"เกมจำลองสถานการณ์" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

"เกมจำลองสถานการณ์" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

เครือข่ายเพื่อการจัดการภัยพิบัติ ร่วมกับ สสส. และชุมชนเทศบาลตำบลเวียงสา รุดหน้านำนวัตกรรม ‘เกมจำลองสถานการณ์’ พัฒนาศักยภาพการรับมืออุทกภัย นำเทคโนโลยี สร้างจินตนาการ สู่ภาพจำเตรียมพร้อมกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง

การเกิดภัยพิบัติในปัจจุบันมีสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และส่งผลกระทบที่มีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้น  โดยเฉพาะอุทกภัยซึ่งมีทั้งมวลน้ำทางธรรมชาติ และปริมาณน้ำฝนที่มาสมทบ  การวางแผนรับมือจัดการอุกทกภัย จึงต้องมีการศึกษาถึง “พฤติกรรมของน้ำและชุมชน” เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพการจัดการภัยพิบัติ  และออกแบบนวัตกรรมการกู้ภัยจากอุกทกภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

นายพงศ์นรินทร์ สุทธารักษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเวียงสา  เล่าถึงสถานการณ์ความเสี่ยงภัยของพื้นที่ในปี 2563 ที่ผ่านมา  ในเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง ด้วยเกมจำลองสถานการณ์ ณ หอประชุมเทศบาลตำบลเวียงสา อ.เวียงสา จ.น่าน ว่า น่าน เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่สำคัญของภาคเหนือ มีลำน้ำน่าน ลำน้ำสา และยังมีลำน้ำสาขาอีกมากมายที่ไหลผ่านจังหวัดน่าน

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

ในอดีตช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 จ.น่านก็ประสบภัยน้ำท่วมอย่างมาก  แต่หลังจากนั้น ชุมชนและชาวบ้านก็สามารถวางแผนรับมือได้สำเร็จ จากการรวมตัวและร่วมวางแผนกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่  เราคิดค้นและนำนวัตกรรมคั่นกั้นน้ำแบบแบริเออร์มาป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ได้สำเร็จ

กระทั่งผ่านมาเกือบ 10 ปี  ในปี 2563 อ.เวียงสา มีฝนตกหนักทั้งวันทั้งคืน ปริมาณน้ำฝนอยู่ที่กว่า 260 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าหนักมาก ประกอบกับลำน้ำในพื้นที่มีปริมาณมากทั้งลำน้ำน่าน และลำน้ำสามาสมทบ จึงทำให้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 80 ปี ส่งผลให้ อ.เวียงสา จ. น่าน เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง  

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

 

  • "เกมจำลองสถานการณ์" พร้อมรับมืออุทกภัย

เทศบาลตำบลเวียงสา และเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ ชุมชนบ้านกลางเวียง จ.น่านจึงเห็นว่าเราควรต้องมีการถอดบทเรียน ขจัดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชม  โดยมีการประสานนำเทคโนโลยีที่ทางเครือข่ายนักวิชาการมาปรับใช้ร่วมกัน

นั่นเองคือที่มาของแนวคิดการพัฒนา ‘เกมจำลองสถานการณ์’ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงภัยในรูปแบบต่าง ๆ  จากนั้นจึงออกแบบเป็นผลลัพธ์ของแผนการช่วยเหลือกู้ภัยจากสถานการณ์อุทกภัยในเกมนั้น  โดยองค์ประกอบของเกมจะถูกพัฒนาขึ้นจากการศึกษา “พฤติกรรมของน้ำและชุมชน”

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

ผศ.ดร. ชัยณรงค์ เกศามูล รอง ผอ. สาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ออกแบบนวัตกรรมเกมจำลองสถานการณ์กู้ภัย กล่าวว่า เกมจำลองสถานการณ์ เกิดขึ้นจากตรรกะจริงของพฤติกรรมน้ำ เหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมของชุมชม  กลุ่มประชากร มีกลุ่มเปราะบางแค่ไหน อย่างไร

จากนั้นเราก็นำเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาออกแบบให้เป็นรูปแบบเกม สร้างจินตนาการให้เกิดภาพสมมุติขึ้น คล้าย ๆ รูปแบบละคร หรือ ลิเก  เพื่อเป็นการซักซ้อมว่า ถ้าอุกทภัยมาแบบนี้ เราจะจัดการอย่างไร ทำซ้ำ ๆ ให้เกิดการเรียนรู้ 

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

 

  • เครื่องมือทางเทคโนโลยี ช่วยชุมชนปลอดภัยจากภัยพิบัติ

เมื่อก่อนองค์กรปกครองท้องถิ่น อาจจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติ  แต่หากเราได้เรียนรู้การวางแผนจัดการภัยด้วย ‘เกมจำลองสถานการณ์’ นี้ ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และได้ทดลองใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการภัยพิบัติในอนาคตที่มีความซับซ้อนมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ‘เกมจำลองสถานการณ์’  ไม่ใช่เครื่องรางของขลังที่จะทำให้ชุมชนอยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติ แต่หากเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี ที่จะไปพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราทดลองเล่น ออกแบบเหตุการณ์การเกิดภัยและวางแผนการรับมือภัยอย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ ภาพจำจากการทดลองซักซ้อมด้วยการเล่นเกมเหล่านั้นก็จะเชื่อมโยงมาสู่สภาพความเป็นจริงเมื่อเราต้องลงมือปฏิบัติจริง ๆ ได้ 

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน

ทั้งนี้ ด้วยระบบการออกแบบเกมจำลองสถานการณ์ ยังสามารถนำไปออกแบบ และปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ และภัยพิบัติต่างๆ ได้อีกด้วย โดยในอนาคตเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ  ร่วมกับ ผู้ออกแบบ ‘เกมจำลองสถานการณ์’  จะมีการพัฒนานวัตกรรมนี้ให้เป็นเกมเต็มรูปแบบ โดยประสานหาแหล่งทุนด้านแอปพลิเคชันเกม  เพื่อพัฒนาให้เข้าถึงทุกชุมชนต่อไป 

\"เกมจำลองสถานการณ์\" เครื่องมือเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติในชุมชน