กู๊ดด็อกเตอร์ฯ เผยแพทย์ทางไกลมิติใหม่ของการรักษาที่รวดเร็ว
กู๊ด ด็อกเตอร์ฯ เผยโควิด-19 ตัวเร่งสำคัญหนุนการให้บริการแพทย์ทางไกลโต ชงผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและผู้ป่วยจำเป็นต้องเชื่อมต่อกันทางดิจิทัลมากขึ้น พร้อมนำบริการแพทย์ทางไกลมาใช้อย่างรวดเร็วและทั่วประเทศ เพื่อบริหารจัดการด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนไทย
นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย เปิดเผยว่า หนึ่งในบทเรียนมากมายที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 คือ ความสำคัญในการจัดสรรการดูแลที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย เพื่อลดปัญหาด้านความจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ที่เตียงผู้ป่วยขาดแคลนเนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสที่มีความรุนแรงเช่นนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเน้นรักษาผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบและปกป้องผู้อื่นจากการแพร่เชื้อก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพที่มีอยู่จำกัดนั้น จะมีพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคโควิด-19 ต่างเลือกที่จะเลื่อนการนัดหมายออกไป เนื่องจากเกิดความกลัวติดเชื้อ และมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนจำนวนมากตามสถานพยาบาล ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมารับบริการที่สถานพยาบาลนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด
"เราทราบดีว่าการป้องกันไว้ก่อนนั้นดีกว่าการรักษาทีหลังอย่างแน่นอน และการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมดีกว่าการรักษาที่ช้าไป การเลื่อนพบแพทย์ออกไปเช่นนี้ อาจช่วยลดความกดดันต่อการให้บริการทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆได้ในทันที แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจทำให้การรักษาที่จำเป็นและทันท่วงทีต้องถูกเลื่อนออกไปเช่นกัน การเลื่อนการรักษาเช่นนี้ บ่อยครั้งมักเป็นการเพิ่มความรุนแรงของเคสผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการรักษาสูงขึ้นเพื่อรับมือกับอาการที่ร้ายแรงและซับซ้อนมากขึ้นที่ตามมา ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพและตัวผู้ป่วยเองที่จะพิจารณาถึงการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพที่ทันท่วงที โดยไม่กระทบและเป็นภาระต่อสถานพยาบาลมากจนเกินไป ไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด หรือสถานการณ์อื่น ๆ ก็ตาม"
ในฐานะแพทย์ผู้ให้บริการการแพทย์ทางไกลและ เชื่อมั่นในเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ระบบดิจิทัลซึ่งทำให้ประชาชนสามารถกลับมาดูแลสุขภาพของตนเองได้ จึงได้สนับสนุนให้นำการบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาใช้อย่างรวดเร็วและทั่วประเทศมากขึ้น เพื่อมาจัดการการจัดการด้านสุขภาพทั่วไปและความเป็นอยู่ที่ดี ( wellness) ได้อย่างเต็มที่ แทนที่จะมองว่าการบริการแพทย์ทางไกล เป็นการให้บริการเฉพาะกิจแค่ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดเท่านั้น ทั้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและผู้ป่วยจำเป็นต้องเชื่อมต่อกันทางดิจิทัลมากขึ้น
ตลอดจนเพิ่มระดับความสะดวกสบายและความมั่นใจในการให้คำปรึกษาของแพทย์กับผู้ป่วยผ่านช่องทางเสมือนจริงออนไลน์ แพทย์ควรกำหนดว่าผู้ป่วยรายใดบ้างที่สามารถเข้ารับบริการการแพทย์ทางไกลได้ และผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นประจำควรทราบว่ายังมีตัวเลือกที่จะสามารถเข้ารับการดูแลรักษาได้อย่างต่อเนื่องผ่านแอพพลิเคชันการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลบนมือถือ
"เราเชื่อว่าการบริการแพทย์ทางไกลจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปรับปรุงการจัดการเชิงรุกและการช่วยเหลือทางการแพทย์ของผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรคที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน (โรคไม่ติดต่อ 2 อันดับแรกของประเทศไทย) ด้วยการใช้บริการการบริการแพทย์ทางไกลอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการติดตามอาการของตนเองอย่างถี่ถ้วนและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้"
ทั้งนี้นอกเหนือจากผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังแล้ว ผู้ใช้บริการการแพทย์ทางไกลยังได้รับประโยชน์จากการบริการดูแลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมของพวกเขา ทำให้การดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น การบริการแพทย์ทางไกล เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อรับคำแนะนำด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี (wellness) โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ในขณะที่ตัวเองเจ็บป่วยแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การบริการแพทย์ทางไกลกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องริเริ่มโครงการในการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มพูนความรู้และกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ถึงการเข้าถึงการบริการด้านดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัลมากขึ้น อันจะมีผลทำให้คนไทยจำนวนมากจะได้รับโอกาสในการดูแลสุขภาพโดยรวมของตนเองแบบเชิงรุกได้ดีกว่าที่เคย วิธีนี้จะช่วยให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงแพทย์ และสามารถพูดคุยกับแพทย์ได้แม้จะยังไม่ต้องเจ็บป่วย
ซึ่งจะแตกต่างจากการให้บริการที่ทำอยู่ในปัจจุบันที่แพทย์จะสามารถให้การดูแลเมื่อผู้ป่วยล้มป่วยแล้ว หรือ เมื่ออาการที่มีอยู่ยังไม่ดีขึ้นหลังจากความพยายามรักษาตัวเองแล้วเท่านั้น การบริการแพทย์ทางไกลและการบริการการดูแลสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ มีศักยภาพในการเปลี่ยนวิธีจัดการด้านสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาได้รับความสะดวกสบายและมีโอกาสได้เข้าถึงรวมทั้งปรึกษาแพทย์ได้โดยตรงผ่านดิจิทัลแอปพลิเคชัน ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ที่ กู๊ด ด็อกเตอร์ ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อกับทีมแพทย์ประจำได้ภายในเวลาเพียง 60 วินาที โดยไม่จำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้าใด ๆ ความพร้อมในการให้คำปรึกษาแบบทันทีและความสามารถในการเข้าถึง และติดต่อกับแพทย์ได้ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนไม่ต้องล้มป่วยไปก่อนที่จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับข้อสงสัยด้านสุขภาพต่างๆ
ดังนั้นความสำคัญในเรื่องของการประหยัดเวลาในการให้บริการการดูแลสุขภาพผ่านการบริการแพทย์ทางไกลเป็นการเฉพาะ เวลาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะได้รับยาที่จำเป็นที่แพทย์สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยมักซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน การบริการแพทย์ทางไกลอันประกอบไปด้วยขั้นตอนการพูดคุยในการคำปรึกษาออนไลน์ การออกสั่งยา และการจัดเตรียมส่งยาตามที่สั่งจ่าย สำหรับกระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญเหล่านี้
การบริการแพทย์ทางไกลได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีความจำเป็นเพื่อช่วยลดปัญหาด้าน ความคับคั่งในการใช้การบริการของโรงพยาบาล และยังช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้ป่วยด้วย ซึ่งภายใต้การดูแลของกู๊ด ด็อกเตอร์ ความเร็วในการจัดส่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับเครือข่ายร้านขายยา ยิ่งเชื่อมต่อกับร้านขายยาในสถานที่ต่าง ๆ ได้มากเท่าไหร่ ผู้ป่วยก็จะยิ่งได้รับยาถึงบ้านได้เร็วขึ้นเท่านั้น
นี่คือเหตุผลที่ผู้ป่วยของ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย สามารถเชื่อมต่อกับทีมแพทย์ประจำได้อย่างง่ายดาย เพื่อเริ่มพูดคุยแบบเรียลไทม์ผ่านข้อความภายใน 60 วินาที รับการวินิจฉัยและแผนการรักษาที่แนะนำภายใน 15 นาที และส่งมอบยาถึงมือผู้ป่วยภายในหนึ่งชั่วโมง รูปแบบการจัดส่งยาที่รวดเร็วของเราเกิดขึ้นได้จากเครือข่ายร้านขายยาขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศไทย โดยในปัจจุบันเรามีร้านขายยากว่า 300 ราย ใน 40 จังหวัด
รวมทั้งมีการบริการด้านการดูแลสุขภาพหลายประเภทที่การบริการแพทย์ทางไกลสามารถเข้ามาเป็นส่วนเสริมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามและการรักษาอาการต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความแพร่หลายของการบริการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และ ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้เครื่องมือดิจิทัลด้านสุขภาพเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองในเชิงรุก