‘เอไอเอส’ ชู ‘อีโคซิสเต็มส์ ฟอร์ กรีน อีโคโนมี’ หนุนธุรกิจโตยั่งยืน

‘เอไอเอส’ ชู ‘อีโคซิสเต็มส์ ฟอร์ กรีน อีโคโนมี’ หนุนธุรกิจโตยั่งยืน

‘เอไอเอส’ ชู ‘อีโคซิสเต็มส์ ฟอร์ กรีน อีโคโนมี’ เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมพาร์ทเนอร์ ตั้งเป้าสู่ 'HUB of E-waste' หรือศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)  กล่าวในงาน สัมมนาของ ฐานเศรษฐกิจ ROAD TO NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ ว่า ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศ

เอไอเอส ยังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันของคน เศรษฐกิจ และโดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ที่วันนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน ผ่านการวางแผนการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือแม้แต่การบริหารจัดการขยะ ภายใต้โครงการคนไทยไร้ E-waste

‘เอไอเอส’ ชู ‘อีโคซิสเต็มส์ ฟอร์ กรีน อีโคโนมี’ หนุนธุรกิจโตยั่งยืน

 

โดยการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ เอไอเอส ตั้งเป้าสู่การเป็น HUB of E-waste หรือศูนย์กลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ร่วมกับพันธมิตรขยายจุดทิ้งขยะ E-waste มากกว่า 2,500 แห่ง โดยปัจจุบันเรามีการสะลมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้นแล้ว

"เอไอเอส ได้เน้นเอาดิจิทัล เทคโนโลยี และโซลูชั่น ผนึกกับการทำงานของไอโอที เอไอ และยานพาหนะไร้คนขับมาช่วยเพิ่มคุณภาพและบริการให้แก่พันธมิตรที่อยู่ในห่วงโซอุปทานของอีโคซิสเต็มส์ โดยมีการรายานตัวเลขจากสมาคมจีเอสเอ็มระบุว่า ในภาคของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึง 0.4% แต่หากเอไอเอสช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นโดยเอาเทคโนโลยีไปช่วยดังที่กล่าวมา ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซลงได้มากกว่า 10 เท่า"

นางสายชล กล่าวว่า การเดินทางสู่ Cognitive Tech-Co เป็นภารกิจหลักของเอไอเอสที่เราต้องการยกระดับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ให้มีขีดความสามารถและมาตรฐานระดับสากล ที่สำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ โครงข่ายเน็ตบ้านที่คุณภาพดีที่สุดและครอบคลุมที่สุดในประเทศ รวมถึงสิทธิพิเศษ และงานบริการที่ดีที่สุด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการมุ่งส่งมอบคุณภาพและประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

โดยแบ่งออกเป็น 3 ความอัจฉริยะ คือ 1. Smart Customer คือในแง่ของลูกค้าเอไอเอสที่มีการ 46 ล้านราย มีการปรับพฤติกรรมในงานผ่านบริการดิจิทัลเซอร์วิส ผ่าน myAIS App กว่า 10 ล้านราย มีการขอเรียกดูบิลค่าบริการผ่านแอปพิเคชันลดการใช้ส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นกระดาษไปที่บ้าน โดยเอไอเอสได้จัดทำอี-บิลไปมากกว่า 111 ล้านใบ นอกจากนี้ ยังขอรับใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีทางแอปอีกมากกว่า 125 ล้านใบด้วย

2.Smart Factory และ 3. Smart Logisti โดยใช้ 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัด และเพิ่มขีดความสามารถใหม่ๆ ให้กับโซลูชั่นสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยคุณสมบัติใหม่ของ 5G ในเรื่องแบนด์วิธ (Bandwidth) ที่รองรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมาก ด้วยความเร็วสูง  ค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ที่รองรับการทำงานที่ต้องการความแม่นยำหรือการควบคุมเครื่องจักรอุปกรณ์ระยะไกล และการรองรับการเชื่อมต่อใช้งานได้จำนวนมาก

ทั้งนี้ เพื่อการใช้งานอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ในการควบคุมการขนส่งรถระยะไกลโดยใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือความตั้งใจของเอไอเอสในการขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มส์ ฟอร์ กรีน อีโคโนมี เพื่อประเทศไทย