เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร 'ชินคอร์ป' จาก 'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ 'กัลฟ์'

เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร 'ชินคอร์ป'  จาก 'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ 'กัลฟ์'

21 มิ.ย.ถือเป็นวันครบรอบ 40 ปี อาณาจักรชินคอร์ป อาณาจักรธุรกิจสื่อสารแสนล้าน ที่มั่งคั่ง และมีความเกี่ยวพันกับธุรกิจการเมืองอย่างแยกไม่ออก ....

Key Points : 

  • ครบรอบ 40 ปี ชินคอร์ป ตำนานบริษัทเอกชนสื่อสารของไทย
  • ปี 49  “ชินคอร์ป” ขายหุ้นทั้งหมด ให้ “เทมาเส็ก โฮลดิงส์”
  • สุดท้าย เปลี่ยนชื่อเป็น อินทัช โดยมีผู้ถือหุ้นใหม่ คือ กัลฟ์ 

เส้นทางของ ชิน คอร์ป กว่าจะแปรเปลี่ยนมาถึงวันนี้ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคือ ผู้ก่อตั้ง อาณาจักรสื่อสารแสนล้าน และเป็นอาณาจักรเดียวในยุคนั้นที่ได้ชื่อว่ามีศักยภาพ และนำพาเทคโนโลยีสื่อสารสู่มือคนไทยเป็นบริษัทแรก 

เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\'

จุดเริ่มต้นของ “อาณาจักรชิน คอร์ปอเรชั่น”

ปี 2525 ทักษิณ ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท และเมื่อธุรกิจขยาย จึงได้ก่อตั้งบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ในเดือนมิ.ย.ปี 2526 ทำธุรกิจขายคอมพิวเตอร์ จากนั้นบริษัทได้รับผลกระทบจากการลดค่าเงินบาท ปี 2527 ทำให้ 'ขาดทุน' จากการซื้อคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ และผลดังกล่าวส่งผลให้เกิดหนี้สินเพิ่มเติมที่เมื่อรวมกับหนี้สินเก่ามีมูลค่าอยู่ที่ 200 ล้านบาท

ปี 2530 ทักษิณ ได้บุกเบิกนวัตกรรมการสื่อสารริเริ่มธุรกิจ “Bus Sound” ให้บริการวิทยุบนรถเมล์ ขสมก.ไปช่วยทำวิทยุบนรถเมล์ ลงทุนไปประมาณ 20 ล้าน แต่มีเหตุให้ต้องโดนระงับ เพราะระบบใหม่ ยังไม่เคยมีใครใช้มาก่อน และมีคลื่นแทรกที่ควบคุมไม่ได้

จึงได้หันเหมาทำ บริษัท เซฟตี้ ออร์เดอร์ ซิสเต็ม เอส.โอ.เอส.เครื่องส่งสัญญาณ SOS เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปที่ call center เป็นเครื่องมือเรียกความช่วยเหลือจากตำรวจ ลงทุนไป 20 ล้าน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ 

เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\' เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\'

ปี 2532 ริเริ่มธุรกิจ เชื่อมต่อคนไทยกับความรู้ระดับโลกก่อตั้ง บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือไอบีซี เป็นตัวแทนในการยื่นเสนอโครงการ ‘เคเบิล ทีวี’ ต่อองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อสมท. ซึ่งมีงบประมาณการลงทุนมากกว่า 50 ล้านบาท

เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\'

ไอบีซีได้เป็นตัวกลางเชื่อมต่อคนไทย และความรู้ระดับโลกจากช่องโทรทัศน์ชื่อดังทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น CNN , NBC ,ABC หรือ NHK รวมถึงความบันเทิงรูปแบบต่างๆ เช่น ช่องกีฬาข่าวบันเทิง การ์ตูน และภาพยนตร์

เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\' เส้นทาง 40 ปีอาณาจักร \'ชินคอร์ป\'  จาก \'ชินวัตร - เทมาเส็ก สู่อุ้งมือ \'กัลฟ์\'

เปิดบริษัท ‘เอไอเอส’ 

จากนั้นในปี 2533 ก้าวสำคัญ เชื่อมต่อคนไทยอย่างไร้พรมแดนตอกย้ำความสามารถธุรกิจด้านโทรคมนาคมด้วยการเปิดบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ให้บริการ ‘โทรศัพท์มือถือ’ และจนถึงวันนี้ เอไอเอสมีลูกค้าที่ใช้งานมากกว่า 46 ล้านราย ซึ่งได้รับการตอบรับจากตลาดอย่างเกินคาด

ส่งผลให้ หุ้นชินวัตรทะยานตัวขึ้นหลายเท่าตัว ต่อมาปี 2549 ตัดสินใจขายหุ้นบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แล้วนำส่วนที่เหลือไปลงทุนส่วนตัวต่อไป ซึ่งเพิ่มมูลค่าหุ้นจาก 5,000 ล้านบาทเป็น 70,000-80,000 ล้านบาท

 

ปี 2534 ต่อยอดการสื่อสาร ดาวเทียมเพื่อการศึกษาทางไกลเริ่มต้นทำ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแรก และบริษัทเดียวของประเทศไทย ที่เป็นผู้ให้บริการธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม ซึ่งในปี พ.ศ.2536 ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของคนไทยถูกส่งขึ้นสู่ ห้วงอวกาศ

โดยได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “ไทยคม” (THAICOM) มาจากคำว่า Thai Communication หรือ ไทยคมนาคม จากนั้นมาทักษิณก็โดดเข้ามาเล่นการเมืองเต็มตัว

'ยิ่งลักษณ์' น้องสาวอดีตซีอีโอ เอไอเอส

ขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวทักษิณ ก็เข้าสู่แวดวงธุรกิจของครอบครัว เธอเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส โดยขึ้นถึงประธานกรรมการบริหารบริษัทเป็นตำแหน่งสุดท้าย

ทีมขุนพล ธุรกิจ ระดับตำนาน 

ชินคอร์ป ในยุคแรกนั้น นับว่าเป็นที่รวมสุดยอด ขุนพลทางธุรกิจชั้นนำของไทยเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น นายบุญคลี ปลั่งศิริ ,นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล, นายสมประสงค์ บุญยะชัย ฯลฯ ที่ยังได้รับการกล่าวขาน เล่าลือ ถึงกลยุทธ์ วิธีคิด เป็นต้นแบบการทำธุรกิจมาถึงทุกวันนี้ 

จุดเปลี่ยน ขายหุ้นชินคอร์ป ให้เทมาเส็ก 

ปี 2549 ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาถึง “ตระกูลชินวัตร” เมื่อได้ขายหุ้นถือครองใน “ชินคอร์ป” ทั้งหมด ให้กับ “เทมาเส็ก โฮลดิงส์” ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยเข้ามาถือหุ้นผ่าน “ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ในสัดส่วน 51.98%” และ “แอสเพน โฮลดิ้งส์ ในสัดส่วน 44.14%” มูลค่าการขายกิจการอยู่ที่ 73,271,200,910 บาท นับเป็นการซื้อขายหุ้นที่มีมูลค่ารวมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น

หลังการเข้ามาของ เทมาเส็ก ได้จัดการโครงสร้างการถือหุ้นในหลายด้าน เพื่อให้ธุรกิจกลับมาโฟกัสที่การสื่อสาร และคอนเทนต์ รวมถึงปรับโครงสร้างของเอไอเอสและไทยคม โดยการขายบริษัทลูกบางแห่งออกไปและที่สำคัญคือ การเปลี่ยนชื่อบริษัทจากชินคอร์ป เป็นอินทัช ในปี 2554

กัลฟ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ชินคอร์ป 

และในปี 2563 เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกครั้ง เพราะมีชื่อบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด โดยมีสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้ามามีชื่อขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นอันดับที่ 4 ของบริษัทด้วยสัดส่วน ถือหุ้น 4.59% ซึ่งถือเป็นการครอส เซ็กเมนต์ของธุรกิจจากโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจไอทีโทรคมนาคม ทำให้ปัจจุบันอาณาจักรชินคอร์ป ได้ถูกเปลี่ยนมือแล้วอย่างสมบูรณ์ และ 'ทักษิณ' ก็ไม่ใช่เจ้าของอีกต่อไป

 

ที่มา : เนื้อหาบางส่วน https://www.thaksinofficial.com/

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์