การมี "วิทยาศาสตร์" บนโลกสำคัญไฉน ? ในยุค 2020

การมี "วิทยาศาสตร์" บนโลกสำคัญไฉน ? ในยุค 2020

3 เอ็ม เปิดโพล การมี "วิทยาศาสตร์" บนโลกสำคัญไฉน ? ในยุค 2020 และบทบาทของเทคโนโลยีจะตอบสนองกับการแพร่ระบาดครั้งนี้ได้อย่างไรบ้าง และเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่กำลังเกิดขึ้นต้องสร้างแรงบันดาลใจ หันมาสนใจ STEM เพื่อบริบทในการผลักดันโลกยุคใหม่

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ทำให้เห็นชัดมากขึ้นว่าหากโลกปราศจากวิทยาศาสตร์จะเป็นอย่างไร! ดังนั้นบทบาทของเทคโนโลยีที่ตอบสนองกับการแพร่ระบาดครั้งนี้ จากตัวอย่างของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง มาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้นำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาใช้อย่างรวดเร็ว เช่น แอพพลิเคชันติดตามผู้ติดเชื้อ และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแบบเสมือนจริง (Virtual health consultations) เพื่อเข้าถึงสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน

160571724758


ข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสอดคล้องกันกับผลวิจัยของดัชนีชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ประจำปีครั้งที่ 2 จัดทำขึ้นโดย 3เอ็ม ที่เรียกว่า Pandemic Pulse ในปี 2563 ในระหว่างกรกฎาคม - สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดมาเป็นเวลา 6 เดือน

จากผลการวิจัยหลังจากที่เกิดโควิด-19 ใน 89% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์  86% เชื่อมั่นในตัวนักวิทยาศาสตร์มากขึ้น และ 77% มีแนวโน้มที่เห็นตรงกันว่าวิทยาศาสตร์ต้องการเงินทุนที่สูงขึ้นเพื่อนำไปใช้วิจัยและพัฒนา ส่วน 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกเชื่อว่าการดำเนินการใด ๆ ก็ตาม ควรต้องเป็นไปตามหลักของวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ข้อมูลดังกล่าวเป็นการชี้ให้เห็นว่าคนทั่วโลกยังเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่วิทยาศาสตร์ได้รับการยกย่องไปทั่วโลกและคนเห็นถึงความเกี่ยวพันของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์สร้างซุปเปอร์ฮีโร่คนใหม่ 

จากโลกที่เคยเริ่มกังขาในวิทยาศาสตร์มากขึ้น ดูเหมือนว่าจะพลิกกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อีกครั้ง จากข้อมูลของ SOSI นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี พบว่ามีเพียง 28% ที่คนไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์

ผู้คนทั่วโลกเริ่มมุ่งหน้าหาบุคลากรทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในฐานะซุปเปอร์ฮีโร่คนใหม่ของสังคม ซึ่งรวมถึง 3 ฮีโร่ผู้กล้า อย่างผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติ ได้แก่ ดร. โฟซี (Dr. Fauci) จากสหรัฐอเมริกา, ดร. แอชลีย์ บลูมฟิลด์ (Dr. Ashley Bloomfield) จากนิวซีแลนด์ และ ดร. นัวร์ ไฮเชม อับดุลลา (Dr. Noor Hisham Abdullah) จากมาเลเซีย ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นซุปเปอร์ฮีโร่ที่สวมชุม PPE แทนผ้าคลุมเท่ ๆ โดยมาพร้อมพลังพิเศษในการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์

160571728130

ความยั่งยืนและวิทยาศาสตร์เริ่มถูกวัดผลรวมกัน

ผลการวิจัยยังพบว่าคนให้ความสำคัญว่าวิทยาศาสตร์จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเป็นอันดับแรก (80%) แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนที่มองว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำคัญ ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสมอภาคและการเข้าถึงหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM Education)

อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อมั่นและความชื่นชมในวิทยาศาสตร์จะมีเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีช่องว่างและความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อไปมีความหลากหลายและมีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดการกับความท้าทายระดับโลกอย่างแท้จริง

อุปสรรคของการเข้าถึงการศึกษา STEM ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ว่าความเชื่อมั่นทางวิทยาศาสตร์จะมีความเข้มแข็งมากขึ้นในปัจจุบัน แต่หลาย ๆ คนก็รู้สึกไม่ฝักใฝ่ในวิทยาศาสตร์มากนัก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทาง SOSI รายงานว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ (28%) มีแนวโน้มในการเรียนวิทยาศาสตร์ถดถอยลงมากกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ถึง 3 เท่า (9%)

การส่งเสริมหลักสูตร STEM จะช่วยผลักดันการจ้างงานและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค

บางทีวิธีที่จะช่วยลดความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับการเรียนวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตร STEM ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือการเสริมสร้างทักษะพื้นฐาน และการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงตามระดับของหลักสูตรในโรงเรียน อย่างเช่น การใช้เครื่องมือการสอนแบบดิจิทัล อาทิ การนำวิดีโอมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติจริง และการทำโครงการเชิงปฏิบัติที่สามารถสร้างความสนใจของนักเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในหลักสูตร STEM

ในปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วและมีศักยภาพในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยที่มุ่งจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ.2578 โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ ชีววิทยาศาสตร์ การบินและอวกาศ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก และการเป็นไทยแลนด์ 4.0  ฉะนั้นการศึกษาในหลักสูตร STEM จะสามารถช่วยสร้างทักษะให้บัณฑิตรุ่นใหม่มีคุณสมบัติที่พร้อมจะเข้าสู่อุตสาหกรรม ด้วยมุมมองใหม่ ๆ และความสนใจในนวัตกรรม

160571732427


เอ็ม หนุนปูทางสู่นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์

ไม่ว่าผลการวิจัยจะพบว่า วิทยาศาสตร์สามารถเข้ามาช่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ อย่างยั่งยืนในเรื่องความท้าทายที่สำคัญระดับโลก หรือการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ศึกษาหลักสูตร STEM ให้มากขึ้น แต่การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนการเติบโตทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน

จากรายงาน SOSI 2020 เปิดเผยว่า 53% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าท่ามกลางความท้าทายที่สำคัญในปี 2563  บริษัทต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในการร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก รองลงมาคือการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต (61%) 

ล่าสุด 3เอ็ม ได้ออกประกาศหลายฉบับที่ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ที่ต้องการให้บริษัทเข้าไปช่วยเหลือ โดยในทุก ๆ ปี 3Mgives จะดำเนินการแข่งขันชิงทุนระดับนานาชาติเพื่อนำไปสนับสนุนเสาหลักของชุมชน สิ่งแวดล้อม และการศึกษา

หากมีอะไรที่ 3M ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอนาคตของวิทยาศาสตร์จากผลการวิจัย SOSI นั่นหมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในฐานะที่ 3เอ็ม เป็นพลเมืองคนนึงของโลก มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าวิทยาศาสตร์จะยังคงอยู่อย่างยืนยาวเพื่อสร้างอนาคตให้ยั่งยืน