Sea Group เปิด 10 ข้อคิด การเดินทางสู่อนาคต หลังยุคโควิด

Sea Group เปิด 10 ข้อคิด การเดินทางสู่อนาคต หลังยุคโควิด

Sea Group ชี้ผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล "THAI DIGITAL GENERATION SURVEY" ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเข้าสู่โลกดิจิทัล ของคนไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมเปิด 10 ข้อคิด "การเดินทางสู่อนาคตหลังยุคโควิด" และสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุดหลังโควิดคือ "วิกฤติเศรษฐกิจ"

Sea Group เปิด 10 ข้อคิด การเดินทางสู่อนาคต หลังยุคโควิด

ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea Group ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มดิจิทัล ฉายภาพอนาคต ประเทศไทยหลังวิกฤติ โควิด-19 จากผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล "THAI DIGITAL GENERATION SURVEY" ชี้ 2 ปีที่ผ่านมา การเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digitalisation) ของคนไทยได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และขยายฐานกว้างจนไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพราะแม้แต่คนที่ไม่ได้เกิดมาในยุคออนไลน์ก็หันมาใช้บริการดิจิทัลอย่างแพร่หลาย พร้อมเปิด 10 ข้อคิด "การเดินทางสู่อนาคตหลังยุคโควิด" ที่จะเปลี่ยนทุกสิ่งไปอย่างสิ้นเชิง

ผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล "THAI DIGITAL GENERATION SURVEY" ครั้งนี้ พบว่า โควิด-19 จะอยู่กับเราอีกนานและจะเปลี่ยนโลกอย่างถาวร โดย 40% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มองว่าไวรัสนี้อาจอยู่กับเราไปอีกเกิน 2 ปี และ 60% มองว่าโลกหลังโควิดจะไม่เหมือนเดิม

โดยมองว่า เทคโนโลยีคือโอกาส วิกฤติเศรษฐกิจคือความเสี่ยง - ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยกให้การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเป็นโอกาสแห่งอนาคตที่สำคัญที่สุดในยุคหลังโควิด-19

และ 86% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าการปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในทางกลับกันคนไทยกังวลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งมากที่สุด ตามมาด้วยความกังวลต่อการเกิดโรคระบาดระลอกใหม่

ขณะที่ ประเด็นสุขภาพกายและจิตใจจะเป็นวาระสำคัญ ถัดจากประเด็นด้านเทคโนโลยี คนไทยโดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ประกอบการมองว่าการพัฒนาด้านสาธารณสุขและการที่สังคมให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นจะเป็นโอกาสสำคัญในโลกหลังโควิด-19

Sea Group เปิด 10 ข้อคิด การเดินทางสู่อนาคต หลังยุคโควิด

ผลสำรวจนี้ ชี้ว่า ทักษะการใช้เทคโนโลยี ความยืดหยุ่น วินัย และ Global mindset เป็น 4 ทักษะที่คนไทยระบุว่าสำคัญที่สุด แต่คนไม่ถึง 50% มองว่าตนเองมีทักษะเหล่านี้เพียงพอ สะท้อนให้เห็นความส าคัญของการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆของคนไทย (Upskill-Reskill)

'Sea Group'เปิด 10 ข้อคิดการเดินทางสู่อนาคต ดังนี้

1.โลกใหม่หลังไวรัส 

ในระยะเวลากว่าหนึ่งปีที่เราอยู่ร่วมกับโควิด-19 พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป อย่างมหาศาลจากการรับเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดว่ากระแสความเปลี่ยนแปลงจะยังไม่หยุดลงเพียงเท่านี้ โดยเฉพาะด้านการใช้ เทคโนโลยี สุขภาพและสาธารณสุข

2.เร่งช่วยเหลือ MSMEs และกลุ่มผู้หญิง

นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว MSMEs และกลุ่มผู้หญิง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิดหนักหน่วง ทั้งด้านเศรษฐกิจและสุขภาพจิต นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มนี้ยังมีศักยภาพในการปรับตัวสูง ทั้งมีการค้นพบธุรกิจใหม่ ๆ และมีความต้องการใช้เทคโนโลยีมากกว่ากลุ่มอื่น จึงเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดย MSMEs และกลุ่มผู้หญิงยังสามารถเป็นก าลังส าคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อีกด้วย

3.การส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ 

ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าโลกหลังโควิด-19 จะให้ความส าคัญกับการพัฒนา ระบบสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ โดยการตระหนักถึงความส าคัญของการดูแลสุขภาพจิตเกิดมาจากภาวะความเครียดในช่วงโควิด-19 ที่ยังไม่ได้รับความสนใจที่มากพอ

4. ดิจิทัลคือกุญแจในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

ผลการสำรวจครั้งนี้ยืนยันว่าคนไทยมีแนวโน้มเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ สูง และคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง เช่น MSMEs และผู้หญิง เชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทส าคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

5.ต่อยอดการเงินดิจิทัล

ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีการใช้ดิจิทัลเพย์เมนท์มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันจากธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น พร้อมเพย์เมื่อคนไทยมีพื้นฐานการใช้งานบริการทางการเงินแบบดิจิทัลขั้นพื้นฐานแล้ว จะสามารถต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีการเงินอื่น ๆ ได้ เช่น สินเชื่อดิจิทัล ซึ่งจะท าให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงมากขึ้นผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ อยากเห็นการบูรณาการเทคโนโลยี ดิจิทัลในบริการทางการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ MSMEs ที่อาจยังมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

6.ลด Digital Divide 

เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี เราจำเป็นต้องแก้ปัญหาเรื่อง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ทักษะดิจิทัล และประเด็นความปลอดภัยในโลกออนไลน์ โดยปัญหาใหญ่ที่สุดส าหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมักจะเป็นเรื่องทักษะและความรู้เรื่องดิจิทัล ในขณะที่ผู้ที่ใช้บ่อยอยู่แล้วจะมีปัญหาด้านการเข้าถึงอุปกรณ์และกังวลเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์

7.ใช้ Digitalisation Flywheel Effects

ให้เป็นประโยชน์รัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันสร้างวงจรบวกในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับคนที่ ยังไม่คุ้นเคยกับโลกออนไลน์ เช่น การพ่วงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจกับการส่งเสริมให้คนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มากขึ้น โดรายงานนี้พบว่าหากคนได้มีโอกาสลองใช้เทคโนโลยีจนเห็นประโยชน์แล้วอาจเกิดวงจรบวกที่ท าให้ยิ่งอยากเรียนรู้เพื่อใช้เครื่องมือดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทาให้ได้เห็นถึงประโยชน์มากยิ่งขึ้นอีก ในทางกลับกันสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ดิจิทัล อุปสรรคเพียงเล็กน้อยอาจท าให้การเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีหยุดชะงักได้

8.หาดิจิทัลแอมบาสซาเดอร์ 

คนจำนวนมากเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากกันและกันในช่วงที่มีการระบาดของโค วิด-19 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ควรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดทักษะดิจิทัลให้กัน ทั้งกลุ่มคนในรุ่นเดียวกันและข้ามรุ่นกัน โดยรายงานพบว่าบางครั้ง ดิจิทัลแอมบาสซาเดอร์ที่เป็นคนสอนนั้นอาจไม่จ าเป็นต้องเป็นรุ่นเด็กเสมอไป

 9.สร้างทัศนคติ วิธีคิดแบบผู้ประกอบการให้แรงงานไทย 

ทักษะดิจิทัลเป็นเรื่องจำเป็นในปัจจุบัน แต่ไม่อาจเพียงพอสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน เราต้องบ่มเพาะทัศนคติและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) ที่ช่วยให้คนไทยล้มแล้วลุก ปรับตัวและเรียนรู้ได้ไวขึ้น โดยทัศนคติและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี โดยไม่จ าเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการ

10.เปิดประตูสู่โลกกว้าง 

ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยยกให้ Global Mindset และทักษะด้านภาษา เป็นทักษะสำคัญ สำหรับอนาคตมากกว่าประเทศอื่น ๆ ดังนั้นภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาจึงควรพิจารณารูปแบบการศึกษา การทำงาน ที่เปิดให้คนได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากต่างประเทศและเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้เชื่อมโยงกับสังคมโลกมากขึ้น

คนไทยกังวลเรื่องเศรษฐกิจมากที่สุด 

ขณะที่ เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยกังวลมากที่สุดในโลกหลังวิกฤติโควิด-19 คือ 

1.วิกฤติเศรษฐกิจ

2.สถานการณ์โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

3.ความกังวลเกี่ยวกับข่าวปลอม (Fake News)

4.ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีมากขึ้น

5.ธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามามีอำนาจทางการตลาดมากเกินไป

6.สภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง

7.ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 

8.ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

9.ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล 

10.ความร่วมมือระหว่างประเทศที่ลดลง