'เอไอเอส' ผนึก 'เซ็นทรัล' ดันแผนยั่งยืน ถอด 'โมเดลญี่ปุ่น' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

'เอไอเอส' ผนึก 'เซ็นทรัล' ดันแผนยั่งยืน ถอด 'โมเดลญี่ปุ่น' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

เอไอเอส เปิดยุทธศาสตร์ความยั่งยืนครั้งใหญ่ ผนึกพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม ’กลุ่มเซ็นทรัล' ปลุกพันธกิจรักษ์โลก สร้างโมเดล 'จัดการขยะ' จาก ‘ญี่ปุ่น’ หนุนทุกภาคส่วนจัดการขยะได้แบบ 100% ต่อยอดบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่เป้า 'เน็ต ซีโร่' ปี 2593

เมื่อธุรกิจยุคใหม่ไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดด้าน ‘ผลกำไร’ มาบอกถึงความสำเร็จได้เพียงด้านเดียว การมีส่วนร่วมดูแลเศรษฐกิจ คน สังคม และสิ่งแวดล้อม กลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญอีกด้าน การนำพาองค์กรสู่ปลายทาง 'เน็ต ซีโร่' คือ อีกเรื่องใหญ่ของ เอไอเอส เพื่อก้าวสู่องค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะ เสริมแกร่งการเติบโตอย่างยั่งยืนของไทย หรือ Sustainable Nation

"สมชัย เลิศสุทธิวงค์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส อธิบายถึงความตั้งใจในการสร้างการวิวัฒน์ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของประเทศว่า เพราะโลกยุคปัจจุบันธุรกิจไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดด้านผลกำไรมาบอกถึงความสำเร็จได้แต่เพียงด้านเดียว แต่องค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแล เศรษฐกิจ ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ตามหลักของ SDGs

"ธุรกิจไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดด้านผลกำไรบอกถึงความสำเร็จเพียงด้านเดียว ต้องมีส่วนร่วมดูแลเศรษฐกิจ ผู้คน สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน"

\'เอไอเอส\' ผนึก \'เซ็นทรัล\' ดันแผนยั่งยืน ถอด \'โมเดลญี่ปุ่น\' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

อาสาเป็นฮับกำจัดขยะดิจิทัล

ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เอไอเอสมองเป็นสิ่งสำคัญ แผนสร้าง 'กรีน เน็ตเวิร์ก' ผ่านการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยี 'เอไอ' เข้ามาใช้ในสถานีฐาน เพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของลูกค้า หรือแม้แต่การเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม 

และอีกด้านที่ดำเนินการควบคู่กันอย่างเข้มข้น คือ การคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ตามเป้าหมายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero e-waste to landfill  เอไอเอส พร้อมเป็น HUB of e-waste เป็นแกนกลางรวมทุกภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืนต่อยอดสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่เป้าหมายเน็ต ซีโร่ ปี 2050 หรือ ปี 2593 

สมชัย บอกว่า นโยบายหลักของเอไอเอส นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1.ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2.ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจ

\'เอไอเอส\' ผนึก \'เซ็นทรัล\' ดันแผนยั่งยืน ถอด \'โมเดลญี่ปุ่น\' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

และส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของดิจิทัล ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก 

ควงกลุ่มเซ็นทรัลร่วมภารกิจ

สถิติที่ผ่านมา มูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง

จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจ คนไทยไร้ E-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัล ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ

และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา เป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด

\'เอไอเอส\' ผนึก \'เซ็นทรัล\' ดันแผนยั่งยืน ถอด \'โมเดลญี่ปุ่น\' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

สร้างโมเดลนำร่องร่วมกัน

"พิชัย จิราธิวัฒน์" กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เล่าว่า การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง "กลุ่มเซ็นทรัล" และ "เอไอเอส" ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน 

การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัล มุ่งสานต่อเจตนารมย์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ - ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัล ผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย

1.ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย 2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส อย่างเท่าเทียม 3.พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 5.ลดสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร 6.ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน

“การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัท เห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้ถูกที่และถูกวิธี และยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย”

ถอดต้นแบบเปลี่ยนขยะเป็นเงิน

เอไอเอส และ กลุ่มเซ็นทรัล ลงพื้นที่หมู่บ้านคามิคัตสึ ประเทศญี่ปุ่น เมืองต้นแบบปลอดขยะโลก ด้วยการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการ ลดขยะ ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล จนกลายเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนรักสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกที่หมุนเวียนกันมาซึมซับ และศึกษาโมเดลการบริหารจัดการขยะกันอย่างต่อเนื่อง

\'เอไอเอส\' ผนึก \'เซ็นทรัล\' ดันแผนยั่งยืน ถอด \'โมเดลญี่ปุ่น\' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาด้านการจัดการขยะที่มีต้นทุนในการขนส่งสูงและข้อจำกัดด้านกฎหมายเกี่ยวกับการเผาขยะ จนปัจจุบันหมู่บ้านคามิคัตสึ สามารถแยกขยะได้ 45 ประเภท

จากการวางแผนกำจัดขยะให้มีปริมาณน้อยลง เริ่มด้วยการแยกขยะเป็น 33 หมวดหมู่ เพื่อทำขยะให้กลายเป็นเงิน มีการนำเงินของรัฐสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนมีถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร โดยประชาชนออกเงินเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพื่อให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และในปี 2003 จึงได้ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)

\'เอไอเอส\' ผนึก \'เซ็นทรัล\' ดันแผนยั่งยืน ถอด \'โมเดลญี่ปุ่น\' มุ่งเน็ตซีโร่ปี 93

การบริหารจัดการขยะของหมู่บ้านดูแลโดยเทศบาลผ่านการใช้งบประมาณของรัฐ ปัจจุบัน หมู่บ้านคามิคัตสึ เพื่อให้คนในหมู่บ้านนำขยะมาแลก ต่อวันมีชาวบ้านมาทิ้งและแยกขยะอยู่ที่ 30 คน ขยะที่แยกได้มีทั้งสิ้น 45 ประเภท

โดยสามารถสร้างรายได้ต่อปีอยู่ที่ 880,000-2,000,000 เยน มีต้นทุนกำจัดขยะอยู่ที่ปีละ 6 ล้านเยน ซึ่งทุกวันจะมีบริษัทเอกชนเข้ามาที่ศูนย์แยกขยะ เพื่อมารับซื้อขยะรีไซเคิล เช่น ราคากระป๋อง 1 กิโลกรัม อยู่ที่ 160 เยน เงินที่ได้จะกลายเป็นยอดสะสม สำรองไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม