AMD เปิดความท้าทายที่เหล่า CIO ใน เอเชียแปซิฟิก ต้องเผชิญ!!!
AMD เปิดความท้าทายที่ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญ ระบุ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีปัจจุบัน อยู่ในตำแหน่งที่มีความท้าทาย จากการดำเนินธุรกิจที่ผันผวนสูง ซึ่งคงเลี่ยงไม่ได้ ต้องปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของเทรนด์นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง
AMD เปิดบทวิเคราะห์ความท้าทาย CIO ในโลกยุคใหม่ ยกข้อมูลของ Deloitte ระบุว่า “ในกลุ่มประเทศอาเซียน 6 ประเทศ (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ไทยและเวียดนาม) มีผู้คนมากถึง 47.8 ล้านคนที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถทำจากที่ใดก็ได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” ดังนั้นการสร้างรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน จึงเป็นความท้าทายที่ CIO และ หัวหน้าฝ่ายไอที ทั่วทั้งภูมิภาคจะต้องเผชิญ
ข้อมูลจาก IDC ระบุว่ามีการคาดการณ์การใช้จ่ายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “ในปี 2564 จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่า 4.9% หรือคิดเป็นมูลค่า 924,000 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2567” จากการประเมินโดยคุณแดเนียล คัม ผู้อำนวยฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ (DCI) และการจัดการผลิตภัณฑ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Lenovo พบว่า “การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้าน ICT นั้นเป็นสัญญาณของความไว้วางใจและความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในด้านเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จในองค์กรต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
คุณแดเนียลอธิบายเพิ่มเติมว่า “ในขณะที่บริษัทต่างๆ เปลี่ยนไปเป็นศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ขั้นตอนสำคัญคือการนำอุปกรณ์ที่มีความชาญฉลาดมากขึ้นและโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถตอบสนองความต้องการในอนาคตมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ”
เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ การที่จะก้าวล้ำหน้าในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีจุดเด่นด้านเทคโนโลยี จะต้องคำนึงถึงพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. การใช้ประโยชน์และการติดตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยี เช่น 5G 2. การพิจารณาโซลูชั่นที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน และ 3. การลงทุนในด้านความปลอดภัย
อเล็กซี่ นาโวโลคิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายเชิงพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศญี่ปุ่น AMD ยักษ์ในอุตสาหกรรมชิพโลก กล่าวในประเด็นเหล่านี้ โดยระบุว่า ก่อนจะเจาะลึกรายละเอียดในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ขั้นแรก เราควรต้องทำความเข้าใจถึงความท้าทาย 2 ประการที่ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีต้องเผชิญในปัจจุบัน
เปิดความท้าทายที่ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญ
การเชื่อมต่อการทำงานจากที่ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพและมีการป้องกันอย่างดี แม้ว่าการทำงานจากที่ต่างๆ จะพบเห็นได้ทั่วไปในองค์กรปัจจุบัน แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นหากมองย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2563 เมื่อ CIO ต้องเผชิญกับกับความท้าทายครั้งใหญ่จากการที่พวกเขาต้องมาเป็นผู้นำเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรสู่การทำงานได้จากที่ต่างๆ สร้างแรงกดดันอย่างมหาศาลให้กับ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีทั่วทั้งภูมิภาคในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในกรอบเวลาที่เร่งเข้ามา เพื่อให้องค์กรมีรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยจากที่ต่างๆ
ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานจากที่ใดๆ ก็ได้ เป็นเพียงหนึ่งในความท้าทายมากมายที่ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีต้องเผชิญนับตั้งแต่เกิดการระบาด การระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลกในครั้งนี้ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจในปัจจุบันให้กลายเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
คุณแดเนียลวิเคราะห์ว่า “ข้อมูลคือสกุลเงินใหม่ และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีก็คือนายธนาคารคนใหม่ ในขณะที่การทำงานแบบแบบไร้สัมผัส (contactless) และการทำงานจากที่ใดก็ได้เติบโตขึ้น ทุกองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมใดในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ การสร้างอุปกรณ์และโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความชาญฉลาดมากขึ้นจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับทุกคน”
เทคโนโลยี นวัตกรรม และเทรนด์การนำมาใช้ประโยชน์ (5G)
ผู้บริหาร AMD กล่าวต่อว่า เพื่อให้องค์กรแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มากขึ้น CEO และผู้นำองค์กรธุรกิจเชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญ แนวความคิดนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่เป็นเรื่องปกติของธุรกิจชั้นนำระดับโลก จากบทความของ Deloitte Insight ที่เผยแพร่ในเดือนเมษายน ปี 2563 แสดงให้เห็นว่า CEO ต่างกำลังมองหา CIO ที่จะมาเป็นพันธมิตรกลยุทธ์ทางธุรกิจ ดูแลองค์กรผ่านวัฎจักรของการเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า CEO ต่างตระหนักรู้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมคือหนทางในการพัฒนาธุรกิจให้เดินไปข้างหน้า
ดังกล่าวไว้ข้างต้นว่า CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีในปัจจุบันนั้นอยู่ในตำแหน่งที่มีความท้าทายที่มีเอกลักษณ์อันเนื่องจากการดำเนินธุรกิจที่มีความผันผวนสูง ซึ่งคงเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ต้องมีการปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของเทรนด์นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีความเป็นต้องติดตามเทรนด์ของเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ ขณะที่ CIO ในปัจจุบันต่างตระหนักดีถึงศักยภาพในการสร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญของระบบคลาวด์ ไฮบริดคลาวด์และเทคโนโลยี edge computing ในส่วนของ 5G ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งทรัพยากรที่ CIO สามารถนำมาพิจารณาใช้ประโยชน์ได้
โอกาสในการสร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญของเทคโนโลยี 5G: จากรายงานของ STL Partners ที่สนับสนุนโดยบริษัท Huawei เปิดเผยว่า คุณประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G สามารถสร้างผลกำไรมูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ให้กับอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ได้ในปี 2573 ไม่ใช่แค่ในตลาดผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงตลาดอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ด้วยเทคโนโลยี 5G ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจะสามารถให้บริการและจัดการเครือข่ายที่กำหนดเองได้ในลักษณะเดียวกับระบบคลาวด์ ด้วยความสามารถในการปรับขนาด กำหนดพารามิเตอร์ (เช่น เวลาแฝง) และการเพิ่ม ฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติม (เช่น ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย) ทำให้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 เทคโนโลยี 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ
ด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยี 5G ข้างต้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G สามารถสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ทางใหม่ให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ ที่ถ้าใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่สามารถที่จะขยายธุรกิจได้ เช่น ในด้านค้าปลีก เทคโนโลยี 5G สามารถนำมาใช้เพื่อให้ประสบการณ์ในด้าน AR/VR แก่ลูกค้า และเครือข่าย IoT ขนาดใหญ่สำหรับการติดตามและจัดการสินทรัพย์
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่มันคือการเดินทาง เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบคลาวด์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้ความต้องการด้านการจัดการประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุปกรณ์ต่าง ๆ และเซิร์ฟเวอร์ในดาต้าเซ็นเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มมากขึ้น ดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กรระดับชั้นนำเริ่มมองเห็นความจำเป็นในการลดขั้นตอน โดยต่างมองหาโซลูชั่นนวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้พลังงานลดน้อยลงด้วยเหตุผล 2 ประการคือ
มองจากด้านการประมวลผล (โปรเซสเซอร์) โปรเซสเซอร์ที่ประหยัดพลังงานจะสามารถลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจก (GHG) ได้ในเวิร์คโหลดที่มีความหลากหลาย และอาจใช้เซิร์ฟเวอร์น้อยลง
การดำเนินงานแบบเชิงรุกในด้านนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระยะยาว นอกจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว เมื่อมีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว องค์กรจะสามารถเห็นผลจากการปรับปรุงได้อย่างชัดเจนจากค่า TCO ที่ต่ำลง
การป้องกันคือกุญแจสำคัญ
ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีความสำคัญ เป็นข้อมูลส่วนตัวและเป็นขององค์กรนั้นๆ เท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานที่มีระบบป้องกันภัยไม่แข็งแกร่งอาจทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงจาก ภัยร้ายทางไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบในระดับการผลิตของบริษัทในระยะสั้นเท่านั้น แต่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในระยาวอีกด้วย เนื่องจากลูกค้าอาจสูญเสียความไว้วางในธุรกิจของคุณ
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การรักษาความปลอดภัยในดาต้าเซ็นเตอร์จึงมีความสำคัญอย่างมากและควรได้รับการดูแลอย่างรัดกุม เพราะเมื่อคุณพูดถึงการรักษาความปลอดภัยในดาต้าเซ็นเตอร์ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่ธุรกิจส่วนใหญ่ต่างตกเป็นเหยื่อของระบบเดิม ๆ ในอดีต หรือนิยามง่าย ๆ ว่า เป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบไอทีที่ใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย นี่เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดที่หัวหน้าฝ่ายไอทีจะต้องเผชิญในยุคดิจิทัลปัจจุบัน
นอกจากนี้ IDC ยังยืนยันว่าระบบไอทีเดิมๆ และรูปแบบการทำงานที่ล้าสมัยมีความท้าทายในเรื่องการบำรุงรักษา และขัดขวางความสามารถขององค์กรด้านไอทีในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาในยุคดิจิทัล ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
องค์กรธุรกิจควรมีความเข้าใจว่าการปกป้องแอพพลิเคชั่นและข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์หรือบนระบบคลาวด์นั้นขึ้นอยู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ระบบสตอเรจ และโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย ถึงแม้ว่าผมจะเน้นย้ำเสมอว่าการป้องกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็มีความต้องการในระดับการป้องกันที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับกิจกรรมของธุรกิจนั้นๆ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้นำในการประเมินกิจกรรมการดำเนินงานทางธุรกิจในแบบภาพรวม จำนวนข้อมูลที่จะจัดเก็บ การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ
บทสรุป
เป็นเรื่องชัดเจนว่านวัตกรรม การริเริ่มโซลูชั่นการประหยัดพลังงาน การพัฒนาฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นวิธีที่ CIO สามารถนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องมีการลงทุนมหาศาล อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงองค์กรขนาดใหญ่มักจะมีทุนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและกิจกรรมการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงทีมากกว่าองค์กรขนาดเล็กที่มีกระแสเงินสดที่ค่อนข้างเข้มงวด
ธุรกิจต่าง ๆ กำลังจัดสรรเงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อ “เปิดโลกทัศน์” ซึ่งในขณะที่พวกเขาพยายามปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่มีความผันผวนอย่างมาก และไม่สามารถคาดเดาได้ในปัจจุบัน และทำให้ทรัพยากรเหลือไม่มากนักสำหรับการลงทุนในด้านนวัตกรรม แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้และเป็นเรื่องที่จำเป็นในหลาย ๆ กรณี แต่ CIO และหัวหน้าฝ่ายไอทีควรศึกษาและติดตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยีต่อไป เพื่อให้สามารถนำมาผสมผสานเข้ากับการดำเนินงานในธุรกิจได้เมื่อมีความพร้อม