำ APEC Economic Leaders’ Declaration

 • กระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุข ผู้บริหารและผู้แทนของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค

ทั้งนี้ การจัดการประชุมแยกเป็น

1.การประชุมหารือเชิงนโยบำย (Policy Dialogue)

1.1 ประเด็น “การกำจัดไวรัส HPV และมะเร็งปากมดลูก” มะเร็งปากมดลูก

เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานการสร้างขีดความสามารถ และการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคในการป้องกัน คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งใน ระยะที่รักษาได้หรือในระยะท้ายที่ดีที่สุด

 • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้เขตเศรษฐกิจได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานตามแผน ได้รับฟังปัญหาอุปสรรค แนว ทางการแก้ไขปัญหาที่น่าจะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้แต่ละเขตเศรษฐกิจดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้

• สาระสำคัญในกำรประชุม ความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานของเขตเศรษฐกิจตาม Roadmap ที่วางไว้และยังเป็น นโยบายของ WHO เรื่องการกำจัดมะเร็งปากมดลูก ในปี2030 และจะมีการพูดคุยเรื่องการดำเนินงานที่หยุดไป ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 การเตรียมพร้อมเพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องหากเกิดโรคระบาดแบบนี้ ขึ้นอีกในอนาคต

• นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับกำรประชุม แผนการป้ องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติพ.ศ. 2561 – 2565 ซึ่งในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกได้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน การคัดกรอง และการรักษาโรค โดยในปัจจุบันดำเนินงานตามแผนในเขตสุขภาพทุก แห่งทั่วประเทศ มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยในสตรีทั่วโลก แต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่ราว 600,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตราว 340,000 ราย ซึ่งร้อยละ 38 ของผู้ป่วยรายใหม่ และร้อยละ 35 ของผู้เสียชีวิตทั่วโลก จะ พบในประเทศสมาชิก APEC

1.2 ประเด็น “ครอบครัวคุณภาพ Smart Families”

ปัจจุบันสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ พบว่า มีถึง 17 เขตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับปัญหาโครงสร้าง ประชากร คือ มีอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวม ต่ำกว่าอัตราการทดแทน ทำให้จำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลง จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรราว 66 ล้านคน ซึ่งเข้าสู่สังคมสูงอายุ(Aging Society) และกำลังเข้าสู่สังคม สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) ในไม่ช้า มีอัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate) 1.24 ซึ่งต่ำกว่าระดับ ทดแทน ทั้งที่อัตราการเจริญพันธุ์รวมควรอยู่ที่ประมาณ 1.6

การประชุมนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคแลกเปลี่ยนสถานการณ์และหารือสร้าง ฉันทามติเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาสถานการณ์นี้โดยมีเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนครอบครัว ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอชน ของแต่ละเขตเศรษฐกิจเอเปคเข้าร่วม

 2.การหารือทวิภาคี (Bilateral meeting) เป็นการหารือเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างเขตเศรษฐกิจ

3.การประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพ (Health working group: HWG) ในประเด็น ต่างๆ อาทิ

 – ทบทวนการทำงานและแผนการดำเนินงานของคณะทำงานเอเปคด้านสาธารณสุขในปี2565

- การรายงานความคืบหน้าโครงการภายใต้คณะทำงานเอเปคด้านสาธารณสุข และคณะทำงานย่อย เช่น วัคซีน, Digital Health เป็นต้น

 - การอภิปรายเรื่อง ความหยุ่นตัวในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Resiliency), เรื่อง BALANCE Health and the Economy: One Health and its Economic Links, เรื่อง CONNECT with the World: HWG Initiatives for Safe Passage

- การนำเสนอเกี่ยวกับการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยการสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12, APEC Mental Wellness Roadmap 2021-2030 และเรื่อง เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว Bio- Circular-Green (BCG) Economy

4.การประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ มี 2 วาระ คือ (High level meeting on Health and the Economy : HLMHE)

 4.1 In Conversation: Balance Health and Economy Panelists ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การตอบโต้กับโควิด 19 รวมทั้งผลกระทบของมาตรการ ด้านสาธารณสุขต่อเศรษฐกิจในช่วงที่เผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 มาตรการด้านการค้าที่ส่งเสริม การควบคุมโรคระบาด และมาตรการการจัดการสถานการณ์โรคระบาดที่ทำสร้างความสมดุลระหว่างสาธารณสุขและ เศรษฐกิจ

4.2 การประชุมโต๊ะกลม (Round table) : Investment in Global Health Security to better prepare for the future pandemics

รัฐมนตรีสาธารณสุขเอเปคร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุมมองและความคิดเห็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของระบบสาธารณสุข การเตรียมความพร้อมในการป้ องกันและตอบโต้ต่อภัยคุกคามสุขภาพรวมทั้งโรคระบาด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสนับสนุนการเพิ่มการลงทุนในด้านความมั่งคงด้านสุขภาพโลก / สาธารณสุขเพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีความพร้อมรับมือต่อภาวะคุกคามด้านสุขภาพและมีความยืดหยุ่นต่อวิกฤติการ ด้านสาธารณสุข

5.การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting: SOM)

เป็นการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าและกำหนดทิศทางการทำงานของคณะกรรมการและคณะทำงาน ตามนโยบายของผู้นำและรัฐมนตรีฯ รวมถึงเพื่อรับทราบและรวบรวมข้อเสนอแนะของคณะทำงานและ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีฯ และผู้นำกฯ ต่อไป

       นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข  กล่าวว่า การหารือของรมว.สธ.เอเปคที่เกิดขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคในเดือนพ.ย.2565  จะส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยและสมาชิกทุกเขตเศรษฐกิจ  ทำให้มีความเชื่อมั่นและเกิดการเจรจาต่างๆที่เกิดหลังจากช่วงนี้เป็นต้นไป จะทำประโยชน์อย่างมากมาย ให้พร้อมเดินออกจากสภาวะวิกฤติโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปด้วยความมั่นคงแข็งแกร่ง

       “สธ.ต้องปรับในช่วงนี้ คงไม่ใช่เน้นเรื่องการแพทย์ การสาธารณสุข สุขภาพของประชาชนเท่านั้น แต่จะต้องเป็นกระทรวงที่แพ้วทางให้เกิดการเคลื่อนไหว ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่จะต้องเดินออกจากการระบาดของโควิด-19 เพื่อเร่งให้มีการเติบโตทางเศรษบกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การค้าการลงทุน และอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ครบทุกภาคส่วน สร้างรายได้ให้ประชาชนและประเทศ ควบคู่กับการมีสุขภาพแข็งแรงจากบทเรียนที่ได้จากสถานการณ์โควิด-19”นายอนุทินกล่าว 

      อนึ่ง สมาชิก APEC ปัจจุบันมี 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม