"โพลาร์สตาร์สเปซ" สตาร์ทอัพญี่ปุ่น โชว์นวัตกรรมสำรวจพืชจากดาวเทียม
ผ่านไปแล้วกับ Rock Thailand ครั้งที่ 3 มาวันนี้กรุงเทพธุรกิจจะพาไปทำความรู้จักกับยูนิคอร์นในสตาร์ทอัพญี่ปุ่น ด้านธุรกิจสีเขียว ที่มาพร้อมกับความสำเร็จ และทิศทางต่อไปของธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน ที่จะเป็นการหนุนนำสู่การจับคู่ทางธุรกิจ
ในวงการสตาร์ทอัพเป้าหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่งนอกจากการก้าวสู่การเป็น "ยูนิคอร์น" ให้ได้แล้วนั้น การได้รับเงินลงทุนและการมีพาร์ทเนอร์จับคู่ธุรกิจ ก็มีความสำคัญไม่แตกต่างกัน
ซึ่งงาน "Rock Thailand" ในครั้งนี้ก็เปรียบเมือนกับเวทีที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นจากประเทศญี่ปุ่น ได้พบกับนักธุรกิจและผู้ที่สนใจในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การเชื่อมต่อทางธุรกิจและผลักดันสู่ความสามารถในการแข่งขัน
มาเริ่มกันที่รายแรกกรุงเทพธุรกิจจะพาไปรู้จักกับ "Polar Star Space" โพลาร์สตาร์สเปซ เทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็ก และระบบสเปกตรัมที่ไม่เหมือนใคร ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตร โดยบริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2560 ก่อตั้งโดย ทากาฮิโระ นากามูระ ผู้ร่วมก่อตั้งที่ร่วมกับบริษัท Venture ของมหาวิทยาลัยฮอกไดโด ซึ่งบริษัทฯถูกเลือกให้เป็น J-Startup โดยรัฐบาลญี่ปุ่น และมีดาวเทียมพิเศษในอวกาศที่สามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำทุกวัน เมื่อเทียบกับดาวเทียมปกติจะไปที่จุดเดิมทุก 2-3 สัปดาห์
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดโรคในฟาร์มที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียในแต่ละปีสูญเงินมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ดังนั้นดาวเทียมสำรวจขนาดเล็กจึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะเข้ามาช่วยให้สามารถดูฟาร์มเหล่านี้จากอวกาศ เพื่อระบุโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก
ซึ่งขณะนี้บริษัทฯกำลังดำเนินการโปรเจ็กต์ที่แตกต่างกันอยู่ 2 โปรเจ็กต์ โดยโปรเจ็กต์แรกคือ การสำรวจต้นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์ และอีกโปรเจ็กต์คือการสำรวจต้นปาล์มในประเทศมาเลเซีย
ซึ่งในมาเลเซียคาดหวังที่จะลดการสูญเสียให้ได้กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐทุกๆปี รวมถึงในประเทศอินโดนีเซียอีกพันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกล้อง RGB ปกติไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอได้ โดยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้ทำการค้นคว้าโรคในต้นกล้วย ในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้สามารถระบุโรคในไร่กล้วยได้สำเร็จ นั่นก็คือ โรคตายพรายในกล้วยโดยใช้กล้อง DIWATA Satellite ระบุจากความสูง 600 กิโลเมตรบนท้องฟ้า หลังจากนั้นได้ทำการประสานงานกับผู้ปฏิบัติงานภาคพื้นดินเพื่อแยกพืชที่เป็นโรคออกเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือในการค้นพบ และพบว่าแม่นยำกว่า 90%
รวมทั้งได้มีการสำรวจสวนปาล์มน้ำมัน ในประเทศมาเลเซีย โดยการเปรียบเทียบภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยกล้อง 3 ตัวที่แตกต่างกัน พบว่าการใช้กล้องสเปกตรัมดาวเทียมของที่เรียกว่า LCTF camera ทำให้ได้ผลลัพธ์คือ สามารถระบุโรคได้ ซึ่งกล้องหรือโดรนทั่วไปไม่สามารถตรวจจับได้
"โรคระบาดในพืชมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องได้รับการระบุแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นปาล์มใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 เดือนก็สามารถทำให้ต้นไม้ตายได้ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ อาทิ พื้นที่กว่า 3 หมื่นไร่ต้องใช้การบินโดรนกว่า 1 หมื่นครั้ง ดังนั้นดาวเทียมจึงเหมาะกว่าในการตรวจสอบพื้นที่จำนวนมหาศาลแบบนี้ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีภาคพื้นดิน อย่าง โดรน หรือ อุปกรณ์แบบพกพา"
ทั้งนี้ประสบการณ์ที่เคยทำงานมาหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ข้าว องุ่น กล้วย ยาง ถั่วเหลือง เป็นต้น ก็สามารถระบุได้อย่างแม่นยำ ส่วนการตรวจโรคในระยะเริ่มแรกยังคงไม่มีใครสามารถทำได้ ซึ่งเราก็กำลังดำเนินการค้นคว้าและแก้ไขอยู่ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน