ดีอีชู 7 โครงการเรือธงยกเครื่องประเทศ ดันคลาวด์-AI ปั้น 1 อำเภอ 1 คนไอที
ดันดิจิทัลช่วยเศรษฐกิจ-สังคม พร้อมยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลยกระดับ Thailand Digital Competitiveness สู่ 30 ในปี 2569 จากอันดับ 40 ในปี 2565 ปี 2567 ดีขึ้น 2 อันดับ อันดับที่ 33 ในปี 2567 จากอันดับที่ 35 ในปี 2566 ตามการจัดอันดับของ IMD
KEY
POINTS
ข้อ 3 โครงการ 1 อำเภอ 1 IT Man
กระทรวงดีอี จะเร่งดำเนินการในการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาข้าราชการภายใต้สำนักงาน สถิติจังหวัดและอำเภอ เป็น IT Man จำนวน 1,196 คน ครอบคลุม 878 อำเภอทั่วประเทศ
มีศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2,222 แห่ง ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจำนวน 24,654 หมู่บ้าน พัฒนาสภาเยาวชนดิจิทัล รวมถึงสร้างชุมชนโดนใจมากกว่า 500 ชุมชน
“ดีอี มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ดีอีพร้อมสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลในจังหวัด มีการดำเนินงานครอบคลุมระดับพื้นที่อำเภอ จนถึงชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างการแข่งขันของประเทศได้"
4.โครงการ พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Manpower) กระทรวงดีอี มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลกำลังลังคนดิจิทัล ผ่าน Digital ID (Credit bank)
นอกจากนี้รัฐบาลมีแผนที่จะดึงดูดกำลังคนดิจิทัลและมีการทำ Global Digital Talent VISA เพื่อดึงคนจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทย
นอกจากนี้กระทรวงดีอี ยังร่วมกับเอกชนในการเพิ่มกำลังคนดิจิทัล จำนวน 50,000 คน รวมถึงมีการตั้งอาสาสมัครดิจิทัล และสภาเยาวชนดิจิทัล เพื่อขยายผลให้ความรู้ดิจิทัลประชาชน มีการจัดทำฐานข้อมูลประชาชนผ่าน Digital ID พัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem (EWE) ใช้งบในการพัฒนาบุคลากรผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ
5. Cell Broadcast
กระทรวงดีอี ร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง ทันสมัย สำหรับคนไทยทั้งประเทศ เรียกว่า ระบบ Cell Broadcast สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนภัยทุกประเภทให้กับประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ มีการส่งข้อความแบบเจาะจง ในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
6.แก้ปัญหาภัยออนไลน์ มีการยกระดับการปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ผ่านศูนย์ AOC 1441 โดยประชาชนที่แจ้งอายัดผ่านศูนย์ AOC สามารถใช้เวลาในการระงับบัญชีได้ภายใน 15 นาที
7.ยกระดับ Thailand Digital Competitiveness สู่อันดับ 30 ใน 2569 จากอันดับ 40 ใน 2565 ปี 2567 IMD แจ้งว่าประเทศไทยมีความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศอยู่ในอันดับที่ 35 ในปี 2566 และขึ้นสู่อันดับ 33 ในปี 2567
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันด้านดิจิทัล กระทรวงดีอี พร้อมให้การสนับสนุนในทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ World Digtial Competitiveness Ranking ตามการจัดอันดับของ IMD กระทรวงให้ความสำคัญในการสนับสนุนตัวชี้วัดของ IMD อย่างเต็มที่ อาทิ การพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า ในปี 2567 นี้กระทรวงดีอี มี Flagships ในการดำเนินงาน 7 ด้านหลักในการขับเคลื่อนประเทศทั้งเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วย
1. Cloud First Policy
2. AI Agenda
3. 1 อำเภอ 1 IT Man
4. พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Manpower)
5. Cell Broadcast
6. แก้ปัญหาภัยออนไลน์
และ 7. ยกระดับ Thailand Digital Competiveness Ranking
1.ในส่วนของ Cloud First Policy นั้น กระทรวงดีอี จะผลักดันการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก มุ่งสู่การเป็น Cloud Hub ของภูมิภาคมีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศที่ทันสมัย มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลยกระดับการทำงานภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยี
- ให้บริการระบบคลาวด์เพื่อพัฒนาการบริการประชาชนไม่น้อยกว่า 220 กรม 75,000 Virtual Machine (VM)
- ประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลของประเทศ 30-50%
- ส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการใช้ประโยชน์ Big Data
- สนับสนุนท้องถิ่นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงาน
ส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนด้านคลาวด์ของประเทศ รวมถึง ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. AI Agenda
กระทรวงดีอี มีแผนการดำเนินงานใน 2567 ภายใต้แผนปฎิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 -2570) โดยมียุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านจริยธรรมและกฎระเบียบ สร้างความตระหนักด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล AI
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลสำหรับ AI การส่งเสริมและขยายผล AI มีการจัดตั้ง National AI Service Platform เพื่อรองรับการเป็น แพลตฟอร์ม AI กลางของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนากำลังคนด้าน AI ในระดับกลางและระดับสูง (AI Talent) เช่น การพัฒนาวิศวกร AI เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการวิจัยและพัฒนา AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีกลุ่มเศรษฐกิจนำร่อง 3 กลุ่มคือเกษตร สุขภาพ/การแพทย์ และ ภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งาน AI รวมถึงขับเคลื่อน Tech Startup ด้าน AI เป็นต้น
นอกจาก กระทรวงดีอี ยังมีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI และพัฒนาทักษะ AI ดังนี้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI
- มีการจัด Hackathon เสริมสร้างความรู้ทักษะ AI สำหรับ SMEs และประชาชน
- จัดเทรนนิ่งเพื่อ Upskill/Reskill/Newskill ด้าน AI ให้กับบุคลากรทุกภาพส่วน
เร่งการทำ AI use case ทั้งในภาครัฐและเอกชน
- เช่น AI use case การพยากรณ์อากาศระยะปัจจุบันอัจฉริยะ
- ข้อมูลพยากรณ์กลุ่มฝนเชิงพื้นที่ระดับอำเภอ (ระยะ 3 ชั่วโมงข้างหน้า) บริเวณลุ่มน้ำทั่วประเทศและ แผนที่เสี่ยงภัยสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมาก