วว.ลุย 'น่าน' ดึงนวัตกรรมสร้างมูลค่าพืชผลเกษตร พลิกฟื้นสู่ความยั่งยืน

วว.ลุย 'น่าน' ดึงนวัตกรรมสร้างมูลค่าพืชผลเกษตร พลิกฟื้นสู่ความยั่งยืน

วว. จับมือพันธมิตรจังหวัดน่าน นำเทคโนโลยี ผลงานวิจัย นวัตกรรม รุกสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตร พืชอัตลักษณ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน สังคม สู่ความยั่งยืน

160700488341

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรและพืชอัตลักษ์ของจังหวัดน่าน ถือเป็นความสำเร็จระหว่างภาคพื้นที่ จังหวัดน่านและหน่วยงานวิจัย นวัตกรรมคือ วว. เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการทำงานที่ต่อเนื่อง มีการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนภายใต้โครงการ Shared Service   มีการพัฒนาเชิงพื้นที่สู่การสร้างผลงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้  ได้จริง ขอชื่นชมการทำงาน  ทั้งนี้ในประเทศไทยของเราต้องการการขยายผลต่อจากการดำเนินงานแบบนี้ในพื้นที่อื่นๆ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ด้าน ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า ความร่วมมือทั้ง 4 หน่วยงานในครั้งนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จังหวัดน่าน รวมทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดน่าน  พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือ  ในการนําองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรและชีวภาพ อาหาร เวชสําอางไทย ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาวิธีบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่จังหวัดน่านให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า สร้างและรักษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติของจังหวัดน่านไว้

160700490035

“นอกจากนี้ยังร่วมกันเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์  และบูรณาการส่งเสริมการตลาด จากผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากทรัพยากรท้องถิ่นของจังหวัดน่านให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการนํารายได้คืนสู่การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง ชุมชน ท้องถิ่น ที่เป็นฐานรากของทรัพยากรนั้นไว้ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง (Inclusive growth) ต่อไป  ตลอดจนผลักดันผลงานวิจัย และระบบ Shared service ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจด้านอุตสาหกรรมชีวภาพให้กับจังหวัดน่าน  รวมทั้งร่วมประชาสัมพันธ์ผลงานด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งงานบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นที่ยอมรับในผลงานวิจัยของนักวิจัยไทยเพื่อก้าวสู่สากล” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

    

สำหรับขอบเขตความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย ดําเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการสกัดพืช และ/หรือ สมุนไพร เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางและเวชสําอางจากพืชจุลินทรีย์และวัสดุธรรมชาติและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่พัฒนาจากทรัพยากรของท้องถิ่น รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์  ร่วมกันประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการและโครงการร่วมกัน และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานในการกําหนดแนวทางการพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการในจังหวัดน่านและตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

160700491677

เพื่อร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนําผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  ส่งเสริมพัฒนา สนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ทั้ง 4 ฝ่ายตกลงดําเนินการเพิ่มเติมในอนาคตตามวัตถุประสงค์ ร่วมกันผลักดันผู้ประกอบการของจังหวัดน่าน ผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพื้นที่ระบบ Shared  service วว. ให้มีความสามารถด้านพัฒนาตนเอง ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ตอบสนองและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งตลาดในอนาคต   ร่วมกันส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ Thai  Cosmetopoeia & TISTR  Shared  service และผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในโครงการ กิจกรรมที่ดําเนินการร่วมวิจัยระหว่างกัน