'สมคิด' ถก 'กสทช' และ 5 โอเปอเรเตอร์ หนุน 5G เร่งขับเคลื่อน ศก

 'สมคิด' ถก 'กสทช' และ 5 โอเปอเรเตอร์ หนุน 5G เร่งขับเคลื่อน ศก

"สมคิด" ถก "กสทช" และ 5 โอเปอเรเตอร์ หนุน 5G เร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ "อเล็กซานดรา ไรช์" ซีอีโอดีแทค เดินทางเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 63 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) นำคณะเข้าหารือกับ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บอร์ด กสทช. และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. รวมทั้งผู้บริหารบริษัทโทรคมนาคมที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่น 5จีทั้ง 5 รายได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ เอช, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต, บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที โดย คณะของ นายสมคิด และ นายพุทธิพงษ์ ประกอบด้วย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเนวินธุ์ ช่อยชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอีเอส นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการรัฐมนตรี ดีอีเอส และ น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดดีอีเอส

158010664041 ทั้งนี้ ประเด็นในการหารือครั้งนี้เน้นในเรื่องการประมูลคลื่น 5จี ที่มีขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ซึ่ง กสทช. จะนำคลื่นความถี่ใน 4 ย่าน ได้แก่ คลื่น 700, 1800, 2600 เมกะเฮริตซ์ และคลื่นในย่านความถี่ 26 กิกะเฮิรตซ์ รวมทั้งหมด 56 ใบอนุญาต มูลค่า 160,577 ล้านบาท คาดว่าผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะประมูล 25ใบอนุญาต จะนำรายได้เข้ารัฐราว 54,654 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประมูลคลื่น 5จี ดังกล่าว กสทช. ประเมินในเบื้องต้นจะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในปี 2563 ราว 177,039 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.02 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) และในปี 2564 ภาคเอกชนเพิ่มขนาดการลงทุนในคลื่น 5จี ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 332,000 ล้านบาท ในปี 2565 ผลของการประมูลคลื่น 5จี จะเกิดมูลค่าเพิ่มอีก 476,000 ล้านบาท

ขณะที่ การประชุมร่วมครั้งนี้ นางอเล็กซานดรา ไรช์ ซีอีโอ ดีแทค ได้เข้าร่วมด้วย นับเป็นการปรากฏตัวครั้งแรก หลังกรณีที่ดีแทคประกาศแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ ...