วีเอ็มแวร์ เปิด 8 กลยุทธ์ เสริมแกร่งสาธารณสุขไทย

วีเอ็มแวร์ เปิด 8 กลยุทธ์ เสริมแกร่งสาธารณสุขไทย

วีเอ็มแวร์ ยักษ์ไอทีระดับโลก แนะกลยุทธ์เสริมสาธารณสุขไทย ระบุ องค์กรด้านสาธารณสุขทั่วโลกต่างเป็นด่านหน้าต่อสู้กับโควิด-19 จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยย่นระยะเวลาการบริหารจัดการสถานการณ์ให้รวดเร็วขึ้น

บริการใหม่เพิ่มความเสี่ยงไซเบอร์

3.การให้บริการดิจิทัลรูปแบบใหม่สร้างความเสี่ยงทางไซเบอร์มากขึ้น บริการใหม่ๆ ผ่านระบบดิจิทัลกำลังเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ ดังนั้นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็งแบบ zero-trust, นโยบายและการควบคุมสิทธิ์อย่างน้อยต้องครอบคลุมทั้ง on-premises บนคลาวด์ไปจนถึงอุปกรณ์ปลายทาง

4.Telehealth และความสามารถในการกระจายการทำงานเปลี่ยนจาก "สิ่งที่ควรมีกลายเป็น "สิ่งที่ต้องมี" ด้วยความแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ งานทางด้านสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ต้องลงมือปฎิบัติ ในสภาพแวดล้อมของการทำงานแบบกระจายตัว รวมถึงเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน

5.การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิรูปธุรกิจกำลังเพิ่มมากขึ้น การศึกษาของวีเอ็มแวร์พบว่า ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ 98% หวังว่าจะสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้ ด้วยการลงทุนในการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีให้สามารถรองรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

'ยืดหยุ่น'กุญแจสู่ความสำเร็จ

6.เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HIT) ที่ยืดหยุ่น คือ "กุญแจสู่ความสำเร็จทางดิจิทัล" ส่วนการทำงานแบบอัตโนมัติและมัลติคลาวด์คือ "อนาคต" เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับความยืดหยุ่น กว่า 58% ขององค์กรทางด้านสาธารณสุขกล่าวว่าประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีของงานสาธารณสุขแบบอัตโนมัติรวมถึงรูปแบบของการดำเนินงาน ถูกยกให้เป็นความคิดริเริ่มอันดับต้นๆ เนื่องจากองค์กรทางด้านสาธารณสุขมองหาช่องทางการป้องกันสุขภาพ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วย

7.การเติบโตของคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น การประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสมดุลทางสาธารณสุข เนื่องจากมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรทางด้านสาธารณสุขสามารถลดความซับซ้อนในการปรับใช้ระบบคลาวด์โดยขยายไปสู่มัลติคลาวด์ได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องปรับทักษะ, ปรับโครงสร้างแอพพลิเคชัน หรือปรับแต่งเครื่องมือใหม่

8.การฟื้นตัวจากวิกฤติ เทียบไม่ได้กับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์กรทางด้านสาธารณสุขระบุว่าพวกเขามีแผนสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจก่อนเกิดการระบาดใหญ่ ผู้บริหารในกลุ่มสาธารณสุข 3 ใน 10 คนรู้สึกว่าแผนของพวกเขามีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อต้องพยายามรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด

"วิกฤติการณ์โควิด-19 คือบททดสอบล่าสุดที่รุนแรงที่สุด พิสูจน์ถึงความสามารถขององค์กรด้านสาธารณสุขในการตอบสนองและการประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่เลวร้าย และสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ระบบสาธารณสุขไทยก้าวไปสู่โลกแห่งดิจิทัลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น"