‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

ซีอีโอเทเลนอร์ กรุ๊ป ทำหนังสือขอเข้าพบประธานบอร์ดกสทช. หวังช่วยเห็นใจเหตุต้องควบรวมธุรกิจกับทรู ยืนยันบริษัทหลังรวมธุรกิจจะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอด ยกระดับประเทศไทยสู่ผู้นำในโลกดิจิทัล พร้อมนัดแถลงข่าวใหญ่ครบรอบ 25 ปีที่ทำธุรกิจในเอเชีย

การประกาศเข้าสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ เทเลนอร์ กรุ๊ป โดยสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เข้ารวมกิจการ โดยตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาคเมื่อ 22 พ.ย. 2564 นั้น

‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

แม้ได้รับเสียงโหวตจากผู้ถือหุ้นไปแแล้ว แต่ในด้านของการถูกตรวจสอบว่าสามารถ “ทำ” ได้หรือไม่ ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของกสทช.อย่างเข้มงวด หลายคนฟันธงไว้ล่วงหน้าแล้วว่าดีลครั้งนี้ ไม่ได้โรยโดยกลีบกุหลาบ และผู้ที่จะชี้ขาดคือ “ศาลปกครอง

ร่อนหนังสือขอพบ“หมอสรณ”

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (30 มิ.ย.) นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ ได้ทำหนังสือขอเข้าพบศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานบอร์ดกสทช.และกรรมการกสทช.ในเวลา 13.00 น.

โดยหัวข้อที่ขอหารือหลักๆ เป็นการเข้าพบเพื่อแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสที่กสทช.ได้บอร์ดชุดใหม่อย่างเป็นทางการ และโดยส่วนตัวเชื่อว่า นายซิคเว่ น่าจะมีขอความเห็นใจจากบอร์ด กสทช.ในการเข้ารวมธุรกิจกับทรูและหวังให้บอร์ดกสทช.อนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการในครั้งนี้

‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันช่วง 10.00 น. ทางดีแทคและเทเลนอร์ กรุ๊ปได้เชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟังข้อมูล เนื่องในโอกาสที่เทเลนอร์ กรุ๊ป ฉลองครบรอบ 25 ปีเอเชียในฐานะหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตั้งเป้าสู่ภารกิจที่สนับสนุนการใช้งานดิจิทัลสู่ประเทศในตลาดเอเชียที่เทเลนอร์ดำเนินธุรกิจอยู่ รวมทั้งประเทศไทย

ซึ่ง “ดีแทค” หนึ่งในบริษัทที่เทเลนอร์ถือหุ้นได้ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันกับทรู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสร้างบริษัทใหม่ด้านเทเลคอม-เทคโนโลยี โดยหัวข้อพูดคุยประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักคือภูมิทัศน์ดิจิทัลใหม่และความท้าทายเบื้องหน้า ทำไมบริษัทโทรคมนาคมต้องพลิกโฉมสู่ เทเลคอม-เทคโนโลยี และ กลยุทธ์เอเชียของเทเลนอร์ กรุ๊ป และการวางแผนสำหรับประเทศไทย

ยันจะช่วยยกระดับดิจิทัลไทย

โดยในครั้งการประกาศความร่วมมือต่อกันเมื่อปลายปีที่แล้ว นายซิคเว่ เคยระบุไว้ว่า กลุ่มเทเลนอร์มีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโลกดิจิทัลในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมาแล้ว ดังนั้น ขณะที่เรายังพัฒนาต่อไป ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจต่างคาดหวังบริการที่ล้ำสมัยและการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่า บริษัทใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอด ยกระดับประเทศไทย ไปสู่การเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลได้ ด้วยการผนวกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับการบริการที่ดึงดูดลูกค้า พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม

‘ซิคเว่’ดอดพบ‘ประธานกสทช.’ แจงเหตุจำเป็นดีลควบรวม‘ทรู’

