"ดีป้า"เปิดชุมชนดิจิทัลโดรนใจ นำร่องโมเดลสมาร์ทฟาร์มมิ่ง
โดรนช่วยสมาร์ทฟาร์มมิ่ง ตั้งเป้า 500 ชุมชน จำนวน 4 ล้านไร่ ทั่งประเทศนั้น คาดว่าจะเปิดตัวโครงการได้ใน 2 เดือน เล็งเปิด 5 ศูนย์สอบใบอนุญาตกระจายทุกภูมิภาค
ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า จากนโยบายของ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ได้ให้เร่งดำเนินโครงการ “ชุมชนดิจิทัลโดรนใจ” ใช้ โดรนช่วย ในการทำการเกษตรอัจฉริยะ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง ตั้งเป้า 500 ชุมชน จำนวน 4 ล้านไร่ ทั่งประเทศ นั้น
ดีป้า คาดว่าจะเปิดตัวโครงการได้ใน 2 เดือนข้างหน้า โดนจะมีการเปิด 5 ศูนย์สอบใบอนุญาตโดรน ซึ่งจะใช้พื้นที่สำนักงานสาขาของดีป้าในต่างจังหวัด ใน 5 ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในชุมชนขอใบอนุญาตในการควบคุมบังคับโดรน จากที่ผ่านมาต้องไป ขออนุญาต กับทาง สำนักงาน กสทช. และสอบใบอนุญาตกับสถานบันการบินพลเรือน โดยอาจจะเรื่มในพื้นที่ที่พร้อมก่อน เช่น จ. พิษณุโลก อุบลราชธานี ขอนแก่น และสงขลา เป็นต้น
“ทางดีป้า จะมีการทำงานร่วมกับสำนักงาน กสทช. ,สถาบันการบินพลเรือน และกามวิชาการเกษตร เพื่อดูข้อกฎหมายต่างๆ โดยอาจจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู ร่วมกัน ซึ่งทาง สถาบันการบินพลเรือน ก็จะมีออกประกาศระเบียบ ออกมาเกี่ยวกับการสอบใบอนุญาตขับขี่โดรน เพื่อใช้ในการเกษตร เช่น พ่นยาฆ่าแมลง ต้องผ่านมาตรฐานอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชน หรือประชาชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เป็นต้น”
เขา กล่าวต่อว่า หน่วยงานที่มีกฎหมายของตนเองต้องมีการออกมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้มา โดยจะมีการเข้ามา ทำงานรวมกันอาจเป็นในรูปแบบคณะทำงาน ซึ่งในเบื้องต้นอาจนำร่องใน 50 ชุมชนก่อน เพื่อให้หัวหน้าชุมชน ไปรวมกลุ่มหรือหาสมาชิกเพิ่มอีก 10 ชุมชน โดยใน 1 ศูนย์สอบใบอนุญาตฯ
ที่จัดตั้งขึ้นจะมีหน้าที่ในการดูแล จำหน่าย และซ่อมบำรุงด้วย เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานเพื่อนำโดรนไปใช้ประโยชน์ และศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นยังต้อง มีศูนย์แซนบอกซ์หรือทดลองเพื่อใช้ในการเรียนบินโดรนด้วย โดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 5-10ไร่
“โครงการนี้จะเป็นลักษณะร่วมลงทุน หรือแมชชิ่ง ฟันด์ เช่น ศูนย์ซ่อมโดรน ทางเบื้องต้นดีป้าจะลงทุนให้ 5 แสน และชุมชนต้องลงทุน 5 แสน ในการตั้งธุรกิจ และชุมชนต้องมีการทำแผนธุรกิจ เพื่อนำโดรนไปบินให้ได้ 8,000 ไร่ต่อปี ส่วนค่ายา วัสดุอุปกรณ์ ชุมชน หรือเกษตรกรต้องออกเอง และในปีต่อไปหากสามารถนำโดรนไปใช้งานได้ 8,000 ไร่อีก ก็จะทำให้ศูนย์ฯอยู่รอด คิดค่าบริการในราคาต้นทุนได้”