จับตา 5 ม.ค. 64 ตั้ง “ซีอีโอ” เอ็นทีคนแรก

จับตา 5 ม.ค. 64 ตั้ง “ซีอีโอ” เอ็นทีคนแรก

“พุทธิพงษ์” เผย 5 ม.ค. นัดประชุมครั้งสุดท้ายก่อนเซ็นตั้งซีอีโอเอ็นทีคนแรกคุมทรัพย์สิน 3 แสนล้านบาท หลังควบรวมทีโอที-กสทฯ หลังคลอดรายชื่อบอร์ดไปก่อนล่วงหน้า 5 คน ย้ำบุคคลที่เลือกตั้งเหมาะสมและเป็นกลาง 

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า หลังจากที่มีตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เลื่อนการควบรวมกสทฯและบมจ.ทีโอที เพื่อเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที ที่มีกำหนดควบรวมอย่างเป็นทางการวันที่ 7 ม.ค.นี้ โดยขอให้เลื่อนออกไปเป็นช่วงเดือนมี.ค. 2564 แทน 

"ผมได้คุยกับทุกคนแล้ว และขอยืนยันว่าการควบรวมจะดำเนินไปตามเดิม และตนได้หารือปัญหาต่างๆกับสหภาพฯแล้ว ซึ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยยืนยันว่าวันที่ 7 ม.ค. 2564 เอ็นทีจะถูกจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์"

160966769784

สำหรับความคืบหน้าการตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่เอ็นทีคนแรก ซึ่งมีหลายฝ่ายจับจ้องเพราะ ซึ่งตนกำลังอยู่ระหว่างการคัดเลือกคนนอกเข้ามาทำงาน เพราะต้องการให้พนักงานไม่รู้สึกว่าผู้บริหารระดับสูงเป็นของฝ่ายไหน ตนต้องทำให้ทุกอย่างเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น ในวันที่ 5 ม.ค.จะมีการประชุมนัดสุดท้ายเพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุด หลังจากที่ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทเอ็นทีไปแล้วจำนวน 5 คน 

ทั้งนี้ หลังการควบรวมเอ็นทีจะเป็นบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุดมูลค่าสินทรัพย์มากถึง 300,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.เสาโทรคมนาคมกว่า 25,000 ต้นทั่้วประเทศ 2.เคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังทุกทวีป 3.ถือครองคลื่นความถี่หลักเพื่อให้บริการรวม 6 ย่านมีปริมาณ 600 เมกะเฮิรตซ์ 4.ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม 4,ุ600 กิโลเมตร 5.สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร 6.ดาต้า เซ็นเตอร์ 13 แห่งทั่วประเทศ และ 7.ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงจากทุกประเทศในโลก

นอกจากนี้ เมื่อควบรวมเสร็จสิ้นเอ็นทีจะกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีศักยภาพในการให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง 5จี และ ดาวเทียม ทั้งการนำเอาดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม โดยเอ็นที จะเป็นผู้รวบรวมบิ๊กดาต้าผ่าน 5จี ที่ประมูลได้ ซึ่งจะเริ่มนำมาให้บริการภาคสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ตอนนี้จึงมั่นใจได้ว่าเอกชนที่ไม่เคยเห็นทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เป็นคู่แข่ง จำต้องหันมากลัวและไม่อยากให้มีการควบรวมเกิดขึ้น