การ์ทเนอร์ เปิด มูลค่า "คลาวด์" ในไทยแตะ 4 หมื่นล.บาท - ทั่วโลกพุ่ง 5 แสนล.ดอลล์

การ์ทเนอร์ เปิด มูลค่า "คลาวด์" ในไทยแตะ 4 หมื่นล.บาท - ทั่วโลกพุ่ง 5 แสนล.ดอลล์

"การ์ทเนอร์" คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ปลายทางปี 2565 พุ่งสูงเกือบ 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ มูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของไทย ปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 36.6% เปรียบเทียบจากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 40.8 พันล้านบาท

การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ปลายทางทั่วโลกในปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้น 20.4% คิดเป็นมูลค่า 494.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากในปี 2564 ที่มีมูลค่า 410.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2566 มูลค่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

ซิด นาณ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “บริการคลาวด์คือขุมพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัลในปัจจุบัน โดยผู้บริหารไอทีสามารถจัดหาบริการคลาวด์ที่มีอยู่มากมายในตลาดได้ตามต้องการ และพวกเขากำลังพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจที่ต้องการ มีความเฉพาะเจาะจง และนำผลลัพธ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับองค์กรของพวกเขา”
 

“ความสามารถของคลาวด์เนทีฟ เช่น การจำลองระบบคอมพิวเตอร์แบบเสมือน (Containerization), Database Platform-as-a-Service (dbPaaS) และ เอไอ (AI) / แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์กว่าการประมวลผลแบบการใช้คอมพิวเตอร์แบบธรรมดา (Commoditized Compute) เช่น IaaS หรือ Network-as-a-Service ซึ่งมีราคาแพงกว่าและเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร” นาณ กล่าวเสริม

SaaS ยังเป็นตลาดบริการคลาวด์สาธารณะที่ใหญ่ที่สุด คาดว่าในปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 176.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการ์ทเนอร์คาดว่ามูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์ในกลุ่มนี้จะเติบโตคงที่ เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ เข้าถึงบริการ SaaS หลากหลายอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น เข้าถึงผ่านคลาวด์มาร์เก็ตเพลส และยังแยกย่อยออกไปบริการอื่น ๆ อีก รวมถึงแอปพลิเคชันอิสระ (Monolithic Applications) ไปจนถึง Composable parts อื่น ๆ เพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (DevOps) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อาทิ Hyperscale Edge Computing และ Secure Access Service Edge (SASE) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตลาดเทคโนโลยีอื่น ๆ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดใหม่ ๆ และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ

“ผลของประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นของบริการคลาวด์หลัก ๆ (Core Cloud Services) ทำให้องค์กรหันมาให้ความสำคัญกับความสามารถที่หลากหลายของระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับธุรกิจและการดำเนินงานภายในองค์กรได้โดยตรง ซึ่งบริการคลาวด์สาธารณะกลายเป็นส่วนสำคัญที่บังคับผู้ให้บริการนำมาใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายทางสังคมและการเมือง เช่น ความยั่งยืนและอำนาจอธิปไตยของข้อมูล”

“ผู้นำไอทีที่ให้ความสำคัญกับคลาวด์และเข้าใจว่าคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่มอบโอกาสมากกว่าเป็นจุดจบขององค์กร จะประสบความสำเร็จในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลตามที่วางแผนไว้ เช่นเดียวกับองค์กรที่นำคลาวด์มาผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ ในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน และทำให้เทคโนโลยีเกิดใหม่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น” นาณ กล่าวเสริม

 การ์ทเนอร์คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายของผู้ใช้ปลายทางของบริการ Infrastructure-as-a-Service (หรือ IaaS) จะเติบโตสูงสุดในปีนี้ที่ 30.6% รองลงมา คือบริการ Desktop-as-a-Service (DaaS) ที่ 26.6% และตามมาด้วยบริการ Platform-as-a-Service (PaaS) ที่ 26.1% ซึ่งการทำงานแบบไฮบริดกำลังกระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ เปลี่ยนแนวทางการใช้โซลูชันประมวลผลไคลเอ็นต์แบบเดิม เช่น เดสก์ท็อปและอุปกรณ์อื่น ๆ ในสำนักงาน ไปสู่บริการ DaaS ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์ในกลุ่มนี้เพิ่มสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565

สอดคล้องกับความต้องการใช้ความสามารถต่าง ๆ ของคลาวด์เนทีฟโดยบัญชีผู้ใช้ปลายทางสำหรับบริการ PaaS เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 109.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