10 แอปพลิเคชัน ยอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ไตรมาส 1/65 มีอะไรบ้าง?

10 แอปพลิเคชัน ยอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ไตรมาส 1/65 มีอะไรบ้าง?

ส่องแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ไตรมาส 1/65 แอปฯในเครือไบต์แดนซ์ (ByteDance) จะสู้เครือเมตา (Meta) ได้หรือไม่? ไปดูกัน

สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคทุกมุมโลกมีพฤติกรรมการใช้สื่อที่เปลี่ยนไปจากเดิม รวมถึงการใช้เวลากับ “แอปพลิเคชัน” จำพวกโซเชียลมีเดียหรือสื่อบันเทิงอย่าง ติ๊กต็อก (TikTok), อินสตาแกรม (Instagram) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) มากขึ้นด้วย 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนส่อง 10 “แอปพลิเคชัน” ไหนบ้างที่มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 ผู้บริโภคนิยมแอป แบบไหน? ตามไปดูกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

10 แอปพลิเคชัน ยอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ไตรมาส 1/65 มีอะไรบ้าง?

1. แอปพลิเคชัน 10 แอป ยอดดาวน์โหลดสูงสุดทั่วโลก 1/65

สิ่งที่น่าสนใจจนต้องจับตามองดูต่อไปเรื่อยๆ คือ แม้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 จะมีแอปพลิเคชันในเครือเมตา (Meta) ที่ติดชาร์จยอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุดถึง 4 จาก 10 แอป ได้แก่ อินสตาแกรม (Instagram) ติดอันดับที่ 2, เฟซบุ๊ก (Facebook) ติดอันดับที่ 3, วอตส์แอปป์ (WhatsApp) ติดอับดับที่ 4 และเฟซบุ๊ก แมสเซนเจอร์ (Messenger) ติดอับดับที่ 8

แต่เครือเมตาไม่ควรชะล่าใจว่าจะครองตำแหน่งได้อีกต่อไป เพราะล่าสุดในชาร์จนี้ นอกจากจะมีแอปพลิเคชัน ติ๊กต็อก (TikTok) จากบริษัทไบต์แดนซ์ (ByteDance) ที่มาประเทศจีน ซึ่งครองแชมป์อันดับหนึ่งมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 ในรอบนี้ยังมีแอป ในเครืออีกหนึ่งตัวที่ชื่อว่า แคปคัต (CapCut) ซึ่งใช้ปรับแต่งภาพและวิดีโอ ติดมาในชาร์จด้วย

นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชัน ไหนที่ติด 10 อันดับยอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ไตรมาส 1/2565 อีกบ้าง? ดูรายละเอียดได้ดังนี้ 

  • อันดับที่ 1 ติ๊กต็อก (TikTok)

ประเภท: บันเทิง

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 185 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 2 อินสตาแกรม (Instagram)

ประเภท: รูปภาพและวิดีโอ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 160 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 3 เฟซบุ๊ก (Facebook)

ประเภท: สังคมออนไลน์

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 155 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 4 วอตส์แอปป์ (WhatsApp)

ประเภท: ส่งข้อความ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 125 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 5 ช้อปปี้ (Shopee)

ประเภท: ชอปปิง

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 105 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 6 เทเลแกรม (Telegram)

ประเภท: ส่งข้อความ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 105 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 7 สแนปแชต (Snapchat)

ประเภท: รูปภาพและวิดีโอ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 95 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 8 เฟซบุ๊ก แมสเซนเจอร์ (Messenger)

ประเภท: ส่งข้อความ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 90 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 9 แคปคัต (CapCut)

ประเภท: รูปภาพและวิดีโอ

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 85 ล้านครั้ง

  • อันดับที่ 10 สปอติฟาย (Spotify)

ประเภท: เพลง

ยอดดาวน์โหลด: ประมาณ 80 ล้านครั้ง

2. 10 แอปพลิเคชันที่ทำรายได้สูงสุด

มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ ในด้านการทำรายได้ของแอปพลิเคชัน ณ วันนี้ไม่ใช่แอปจำพวก "เกมหรือการแข่งขัน" แล้ว แต่กลับเป็นแอป ประเภทเกี่ยวกับ "วิดีโอหรือความบันเทิง" มากกว่า

อย่างเช่น แอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) แอปประเภทให้ความบันเทิง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 สามารถทำกำไรไปได้ถึง 28,180 กว่าล้านบาท ส่วนทางด้านแอป ในเครือเมตา (Meta) ก็ทำรายได้ไปมากถึง 4 ล้านล้านกว่าบาท โดยมาจากโฆษณาเป็นส่วนใหญ่

ในยุคการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ปัจจุบันจะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นแล้ว แต่นั่นจะไม่ทำให้พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันกลับไปเป็นแบบยุคดั้งเดิมก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 โดยคาดการณ์ว่าผู้คนจะยิ่งใช้จ่ายในแอป ในรูปแบบเหล่านี้มากขึ้น เช่น การเข้าถึงระดับพรีเมียม (Premium access), การซื้อขาดแอป (In-app purchases) หรือการสมัครรับข้อมูลเพิ่มเติมแบบรายเดือน-รายปี (Subscriptions)

แอปพลิเคชันใดบ้างที่ทำรายได้อย่างงาม ไตรมาส 1 ปี 2565 ดูข้างล่างนี้

  • อันดับที่ 1 ติ๊กต็อก (TikTok)

ประเภท: บันเทิง

  • อันดับที่  2 ยูทูบ (YouTube)

ประเภท: ภาพและวิดีโอ

  • อันดับที่  3 ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ (Disney+)

ประเภท: บันเทิง

  • อันดับที่  4 กูเกิล วัน (Google One)

ประเภท: ระบบคลาวด์

  • อันดับที่  5 ทินเดอร์ (Tinder)

ประเภท: ไลฟ์สไตล์

  • อันดับที่  6 พิคโคมา (Piccoma)

ประเภท: หนังสือ

  • อันดับที่  7 เทนเซ็นต์ วิดีโอ (Tencent Video)  

ประเภท: บันเทิง 

  • อันดับที่  8 อ้ายฉีอี้ (iQIYI)

ประเภท: บันเทิง

  • อันดับที่  9 เอชบีโอแม็กซ์ (HBO Max)

ประเภท: บันเทิง 

  • อันดับที่  10 ไลน์ มังงะ (LINE Manga)

ประเภท: บันเทิง

--------------------------

หมายเหตุ: ข้อมูลยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั่วโลกเก็บจากช่องทางการโหลดแอป ทั้งแอปสโตร์ (App Store) และกูเกิล เพลย์ (Google Play) ไตรมาส 1 ปี 2565 

-----------------------------------

อ้างอิง: VISUAL CAPITALIST, SENSOR TOWER

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์