วช.โชว์ 'วิจัยพยากรณ์ไทยในอนาคต 20 ปี'

วช.โชว์ 'วิจัยพยากรณ์ไทยในอนาคต 20 ปี'

วช.เปิดตัว "โครงการประเทศไทยในอนาคต" ดึง 8 สถาบันชั้นนำวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นแบบแผนทุกมิติ มุ่งฉายภาพรายละเอียดสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า ด้าน สศช.ใช้ข้อมูลวิจัยประกอบการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า วช.สนับสนุนการวิจัยโครงการประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand) เพื่อวิเคราะห์รายละเอียดภาพของประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมีนักวิจัยแกนหลักกว่า 50 คน และนักวิจัยร่วมด้วยกว่า 200 คน พร้อมทั้งยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 1 พันคนเข้าร่วมด้วย ซึ่งรายนามสถาบันวิจัยทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันพระปกเกล้า, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, ราชบัณฑิตยสภา, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, มูลนิธิคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษาวิเคราะห์ภาพอนาคต มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา รวมทั้งการตั้งรับกับสิ่งที่ไม่คาดหวัง จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเพื่อทำฉากทัศน์และภาพของประเทศไทย โดยมุ่งเน้น 10 มิติสำคัญ ดังนี้ 1. ประชากรและโครงสร้างสังคม 2. สังคม ชนบท ท้องถิ่น 3. การศึกษา 4. สิ่งแวดล้อมและพลังงาน 5. เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม 6. เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก เกษตรกรรมและการบริการ 7. วัฒนธรรมและภาษาไทย (อัตลักษณ์ความเป็นไทย) 8. การเมือง 9. บริบทโลก ปัจจัยคุกคามและความมั่นคงของประเทศ และ 10. คนและความเป็นเมือง

โครงการนี้ยังจะเป็นการสร้างเครือข่ายการวิจัยและนักวิจัยชั้นนำ ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา เข้ามาร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนงานวิจัยชิ้นสำคัญนี้ อาทิ การพยากรณ์สถานการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้น หากทราบถึงจำนวนประชากรไทยในช่วงเวลา 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี จำนวนผู้เข้าสู่วัยทำงาน จบการศึกษาด้านไหน จะทำให้สามารถคิดกลยุทธ์ดำเนินกิจกรรมได้สอดรับกับสถานการณ์ หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์สังคมจากข้อมูลการแต่งงาน การเลือกประเภทที่อยู่อาศัยและการย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น

“จากนี้จะอัพเดตข้อมูลทุกระยะ 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน และวิเคราะห์ทิศทางโครงการจะไปในรูปแบบใด จากนั้นในระยะเวลา 1 ปี ก็จะสรุปบทวิเคราะห์พร้อมกับฉายอนาคตในอีก 5 ปี 10 ปี และ 20 ปีในมิติต่างๆทั้ง 10 ด้านเพื่อให้สอดคล้องและล้อไปกับนโยบายแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่จะปฏิรูปประเทศ” ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว

ทั้งนี้การคาดการณ์อนาคตเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งภายในและภายนอกดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสาะหาทีมที่ดีที่สุดที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนก้าวเข้าสู่ไดอะล็อกโครงการในครั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพของประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากผลลัพธ์และความแม่นยำเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ก็ยังมีส่วนส่งเสริมการสร้างฐานความรู้ให้กับหลายภาคส่วน ที่จะนำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป พร้อมเป็นข้อมูลที่ภาคประชาชน เอกชน ภาครัฐ สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ต่อไป 

157918460528

ศ.วุฒิสาร ตันไชย
 เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า
จุดอ่อนของประเทศไทยคือ การมีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่อัพเดตและฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานแยกจากกัน ฉะนั้นโครงการวิจัยนี้จะต้องมีฐานข้อมูลชุดเดียวกัน โดยต้องมีการตกลงร่วมกันว่าจะใช้ข้อมูลใดเป็นหลักในการวิเคราะห์ เพราะกระบวนการในการวิจัยที่จะสัมฤทธิ์ผลได้นั้นขึ้นอยู่กับบริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อที่จะให้เกิด synergy ได้เป็นอย่างดี และสามารถต่อยอดสู่การคาดการณ์อนาคตในอีก 20 ปีข้างหน้าได้

ระเทศไทยกำลังอยู่ในห้วงของการปฏิรูปประเทศครั้งสำคัญ มุ่งเป้าหมายใหญ่ที่จะใช้ “การวิจัยและนวัตกรรม” ผ่านเครื่องมือ และการวิเคราะห์รายละเอียดภาพเพื่อฉายภาพในอนาคต จึงเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับประเทศให้ก้าวพ้น “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” สู่ “ประเทศรายได้สูง” ในอนาคต

157918462827

ศ.สนิท อักษรแก้ว
 ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า
ความรู้จากโครงการฯ ทำให้มองเห็นอนาคตใน 20 ข้างหน้า ทุก 5 ปีประเทศชาติต้องเปลี่ยน จึงนับเป็นความท้าทายและสอดคล้องกับเป้าหมายของ สศช. เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศบนฐานการวิจัยและพัฒนา

สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินการขับเคลื่อนประเทศได้นั้นก็คือ "ข้อมูลจากการวิจัย" อีกทั้งในส่วนของงบประมาณ และภารกิจของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ สศช.ดูแล ข้อมูลตรงจุดนี้สามารถนำไปบูรณาการต่อยอด เพราะกรอบงบประมาณที่จะจัดสรรนั้นจะต้องสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศและนำไปสู่เป้าหมายได้ในอนาคต



157918465024