ทรู ชูจริยธรรม 'เอไอ' มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมต่อยอดการใช้งานดิจิทัล

ทรู ชูจริยธรรม 'เอไอ' มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมต่อยอดการใช้งานดิจิทัล

ทรูมุ่งสู่การยกระดับกลยุทธ์การดำเนินงานโดยนำเอไอมาใช้อย่างยั่งยืน เพิ่มบทบาทองค์กร-ธุรกิจ ให้พัฒนาการใช้งานเอไอในการดำเนินงาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมรักษาความรับผิดชอบในระดับสูงตามมาตรฐานจริยธรรม

·      ยกระดับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในไทยอย่างมีจริยธรรมและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด

·      พัฒนาบริการ เอไอ เพื่อผู้บริโภคในไทย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

·      เผยแพร่แนวทางการใช้ เอไอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรทั้งในด้านคนและจริยธรรมในไทย

ชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร และผู้บริหารที่ดูแลงาน Digitalization และ Transformation บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้ามามีส่วนสำคัญต่อยอดในการทำงาน วันนี้เราต้องแน่ใจว่า เอไอ ได้พัฒนาดีขึ้นควบคู่กับแนวทางจริยธรรมและความปลอดภัย นั่นคือเหตุผลที่ทรู ไม่เพียงแต่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในประเทศไทยด้วยเอไอเท่านั้น

แต่เรายังให้ความสำคัญต่อกฎบัตรเอไอ ที่นำมาใช้งานด้วยจริยธรรม เราเชื่อว่าแนวทางบูรณาการที่คำนึงถึงเทคโนโลยี ผู้คน และจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยในการผสานสู่การใช้ขีดความสามารถเอไอ

ทรู ชูจริยธรรม \'เอไอ\' มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมต่อยอดการใช้งานดิจิทัล

AI-เพิ่มขีดความสามารถคน

ชารัด กล่าวต่อไปว่า ทรู ได้ใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยในการบริการลูกค้า ซึ่งทำให้ลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน และปกป้องข้อมูลของส่วนบุคคลของลูกค้า โดยเอไอได้มีส่วนในการทำให้ศูนย์บริการลูกค้าทรูและดีแทคดำเนินงานแบบไร้กระดาษ 100% ในปี พ.ศ. 2566 และตั้งเป้าปี พ.ศ. 2570 จะใช้ระบบอัตโนมัติ 100% ในงานพื้นฐานประจำวัน

ขณะนี้ ศูนย์บริการทรูและดีแทค พร้อมกับตัวแทนร้านค้าได้นำโซลูชันเอไอมาใช้งาน ทำให้สามารถวินิจฉัยปัญหาและเสนอแนะได้ทันที ลดเวลาในการจัดการลง 35% รวมถึงการนำเอไอมาใช้กับแชทบอท บริการลูกค้าประมาณ 150,000 รายการต่อเดือน นอกจากนี้ เพื่อการนำโซลูชันมาใช้งานดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ทรู ได้กำหนดเป้าหมายจัดการฝึกอบรม "Citizen Developer" นักพัฒนาที่เป็นพนักงานจำนวน 200 รายในปี พ.ศ. 2570 นี้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปและไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการพัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างระบบดิจิทัลได้

ชนนิกานต์ จิรา หัวหน้า ทรู ดิจิทัล อคาเดมี กล่าวว่า “การยกระดับทักษะด้านเอไอ ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนเพื่อประเทศไทย สำหรับทรู ดิจิทัล อคาเดมี เราเชื่อในพลังของเอไอ และมนุษย์ผสานรวมกัน และทุกบทบาทนำเอไอมาเสริมศักยภาพ นั่นเป็นเหตุผลที่เรามองเอไอจากทั้งมุมมองทางเทคนิคและมุมมองทางธุรกิจ เราสอนทักษะเฉพาะด้าน เช่น วิทยาการข้อมูล และการวิเคราะห์ พร้อมกับหลักสูตรทักษะด้านเอไอเกี่ยวกับการทรานฟอร์มของดิจิทัล การเป็นผู้ประกอบการ และทักษะผู้นำ

ทรู ยังใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งมาคาดการณ์การในการดำเนินการของอุปกรณ์ที่ใช้งานต่างๆ แบบเรียลไทม์ ดังนั้น ในช่วงที่มีอัตราการใช้งานน้อย สามารถปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานโดยไม่กระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า ดังนั้น สามารถลดการใช้พลังงานลง 10-15% นี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามุ่งสู่เป้าหมายการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัท ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% ภายในปี พ.ศ. 2573

นอกเหนือจากการติดตั้งเอไอไว้ในระบบการให้บริการและการดำเนินงานของบริษัทแล้ว ทรู ยังนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้กับลูกค้ากลุ่มธุรกิจอีกด้วย โดยกลุ่มทรู ดิจิทัล ได้พัฒนาโซลูชั่นด้านการค้าปลีก เกษตรกรรม และสุขภาพ โดยผสานข้อมูลจากอุปกรณ์ ไอโอที การใช้งาน 5G และแมชชีนเลิร์นนิ่ง เข้าด้วยกันเพื่อการใช้งานรูปแบบต่างๆ ดังนั้น จึงสามารถยกระดับสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะไปจนถึงฟาร์มอัจฉริยะและการค้าปลีกอัจฉริยะ มาช่วยเพิ่มความปลอดภัย การขนส่งสินค้ารวดเร็ว และลดการใช้พลังงาน

ทรู ชูจริยธรรม \'เอไอ\' มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมต่อยอดการใช้งานดิจิทัล

หลักการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ของทรู

จรรยาบรรณที่ดี (Good Intent): ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ควรใช้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น

ความเป็นธรรมและลดอคติ (Fairness and Bias Mitigation): ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อการใช้งาน

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Data Privacy and AI Functionality): ควรคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย

ความโปร่งใส (Transparency): การตัดสินใจของปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ต้องสามารถอธิบายได้