ขณะที่นายเยอเก้น โรสทริป รองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารภูมิภาคเอเซีย กล่าวเสริมว่า ข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างฐานของเราในเอเชียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างคุณค่า และพัฒนาตลาดในภูมิภาคนี้ต่อไปในระยะยาว เรามีความมุ่งมั่นและพันธกิจต่อทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนาน และความร่วมมือครั้งนี้ก็จะเสริมความมุ่งมั่นและพันธกิจนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การที่เราสามารถเข้าถึงทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดีที่สุด 

ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญสำหรับบริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นในครั้งนี้ ทั้งนี้ บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น จะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100 -200 ล้านดอลลาร์ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย

คาดเทเลนอร์ฯกลัวดีลล้ม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้าพบบอร์ดกสทช.ในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มเทเลนอร์ฯมีความกังวลเกี่ยวกับดีลที่กำลังถูกตรวจสอบเพราะหลังจากที่บอร์ดกสทช.ชุดใหม่เข้ารับตำแหน่อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ก็ได้มีมติจัดการรับฟังความเห็นสาธารณะในวงจำกัด (โฟกัส กรุ๊ป) จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มผู้บริโภคและประชาชน และยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการเข้ามาตรวจสอบในการรวมธุรกิจอีก 4 ชุดประกอบด้วย ด้านกฎหมมาย ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอาจจะกระทบต่อแผนการควบรวมที่ได้กำหนดกรอบเวลาให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ปีนี้

โดยผลการโฟกัส กรุ๊ปตลอดช่วงที่ผ่านมามีความเห็นค่อนข้างไปในทางเดียวกันว่า บอร์ดกสทช.ไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวมขึ้น เพราะจะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมประเทศไทยนั้นมีผู้เล่นน้อยรายอยู่แล้ว หากปล่อยให้เกิดการควบรวมจะเข้าข่ายผูกขาดตลาดโดยสมบูรณ์มีค่าการกระจุกตัวของดัชนีรุนแรงจนเกิดอันตรายต่อเศรษฐกิจ ในด้านของผู้บริโภคเองนั้นก็มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบเพราะมีทางเลือกให้เลือกใช้บริการจากผู้ประกอบการน้อยลงและสิ่งที่ตามมาคืออัตราค่าบริการมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นหากการแข่งขันไม่เกิดขึ้น 

เพราะผู้ประกอบการที่เหลือพึงพอใจกับจำนวนลูกค้าที่มีอยู่จึงไม่ต้องทำโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า และสุดท้ายแล้วเมื่อการควบรวมสามารถกระทำได้จริงอาาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านเศรษฐศาสตร์ระบุว่าจะทำให้จีดีพีประเทศลดลง 300,000 ล้านบาท และเกิดเงินเฟ้อถึง 2%

สนง.ขอเลื่อนสรุปไปอีก30วัน

แหล่งข่าวจากบอร์ดกสทช. กล่าวว่า วานนี้ (29 มิ.ย.) ที่ประชุมบอร์ดได้มีการวาระการประชุมเกี่ยวกับความคืบหน้าการควบรวมธุรกิจของสองบริษัทดังกล่าว โดยสำนักงานกสทช.ที่เป็นผู้รับผิดชอบรวบรวมความเห็นจากโฟกัส กรุ๊ป และสรุปรายงานจากอนุฯกรรมการทั้ง 4 ชุดนั้น ได้ขอเลื่อนเวลาการส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่บอร์ด แม้ว่าก่อนหน้านี้บอร์ดได้มีมติให้สำนักงานกสทช.ได้สรุปทุกอย่างให้เสร็จภายใน 60 วัน หลังจากที่มีมติออกไปโดยจะครบกำหนดในวันที่ 10 ก.ค.นี้ ซึ่งสำนักงานกสทช.ได้อ้างว่า ตามระเบียบหลักฎหมายคำสั่งทางปกครองจะให้เวลาดำเนินการ 90 วัน ซึ่งจะไม่ถือว่าการปฏิบัติงานล่าช้า ดังนั้น จึงขอต่อเวลาจากบอร์ดออกไปอีก 1 เดือน ซึ่งก็จะเร่งสรุปเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด