ม.อ.สุราษฎร์ฯวิจัย “โปรตีนต่ำในยางพารา” สำเร็จ รับดีมานต์ช่วงโควิด!

ม.อ.สุราษฎร์ฯวิจัย “โปรตีนต่ำในยางพารา” สำเร็จ รับดีมานต์ช่วงโควิด!

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โชว์ความสำเร็จวิจัย “โปรตีนต่ำในยางพารา”ตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดการแพ้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราไทยและราคายางให้มีเสถียรภาพ ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางพาราธรรมชาติ

พร้อมผนึกกยท. เร่งจัดตั้งศูนย์วิจัยการแพ้โปรตีนในยางพารา ระดมนักวิจัย พัฒนายางพาราโปรตีนต่ำตามเกณฑ์มาตรฐานครบทุกมิติ ขานรับโควิด -19 ดันดีมานต์ถุงมือยางในอุตสาหกรรมการแพทย์พุ่ง  

160812714678

รศ.ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับระดับโปรตีนที่อยู่ในยางพาราต่ำกว่ามาตราฐานของทวีปอเมริกาและยุโรป ที่อนุญาตให้ผลิตเป็นถุงมือยางพาราธรรมชาติ ต้องมีปริมาณโปรตีนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดสำเร็จแล้ว โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือการแพ้ต่อผู้ใช้งาน และเตรียมนำงานวิจัยเผยแพร่ในวารสารยาง เพื่อสร้างความเข้าใจยางพาราธรรมชาติโปรตีนต่ำที่ถูกต้อง โดยสื่อสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการยางทั่วโลก และขณะเดียวกันพร้อมนำองค์ความรู้ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป

รู้ไวใช่ว่า 'อาการแพ้ยาง' 

ทั้งนี้ผลการวิจัยในยุโรปพบว่า โปรตีนในยางพาราธรรมชาติทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ 1-6% และมีผู้เสียชีวิต 1 คนในประเทศอังกฤษ จึงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตอุตสาหกรรมถุงมือยางพาราธรรมชาติและเป็นจุดเปลี่ยนสู่การใช้ถุงมือยางสังเคราะห์มากขึ้น โดยเฉพาะปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้ถุงมือยางสูงขึ้น ทำให้บริษัทผู้ผลิตถุงมือยางยักษ์ใหญ่ในประเทศมาเลเซียรวมถึงของไทย ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้วัตถุดิบยางธรรมชาติมาเป็นยางสังเคราะห์มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำยางและราคายางพาราของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง

รศ.ดร.เจริญ กล่าวต่อไปว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยยางพาราในประเทศไทยก่อให้เกิดการแพ้หรือไม่ หรือมีการวิจัยสายพันธุ์ยางที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และกระบวนการผลิตเพื่อลดโปรตีนลง ดังนั้น หากนักวิจัยร่วมมือกันจะช่วยพลิกอุตสาหกรรมถุงมือยางพาราธรรมชาติให้กับมาใช้งานแพร่หลาย เนื่องจากคุณสมบัติของถุงมือยางพาราธรรมชาติมีความแข็งแรง ยืดหยุ่นกว่าถุงมือยางพาราสังเคราะห์ ที่มีส่วนผสมของยางไนไตรล์ ยางคลอโรฟิลล์ ความทนต่อแรงมีน้อยจึงฉีกขาดได้ง่ายมากกว่า อีกทั้งมีสารไซยาไนด์เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์

160812733022

หนุนยกระดับอุตฯยางพาราไทย

ทั้งนี้ ม.. วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)  และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียาง ชีวเคมีและการแพทย์ เตรียมจัดตั้งศูนย์วิจัยการแพ้โปรตีนในยางพารา โดยร่วมวิจัยและพัฒนาระดับโปรตีนในยางพาราตามเกณฑ์มาตรฐานการผลิตถุงมือยางพาราธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ต่อมนุษย์ครบทุกมิติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา และยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางพาราธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้น

โควิดมา 'ถุงมือยางก็จำเป็น'

ผศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.อ. กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บริษัททั่วโลกจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีถุงมือยางเพิ่มขึ้น โดยบริษัทอเมริกันจดสิทธิบัตรมากอันดับหนึ่งของโลก สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยียางพาราที่เอามาทำเป็นถุงมือทางการแพทย์มีความต้องการสูง  โดยเฉพาะยางไนไตรล์มีความต้องการของตลาดมากกว่ายางธรรมชาติ 9-10 เท่า จึงมีแนวโน้มว่ายางไนไตรล์จะขาดตลาด และผู้ผลิตจะกลับมาใช้ยางพาราธรรมชาติมากขึ้น

160812734588

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการส่งเสริมเกษตรกรปลูกยางพารา ซึ่งปัจจุบันการปลูกยางพารามีจำนวนไม่กี่พันธุ์ และส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีน้ำยางปริมาณสูง แต่หากมีการวิจัยยางพาราสายพันธุ์ที่มีโปรตีนน้อย และมุ่งส่งเสริมเกษตรกรปลูกสายพันธ์ยางพาราแบบบผสมผสาน จะยิ่งทำให้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น