‘Data Paradox’ โจทย์ท้าทาย องค์กรยุค ‘ดิจิทัล ดิสรัปชั่น’
หนึ่งในข้อจำกัดขององค์กรธุรกิจในการทรานส์ฟอร์มไปเป็น “ดิจิทัล คอมปะนี” คือ “ข้อมูล” โดยความท้าทายมีทั้งประเด็น “การได้มา” และ “การบริหารจัดการ” ข้อมูล
ธุรกิจไทย 95% 'ยังไม่พร้อม’
ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจไทย 95% ยังไม่ก้าวหน้าทั้งในส่วนของเทคโนโลยี กระบวนการทางข้อมูล วัฒนธรรมและทักษะทางด้านข้อมูล มีเพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับการจำกัดความให้เป็น “Data Champions”
นอกจากนี้ 73% กล่าวว่าสามารถรวบรวมข้อมูลได้เร็วเกินความสามารถที่จะนำมาวิเคราะห์และใช้งานได้ 70% กล่าวว่าต้องการข้อมูลมากกว่าที่สามารถหามาได้ในปัจจุบัน
โดยอาจเป็นผลมาจาก 61% ต้องปกป้องข้อมูลปริมาณมากภายในดาต้าเซ็นเตอร์ 68% ยอมรับว่าบอร์ดหรือคณะกรรมการของบริษัทยังไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันกลยุทธ์ด้านไอทีที่ไม่รองรับการขยายขีดความสามารถ
โดยธุรกิจไทย 65% บ่นว่ามีข้อมูลจำนวนมากที่ไม่สามารถทำให้ถูกต้องตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยและที่ต้องปฏิบัติตามได้ และ 63% กล่าวว่าทีมทำงานของพวกเขามีข้อมูลท่วมท้นเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
3 แนวทางเปลี่ยนภาระเป็นข้อได้เปรียบ
เขากล่าวว่า ภายใต้แรงกดดันมหาศาลในการเปิดรับการปฏิรูปทางดิจิทัล องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้มีข้อมูลที่มากขึ้น รวมทั้งเพื่อขุดค้นข้อมูล (mining) ที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 44% ในไทยระบุว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ข้อมูลที่จำเป็นต้องรวบรวบ จัดเก็บ และวิเคราะห์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อมูลระบุว่า ช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ภาคธุรกิจแบบ “on-demand” มีการเติบโตและขยายตัว ก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ของธุรกิจที่ข้อมูลมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง (data-first) และข้อมูลอยู่ในทุกที่ (data-anywhere)
อย่างไรก็ตาม จำนวนขององค์กรธุรกิจที่ย้ายแอพพลิเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ไปสู่โมเดล หรือรูปแบบของ “as-a-Service” ยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย โดยในไทยมีอยู่เพียง 12%
สำหรับ 3 แนวทางที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนภาระด้านข้อมูล (data burden) ให้กลายเป็นข้อได้เปรียบ (data advantage) คือ 1.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัย 2.เพิ่มประสิทธิภาพช่องทาง/ข้อมูล ด้วยเอไอและแมชีนเลิร์นนิง และ 3.พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อมอบประสบการณ์ส่วนตัว และบูรณาการตามที่ลูกค้าต้องการ