แมคคินซี่ย์ ชี้ ‘ไทย’ แกร่งเทคโนโลยี เร่งคว้าโอกาสสู้เวทีโลก

แมคคินซี่ย์ ชี้ ‘ไทย’ แกร่งเทคโนโลยี เร่งคว้าโอกาสสู้เวทีโลก

ไทยเป็น 1 ใน 3 จุดหมายปลายทางในการขยายธุรกิจของบริษัทในเอเชียโดยเฉพาะ กรุงเทพฯ มีศักยภาพสำคัญ

ลงทุนในความสามารถด้านดิจิทัล

นอกจากนี้ งานวิจัยของแมคคินซีย์ในหัวข้อ ‘จากวิกฤติโควิด-19 สู่หนทางเติบโตทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ของประเทศอาเซียน’ ยังกล่าวถึงแนวทางสู่การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ รวมถึง การลงทุนด้านดิจิทัล และเพิ่มพูนทักษะแรงงาน ซึ่งไม่เพียงเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังคงวางรากฐานการเติบโตในอนาคตด้วย ซึ่งการลงทุนควรขยายไปที่ความสามารถการผลิต กระบวนการดิจิทัลของรัฐบาล และสร้างแรงจูงใจกระตุ้นการเปิดรับด้านดิจิทัล

เมื่อถามว่า ประเทศไทยต้องปรับปรุง หรือพัฒนาในด้านใดเพิ่มเพื่อให้มีขีดแข่งขันที่เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่  เขา กล่าวว่า ต้องพัฒนาบุคคลที่มีทักษะด้านดิจิทัลและเอไอมากขึ้น คนที่มีทักษะล้าสมัยอาจไม่สามารถอยู่รอดในตลาดแรงงานได้

การเปิดรับดิจิทัลและเทคโนโลยีเอไอ จำเป็นมากที่ต้องให้แรงงานส่วนมากพัฒนาหรือปรับทักษะ สภาเศรษฐกิจโลกเผยว่า กว่า 54% ของลูกจ้างทั่วโลกจำเป้นต้องได้รับการปรับและเพิ่มทักษะภายในปี 2565

"โควิด-19 เร่งให้องค์ประกอบของเส้นทางการเรียนรู้ทั้งหมดเป็นแบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ แต่ยังออกแบบเฉพาะบุคคลให้เหมาะกับผู้เรียนมากขึ้นด้วย" 

เร่งเสริมขีดแข่งขันสู้ โควิด 

ขณะที่ “คอชิก แดส” หุ้นส่วนอาวุโส และประธาน แมคคินซี่ย์ แอนด์ คอมพานี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิเคราะห์เพิ่มว่า หนทางการเติบโตทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ของอาเซียนท่ามกลางวิกฤติโควิด มีอยู่  5 แนวทาง นั่นคือ 1.ศูนย์รวมอุตสาหกรรมการผลิต ประเทศไทยประกาศนโยบายตั้งประเทศเป็นศูนย์รวมเครื่องยนต์ไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้า ผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในองค์กรรัฐและรัฐวิสาหกิจ ริเริ่มให้มีการใช้รถเมล์ไฟฟ้าและมอเตอร์ไซค์รับจ้างไฟฟ้า

2.เร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ปัจจุบันสัดส่วนกำลังการผลิตพลังงานทดแทนของไทยอยู่ที่ 22% เทียบกับสัดส่วนเฉลี่ยในเอเชียอยู่ที่ 34% ซึ่งเหลือพื้นที่ให้สามารถลงทุนและขยายในระยะยาวหลังการแพร่ระบาดได้อีก

3.ลงทุนด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดการแพร่ระบาดหรือไม่ ธุรกิจและรัฐบาลควรเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาด้านดิจิทัลในอนาคต เสริมความสามารถด้านดิจิทัล กระบวนด้านดิจิทัลของรัฐบาล และมอบเงินทุนเพื่อกระตุ้นการเปิดรับด้านดิจิทัล

4.เพิ่มพูนทักษะแรงงาน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสส่งผลให้สังคมก้าวเข้าสู่การค้าแบบไร้สัมผัส ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่กระตุ้นให้แรงงานที่มีความสามรถด้านดิจิทัลเป็นที่ต้องการมากขึ้น

5.เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมอาหาร ห่วงโซ่คุณค่าเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนกว่า 8% ของเศรษฐกิจไทย การเสริมความแข็งแกร่งและขยายภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิต สามารถเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจพร้อมกับยกระกับความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาว ถือเป็นโอกาสที่ผู้เล่นภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศจะสามารถเชื่อมต่อกับธุรกิจภาคเกษตรระดับท้องถิ่นเพื่อขยายเครือข่ายด้านการจำหน่ายสินค้า และสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเกษตรกรดิจิทัลเพื่อเอื้อต่อการค้า