สวทช.เปิดตัวยาต้านมาลาเรีย

สวทช.เปิดตัวยาต้านมาลาเรีย

นักวิจัยสวทช.พัฒนายาต้านมาลาเรียสำหรับเชื้อที่ดื้อยาสำเร็จล่าสุดอยู่ระหว่างทดสอบในระดับพรีคลินิกกับคน ก่อนนำมาใช้จริงอีก5ปี

นักวิจัยสวทช. พัฒนายาต้านมาลาเรียสำหรับเชื้อที่ดื้อยาสำเร็จ ล่าสุดอยู่ระหว่างทดสอบในระดับพรีคลินิกกับคน ก่อนนำมาใช้จริงอีก5 ปี

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิจัย อาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียในประเทศไทยของสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) เผยว่าหลังจากทีมวิจัยด้านพัฒนายาต้านมาลาเรียในไทยของ สวทช.ได้พัฒนาสารเคมีสังเคราะห์ ชื่อว่า P218 เพื่อใช้ต้านเชื้อดื้อยาโรคมาลาเรียมากว่า 10 ปี และ ผ่านการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ และความเป็นพิษของยาในสัตว์ทดลองประมาณ 1 ปีครึ่ง เป็นผลสำเร็จ และขณะนี้ได้เตรียมทดสอบในระดับคลินิกกับผู้ป่วยอีก 5 ปี

ซึ่งผลการศึกษาที่ออกมาเป็นที่พอใจ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเชื้อมาลาเรียมีแนวโน้มที่จะดื้อต่อยา artemisinin ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอยู่ในประเทศไทย จึงต้องเร่งติดตามเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาเหล่านี้ รวมถึงจำกัดการแพร่ระบาดทั้งนี้ การวิจัยได้ใช้สารสังเคราะห์ P218 ซึ่งเป็นโครงสร้างเอ็นไซม์ของเชื้อมาลาเรีย DHFR เมื่อตกผลึกนักวิจัยจึงได้ออกแบบโครงสร้างยาที่สามารถจับเอ็นไซม์ของเชื้อมาลาเรียชนิดนี้ได้ เพื่อยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์และทำลายเชื้อมาลาเรีย

โดยในการประชุมวิชาการมาลาเรียโลก (World Malaria Conference 2014)ประจำปีนี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทาง สวทช. จะลงนามความร่วมมือกับกองทุนยามาลาเรีย (Medicine for Malaria Venture: MMV) จากเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในการลงทุนวิจัยยาต้านมาลาเรียนี้ ให้ได้รับการทดสอบระดับพรีคลินิกสำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรีย ซึ่งมียุงก้นปล่องเป็นพาหนะล่าสุด สถิติจากกรมควบคุมโรค

ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 18 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่า คนไทยทั่วประเทศมีผู้ป่วย 3,123 คน ลดลง 60 % จากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนผู้ป่วยต่างชาติในไทยมีถึง 1,162 คน ลดลง 62% ซึ่งเป็นที่สังเกตว่า แม้การติดเชื้อมาลาเรียจะน้อยลงแต่กลับพบมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการวิจัยคิดค้นมาต้านมาลาเรีย เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้น้อยที่สุด