ดีป้า - กฟภ. เดินหน้าเอ็มโอยูกรุยทางสมาร์ทซิตี้ด้วยพลังงานยั่งยืน

ดีป้า - กฟภ. เดินหน้าเอ็มโอยูกรุยทางสมาร์ทซิตี้ด้วยพลังงานยั่งยืน

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ในประเทศสู่สมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่จริง เพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่าการธุรกิจและการตลาด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ โดยมี นายสถาพร สว่างแสง ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจและการตลาด (ธุรกิจวิศวกรรม) กฟภ. และ นายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เป็นพยานในพิธี ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่

โดยความร่วมมือระหว่าง กฟภ. และ ดีป้า ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพื้นที่ในประเทศสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบบริการเมืองอัจฉริยะ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริง ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะบุคลากรภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

"การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จะต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ขององค์ประกอบของแผนการพัฒนา ได้แก่ การกำหนดขอบเขตพื้นที่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของผู้นำเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและดิจิทัล การพัฒนาระบบจัดเก็บ และบริหารข้อมูลของเมือง (City Data Platform: CDP) การพัฒนาระบบบริการเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้าน (7 Smarts) และการวางรากฐาน และแนวทางสู่ความยั่งยืน ซึ่ง ดีป้า มองว่า กฟภ. จะมีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน และระบบบริการเมืองอัจฉริยะ ด้านพลังงานอัจฉริยะ เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Inclusive Sustainable Smart City for All)" ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ด้าน นายประสิทธิ์ กล่าวว่า กฟภ. เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องครบวงจรและมีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่องค์กรไฟฟ้าอัจฉริยะ พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย Digital Grid & Green Energy โดยในปี 2567 กฟภ. มีแผนดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในมิติด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การเดินทางและระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เพื่อศึกษารูปแบบ และแนวทางการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ทั้งนี้ ดีป้า โดย สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ได้ดำเนินการส่งเสริม และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยทั้งสิ้น 36 เมืองในพื้นที่ 25 จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีทั้งประเภทเมืองใหม่ทันสมัย และเมืองเดิมน่าอยู่ โดยตัวอย่างการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่โดดเด่น มีผลงานระบบบริการเมืองอัจฉริยะที่เป็นรูปธรรม และโดดเด่นในด้าน Smart Environment และ Smart Energy ได้แก่ เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเล่ย์ เมืองใหม่ทันสมัยในจังหวัดระยอง แม่เมาะเมืองน่าอยู่ จังหวัดลำปาง และโคราชเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา รวมถึง สามย่านสมาร์ทซิตี้ เมืองใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ และภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ ที่โดดเด่นในด้าน Smart Economy, Smart Mobility และ Smart Living ซึ่งพื้นที่ ที่สนใจยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์